ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 16:
 
==ที่ตั้ง==ของโรคภัยไข้เจ็บชี้ให้เห็นว่าผู้คนในชุมชนนี้มีสุขภาพอนามัยที่ค่อนข้างดี
 
==ประวัติการขุดค้น==
นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ราษฎรในหมู่บ้านโป่งมะนาวและหมู่บ้านข้างเคียงในตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ก็ได้ทราบกันอย่างดีว่าที่บริเวณวัดโป่งมะนาวเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่บริเวณนี้ถูกขุดหาโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย และได้พบโบราณวัตถุมากมายหลายประเภท โดยล้วนพบฝังอยู่ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ แต่การลักลอบขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านซึ่งอยู่ในบริเวณวัดบ้านโป่งมะนาวได้มีการลักลอบขุดค้นได้เพียง 2 วันก็ยุติลงเพราะว่านายสมส่วน บูรณพงษ์ ตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ร่วมกับอาจารย์ภูธร ภูมะธน จากชมรมรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ดำเนินการแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ได้เข้าดำเนินการจับกุมคนร้ายได้ทั้งหมด 64 ราย พร้อมของกลางโบราณวัตถุจำนวนมาก ต่อมานายสมส่วน บูรณพงษ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาให้เป็น "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" โดยดำเนินการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีการวิจัยและพัฒนา(R&D)การนำชมโดย "ยุวมัคคุเทศก์ประจำแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" โดยมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งโบราณคดีที่ดำเนินการโดยชุมชนเองโดยมีองค์การภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างยั่งยืนตลอดมา ต่อมาสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาสยามราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานชุมชุนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547
 
== อ้างอิง ==