ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พงษ์สิทธิ์ คำภีร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 29:
พงษ์สิทธิ์เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีชื่อเล่นว่า "ปู" โดยมีพ่อเป็นผู้ช่วยแพทย์ในโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้บ้าน พงษ์สิทธิ์เริ่มสนใจดนตรีและกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่วัยเด็ก และภายหลังจากที่เรียนจบการศึกษาในระดับมัธยมต้นจากโรงเรียน "ปทุมเทพ วิทยาคาร" พงษ์สิทธิ์ก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดขอนแก่น เพื่อสอบเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมัน (ปัจจุบันเป็น [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น]]) แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะวันประกาศผลสอบกลับไม่มีชื่อของเขา พงษ์สิทธิ์จึงตัดสินใจสมัครเรียนในโรงเรียนเอกชนชื่อ "เทคโนโลยีตะวันออกเฉียงเหนือ" เพื่อไม่ให้เสียเวลาและเป็นการเตรียมพร้อมในการสอบคราวหน้า หลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งปี จึงได้เข้าสมัครสอบที่วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมันอีกครั้ง และครั้งนี้ พงษ์สิทธิ์ก็ไม่ผิดหวัง ช่วงมาเรียนที่นี้ พงษ์สิทธิ์ได้เข้ามาเป็นนักฟุตบอลของวิทยาลัย รวมทั้งฝึกการเล่นกีตาร์ไปพร้อมกัน ถึงขนาดแต่งเพลงไว้หลายบทเพลงด้วยกัน จนกระทั่งได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรีกับวงดนตรีรุ่นพี่ในวิทยาลัย ชื่อวง "รีไทร์" ในตำแหน่งมือกีตาร์ และนั้นก็เป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นของการเป็นนักดนตรีของพงษ์สิทธิ์ (ช่วงนี้ วงรีไทร์ ไดมีโอกาสเล่นเป็นวงเปิดให้กับศิลปินเพื่อชีวิต อย่าง [[ฅาราวาน]] และ [[พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ]] ทำให้พงษ์สิทธิ์ ได้มีโอกาสทำความรู้จัก และฅาราวานก็เป็นวงแม่แบบให้กับพงษ์สิทธิ์ตลอดมา)
 
ภายหลังจากจบการศึกษาในระดับปวช. แผนกช่างกลโรงงาน พงษ์สิทธิ์ก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมาพักอยู่กับ ซู ([[ระพินทร์ พุฒิชาติ]]) และ ([[ปราโมทย์ ม่วงไหมทอง]]) (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นนักดนตรีอย่างเต็มตัว โดยมีนักดนตรีที่เคารพนับถือและชื่นชอบอยู่ 2 ท่าน คือ หงา ฅาราวาน ([[สุรชัย จันทิมาธร]]) และ เล็ก คาราบาว ([[ปรีชา ชนะภัย]]) ที่คอยให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ จนในระยะแรกก็ได้มาร่วมงานกับวงฅาราวานโดยเป็นนักดนตรีแบ็คอัพในตำแหน่งมือเบส และมีโอกาสได้ทัวร์ "คอนเสิร์ตสันติภาพในประเทศกัมพูชา" รวมทั้งคอนเสิร์ตที่ประทับใจอีกแห่ง คือ ปูวิชยาคาน "คอนเสิร์ตนครวัด"
 
จนกระทั่งในที่สุดก็ได้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2530 ชื่อชุด "ถึงเพื่อน" กับบริษัทบัฟฟาโล เฮด ที่มีสมาชิกของวงดนตรีคาราบาว เป็นผู้ดูแล และได้ ([[สุเทพ ปานอำพัน]]) มาช่วยอีกแรงหนึ่ง ด้วยงานชุดนี้ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่ก็มีเพลงฮิตอย่าง ''ถึงเพื่อน,เรียนและงาน'' ที่ถูกเปิดให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ในยุคนั้น