ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74:
[[ไฟล์:MonVirgins.jpg|thumbnail|เด็กในชุดดั้งเดิมของชาวมอญ]]
=== ศิลปะ ===
ศิลปวัฒนธรรมมอญนั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมดเพราะ ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้น พม่าได้รับไปจากมอญคือ ศิลปวัฒนธรรมมอญมีเหนือ[[พม่า]] เช่น สถาปัตยกรรมแบบ[[ปรางค์]] [[ขอม]]-[[เขมร]] มีต่อ[[สถาปัตยกรรมไทย]] ศิลป[[สถาปัตยกรรม]]ประเภทเรือนยอด ([[กุฏาคาร]]) คือหรือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เรือนยอด (Spire) ทรงมณฑปนี้เป็นสถาปัตยกรรมมอญ ที่ไทยและไทยพม่านำมาดัดแปลงใช้ต่อมา
 
ศิลปดนตรี นั้น ไทยได้รับอิทธิพลจากมอญมามาก เช่น ไทยเรารับ[[ปี่พาทย์มอญ]] และรับได้ดีทั้งรักษาไว้จนปัจจุบัน และให้เกียรติเรียกว่า [[ปี่พาทย์มอญ]] นิยมบรรเลงใน[[งานศพ]] [[ดนตรีไทย]]ที่มีชื่อเพลงว่า มอญ นั้น นับได้ 17 เพลง เช่น มอญดูดาว มอญชมจันทร์ มอญรำดาบ มอญอ้อยอิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี [[มอญร้องไห้]] มอญนกขมิ้น ฯลฯ และยังมีแขกมอญ คือ ทำนองทั้งแขกทั้งมอญ เช่น แขกมอญบางขุนพรหม แขกมอญบางช้าง เป็นต้น เพลงทำนองของมอญ มีความสง่าภาคภูมิ เป็นผู้ดีมีวัฒนธรรม และค่อนข้างจะเย็นเศร้า ซึ่งเป็นลักษณะของผู้มีวัฒนธรรมสูง ย่อมสงวนทีท่าบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่สนุกสนานก็มีบ้าง เช่น กราวรำมอญ มอญแปลง ฯ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ คือ [[กลอง]] ที่เรียกว่า[[เปิงมาง]] นั้น คาดว่าเป็นของมอญ ซึ่งไทยเรานำมาผสมวง ทำคอกล้อม เป็นวงกลมหลายวง เรียกว่า [[เปิงมางคอก]] ตีแล้วฟังสนุกสนาน
 
=== ประเพณีและศาสนา ===
ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวมอญนั้น มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับมายาวนาน บางอย่างมีอิทธิพลให้กับชนชาติใกล้เคียงด้วย เช่น [[ประเพณีสงกรานต์]] ปล่อยนกปล่อยปลา [[ข้าวแช่]] ฯลฯ บางอย่างก็ถือปฏิบัติกันแต่เฉพาะในหมู่ชนมอญเท่านั้น ชาวมอญเลื่อมใสใน[[พระพุทธศาสนา]]อย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันก็นับถือผีบรรพบุรุษกับผีอื่น ๆ ที่มีอิทธิฤทธิ์ รวมทั้ง[[เทวดา]]องครักษ์<ref>http://www.thaiws.com/pmch/monstudies.htm</ref>
 
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ของภาคกลาง ที่เรียกว่า ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน [[จ.สมุทรปราการ]] ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักจัดขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือตรงกับวันสงกรานต์นั่นเอง ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่ พระพุทธเจ้าท่านเสด็จกลับลงจากจากชั้นภพ [[ดาวดึงส์]] นั่นเอง เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้คนต่างๆมักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"