ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
บรรทัด 15:
'''แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว''' เป็น[[แหล่งโบราณคดี]]ใน ตำบลห้วยขุนราม [[อำเภอพัฒนานิคม]] [[จังหวัดลพบุรี]]
 
==ที่ตั้ง==ของโรคภัยไข้เจ็บชี้ให้เห็นว่าผู้คนในชุมชนนี้มีสุขภาพอนามัยที่ค่อนข้างดี
==ที่ตั้ง==
ชุมชนดึกดำบรรพ์ คน ๓ พันปี บ้านโป่งมะนาว เป็นแหล่งโบราณคดียุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบโครงกระดูกมนุษย์มากที่สุดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เท่าที่ได้ทำการขุดค้นแล้วในปัจจุบัน เป็นหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่นัก อยู่ในเขตการปกครองของตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยอยู่ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๕ กิโลเมตรและอยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพียง 23 กิโลเมตร จากการศึกษาโดย รศ.สุรพล นาถะพินธุ จากภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ผ่านมาพบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย โดยเฉพาะในช่วง 2,500 - 1,500 ปีมาแล้วเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาก ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งกิจกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ การอยู่อาศัย และการผลิต ได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางประชากร ศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อระหว่างที่ราบภาคกลางกับที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อสอบถามเข้าเที่ยวชมได้จาก นายสมส่วน บูรณพงษ์ โทร : 081 - 2947790 Web : Huaikhunram.in.th Email : Huaikhunram@Gmail.com
นายสมส่วน บูรณพงษ์ เป็นผู้ริเริ่มและผู้พัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นมา แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวเป็นแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศไทยและต่างประเทศ ในการอนุรักษ์และพัฒนาด้านโบราณคดียุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ดำเนินการบริหารจัดการโดยชุมชน มีการวิจัยและพัฒนาเยาวชนที่อยู่ภายในท้องถิ่นให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ประจำแหล่งโบราณคดีเป็นผู้นำชม โดย อบต.ห้วยขุนรามให้การสนับสนุน ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีหลุมขุดค้นทางด้านโบราณคดีมากกว่า 10 หลุมขุดค้นและที่เปิดให้เยี่ยมชม จำนวน 4 อาคารขนาดใหญ่ และมีพิพิธภัณฑสถานชุมชนบ้านโป่งมะนาวให้เข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้ ฟรีตลอดมา
ประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเป็นมา
เนื่องจากประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2543 มีราษฏรจากต่างอำเภอ จำนวน 64 ราย เข้ามาลักลอบขุดค้นวัตถุโบราณที่บ้านโป่งมะนาวได้เพียง 1 วัน นายสมส่วน บูรณพงษ์ ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานปรึกษาอาจารย์ภูธร ภูมะธน คณะกรรมการชมรมอนุรักษ์วัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี เนื่องจากเพื่อความปลอดภัยของนายสมส่วน บูรณพงษ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อาจารย์ภูธร ภูมะธนจึงได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีผ่านกองกำกับการตำรวจจังหวัดลพบุรี ต่อมาตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรตำบลมะนาวหวานนำกำลังเข้าจับกุมผู้ลักลอบขุดวัตถุโบราณได้ทั้งหมด และผู้ลักลอบขุดได้ทิ้งเศษกระดูกและของใช้โบราณจำนวนมากไว้ที่บริเวณที่ทำการลักลอบขุด
คณะกรรมการหมู่บ้านโป่งมะนาวจึงได้ทำการรวบรวมเศษวัตถุโบราณที่ยังเหลืออยู่เป็นจำนวนมากไปไว้ที่ศาลาการเปรียญวัดบ้านโป่งมะนาว ต่อมานายสมส่วน บูรณพงษ์ ตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยตำบลห้วยขุนรามได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ภูธร ภูมะธน ,อาจารย์กอแก้ว เพชรบุตรแนะนำให้รู้จักกับรศ.สุรพล นาถะพินถุ อาจารย์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ามาให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการพัฒนาปรับปรุงในการเก็บรักษาเศษวัตถุโบราณ และให้ดำเนินการรักษาสภาพหลุมที่ถูกลักลอบขุดให้ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และทำการเปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน อย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ได้ต่อไป
แล้วสามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาทัศนศึกษาแหล่งโบราณวัตถุบ้านโป่งมะนาวแห่งนี้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2543 เป็นต้นมา ต่อมามีการดำเนินการปรับปรุงอาคารชั้นล่างหอสวดมนต์วัดบ้านโป่งมะนาวให้เป็นพิพิธภัณฑสถานชุมชนบ้านโป่งมะนาว ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดให้เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2547
 
แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว (THE PONG MANAO ARCHEOLOGICAL SITE)
ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลาง ของประเทศไทย
เมื่อประมาณมากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่เนินบ้านสี่ซับ ม. 6 ตำบลห้วยขุนรามจนถึงบ้านสวนมะเดื่อ ม.4 ตำบลห้วยขุนราม เป็นแนวรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีกลุ่มชนโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะอพยพกันไปมาแล้วเลือกเอาพื้นที่เนินดินซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำและมีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย คนเหล่านั้นมีความสามารถผลิตภาชนะดินเผาคุณภาพดี รูปแบบสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นั่นคือภาชนะดินเผารูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเคลือบผิวด้วยน้ำดินสีแดง บางใบตบแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบหรือลายเชือกกดทาบเป็นจุด ๆอย่างง่ายๆ นอกจากผลิตเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ยังรู้จักการปั้นด้ายเพื่อนำไปทอเป็นผ้า รู้จักการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องประดับตบแต่งร่างกายจากวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ เช่นขวานหิน กำไลหินขัด กำไลลูกปัด กำไลเขี้ยวเสือ กำไลจากหอยทะเล ต่างหูแก้วสีเขียวมรกต ฯลฯ มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่นชุมชนชายทะเล หรือชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเช่นกับประเทศอินเดีย,ประเทศในแถบเปอร์เซีย ยูนาน รวมทั้งรู้จักการเลี้ยงสัตว์จำพวก หมู วัว ควาย สุนัข และจับสัตว์น้ำเช่นปลา เต่า หรือล่าสัตว์บกเช่นละอง ละมั่ง เก้ง กวาง เนื้อทราย เพื่อเป็นอาหารยังชีพ
จากนั้นต่อมาอีกในราว 500 ปี พบว่ามีพัฒนาการในการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะรูปแบบของภาชนะดินเผา ปรากฏมีภาชนะดินเผาอีกแบบหนึ่งเข้ามาแทน มีลักษณะผิวสีดำขัดมัน เนื้อหยาบบาง มักตบแต่งผิวด้านในและด้านนอกด้วยลายเส้นขัดมันใส พัฒนาการอีกส่วนหนึ่งที่ปรากฏชัดเจนคือการรู้จักนำโลหะสำริด ( แร่ทองแดงผสมกับแร่ดีบุก )มาทำเครื่องใช้และเครื่องประดับซึ่งได้แก่ กำไล ตุ้มหู กระพรวน แหวน เหล่านี้เป็นต้น และต่อมารู้จักการถลุงเหล็กสามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องมือเหล็กที่มีความแข็งแรงกว่าสำริด ส่วนเครื่องประดับประเภทกำไลหิน ได้หมดไป แต่เปลี่ยนเป็นลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว หรือลูกปัดดินเผาเข้ามาแทน นอกจากความก้าวหน้าในเรื่องการทำเครื่องมือเครื่องใช้แล้ว ยังพบว่าคนรุ่นนี้รู้จักการเพาะปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารยังชีพด้วย
พิธีกรรมในการฝังศพ
แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวนี้ นอกจากคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว เมื่อมีการเสียชีวิตก็จะฝังศพผู้เสียชีวิตไว้ภายใต้บริเวณที่อยู่อาศัยนั้นเอง ต่อมาเมื่อจำนวนมาอยู่อาศัยเพิ่มเป็นจำนวนมากจึงมีการจัดสรรพื้นที่เป็นเขตพื้นที่สำหรับฝังศพแต่จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันบ้างในแต่ละช่วงสมัย ดังปรากฏให้เห็นที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
อายุ - ส่วนสูงและสภาพร่างกายของคนโบราณ
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโป่งมะนาวมีอายุเมื่อตายส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และพบว่าเด็กวัยไม่เกิน 5 ปี เสียชีวิตในอัตราที่ค่อนข้างสูงและพบโครงกระดูกเด็กอีกเป็นจำนวนมากความสูงเฉลี่ย 165 - 171 ซม.ในเพศชาย และ154 - 159 ซม.ในเพศหญิง เพศหญิงมีใบหน้าส่วนล่างที่กว้างกว่าเพศชายเล็กน้อย ขนาดกระดูกโดยทั่วไปของเพศชายมีขนาดที่ยาวและใหญ่กว่าเพศหญิง แต่จากค่าดัชนีในกระดูกแขน – ขาชี้ให้เห็นว่าในเพศหญิงมีการใช้แรงของร่างกายในการทำกิจกรรมไม่แตกต่างจากเพศชาย และมีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าน่าจะทำกิจกรรมที่ใช้กำลังแขนมากว่าในเพศชายส่วนผู้ใหญ่เพศชายอายุเฉลี่ยเมื่อตายประมาณ 36 ปี เพศหญิงประมาณ 34 ปี จากอัตราการเสียชีวิตในวัยเด็กและหลักฐานของโรคภัยไข้เจ็บชี้ให้เห็นว่าผู้คนในชุมชนนี้มีสุขภาพอนามัยที่ค่อนข้างดี
 
==ประวัติการขุดค้น==