ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
U47312756 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
U47312756 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
ปัจจุบันสยามสมาคมฯมีองค์อุปถัมภก องค์อนูปถัมภก องค์นายกกิตติมศักดิ์ และอุปนายกกิตติมศักดิ์ ดังนี้
*'''องค์บรมราชูปถัมภก'''
**พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
*'''องค์อนูปถัมภก '''มี 4 พระองค์
**สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] ?
**สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] ?
**สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ?
**สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] ?
*'''องค์นายกกิตติมศักดิ์'''
**สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] ?
*'''อุปนายกกิตติมศักดิ์'''
**หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา
**สมเด็จพระราชชนนี อาชิ เคซัง โชเดน วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน
**เจ้าชาย อากิชิโน แห่งประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ยังมีบุคคลที่มีเกียรติคุณความดีในทาง[[ศิลปศาสตร์]] [[มนุษศาสตร์]] และ[[วิทยาศาสตร์]] ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมอีกจำนวนหนึ่ง สยามสมาคมฯดำเนินการตาม วัตถุประสงค์ข้างต้น โดยการจัดตั้งห้องสมุด จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ จัดพิมพ์วารสารและหนังสือทางวิชาการ จัดให้มีปาฐกถา ประชุมสัมมนา นิทรรศการ ศึกษาสัญจร ตลอดจนจัดให้มีการแสดงทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า เผยแพร่ ผลงานทางด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นประจำ สยามสมาคมฯเป็นองค์กรสาธารณกุศลแห่งหนึ่งที่ได้ร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรเอกชน ในการส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า เผยแพร่ วิจัยและการอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ
 
นอกจากนี้สมาคมได้มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์และเป็นหนึ่งในผู้นำให้หน่วยงานต่างๆเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของชาติ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับนานาชาติ จากผลงานอันยาวนานแพร่หลายทั้งในประเทศและนานาอารยะประเทศมาเป็นเวลา 100 ปี สมาคมได้รับการประกาศให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล ตามประกาศของกระทรวงการคลัง เป็นองค์กรดีเด่นที่มีผลงานส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยโดยกรมศิลปากร เป็นองค์กรอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้แล้วอาคารของสมาคมซึ่งมีจำนวน 3 หลัง ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปกรรมดีเด่นในปี [[2544]] โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย ปัจจุบันสมาคม ก่อตั้งมาครบ 100 ปี ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการต่างๆตามวัตถุประสงค์มิได้ขาด งานหลักๆที่สมาคมฯได้กระทำอยู่เป็นประจำเช่น
#จัดให้มีปาฐกถา สัมมนา นิทรรศการ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษาทั้งทางด้าน ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ตลอดจนจัดให้มีการแสดงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมให้มีการศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางด้านธรรมชาติของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
 
#จัดพิมพ์วารสารทั้งทางด้านศิลปศาสตร์และประวัติศาสตร์ธรรมชาติ จัดพิมพ์หนังสือทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เพื่อเผยแพร่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ มีสถาบันและมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆกว่า 200 แห่ง ในโลกที่บอกรับ วารสารของสมาคมเป็นประจำ
#จัดให้มีการศึกษาสัญจรเพื่อศึกษาศิลปะ ประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี ตลอดจนสถานที่น่า สนใจทางด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นประจำทุกๆเดือน
#จัดตั้งและเปิดบริการทางด้านห้องสมุด เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือต้นฉบับเอกสารหายาก และเอกสารทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา สิ่งแวดล้อม ชีววิทยาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ทั้งที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศไทยและในต่างประเทศ นับเป็นห้องสมุดที่เก่าแก่และดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ก่อตั้งมาพร้อมกับสมาคมในปีพุทธศักราช 2447
#จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาขึ้นในสมาคม มีชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง” และ “เรือนแสงอรุณ” เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวันในเวลาทำการของสมาคม
#สนับสนุน ส่งเสริม ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งดำเนินการต่างๆตามวัตถุประสงค์ของสมาคมเป็นประจำ
#จัดตั้งโครงการต่างๆ ขึ้นเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติของชาติและการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ล่าสุดได้ทำการปรับปรุงอาคารพระอุโบสถและสถานที่โดยรอบของวัดตามโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดสระบัวแก้ว อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น เพื่อให้วัดแห่งนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน จังหวัด ของประเทศชาติและคนรุ่นหลังสืบไป
#เป็นศูนย์ข้อมูลแก่ผู้สนใจจะศึกษาเรื่องราวของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติศึกษา ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเปิด-ปิดตามเวลาทำการของสมาคม
 
สยามสมาคมฯ มีสถานที่ทำการอยู่ที่ เลขที่ 131 ถนนอโศก สุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110 เป็นบริเวณ พื้นที่สีเขียวเล็กๆ มีต้นไม้ใหญ่สร้างความสดชื่นท่ามกลางสภาพแวดล้อมของอาคารคอนกรีตสูงใหญ่ในบริเวณย่านธุรกิจที่จอแจที่สุดของกรุงเทพฯ
 
การบริหารงานของสมาคมอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการโดยการเลือกตั้งจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ ประกอบด้วย นายก อุปนายก เลขานุการกิตติมศักดิ์ บรรณารักษ์กิตติมศักดิ์ บรรณาธิการกิตติมศักดิ์ หัวหน้าแผนกวิชาธรรมชาติวิทยากิตติมศักดิ์ และกรรมการอื่นๆอีกไม่เกิน 9 คน ปัจจุบัน ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจะดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี สมาชิกสมาคมประกอบด้วยบุคคลในทุกสาขาอาชีพผู้สนใจในการศึกษาเรื่องราวทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นๆ ประมาณ 50 สัญชาติ ทั้งที่พำนักอยู่ในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก