ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบสุริยะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 59:
{{ดูเพิ่มที่|แบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล|เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ}}
 
นับเป็นเวลาหลายพันปีในอดีตกาลที่มนุษยชาติไม่เคยรับรู้มาก่อนว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ระบบสุริยะ แต่เดิมมนุษย์เชื่อว่า [[แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล|โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล]]ที่อยู่นิ่ง มีดวงดาวต่างๆ โคจรไปรอบๆ ผ่านไปบนท้องฟ้า แม้ว่านักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียชื่อ Aryabhata และนักปรัชญาชาวกรีก Aristarchus เคยมีแนวคิดเกี่ยวกับการที่[[แบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล|ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล]] และจัดลำดับจักรวาลเสียใหม่ แต่ผู้ที่สามารถคิดค้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้ได้สำเร็จเป็นคนแรกคือ [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส]] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผู้สืบทอดแนวทางการศึกษาของเขาต่อมา คือ[[กาลิเลโอ กาลิเลอี]] [[โยฮันเนส เคปเลอร์]] และ [[ไอแซค นิวตัน]] พวกเขาพยายามทำความเข้าใจระบบทาง[[ฟิสิกส์]]และเสาะหาหลักฐานการพิสูจน์ยืนยันว่า [[โลก]]เคลื่อนไปรอบๆ [[ดวงอาทิตย์]] และดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างก็ดำเนินไปภายใต้กฎทางฟิสิกส์แบบเดียวกันนี้ ในยุคหลังต่อมาจึงเริ่มมีการสืบสวนค้นหาปรากฏการณ์ทางภูมิธรณีต่างๆ เช่น เทือกเขา แอ่งหิน ปรากฏการณ์สภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนตามฤดูกาล การศึกษาเกี่ยวกับเมฆ พายุทราย และยอดเขาน้ำแข็งบนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
สตางค์ นัท ยู กากกาก
 
=== การสำรวจยุคแรก ===
[[ไฟล์:NewtonsTelescopeReplica.jpg|thumb|กล้องโทรทรรศน์จำลองจากชุดที่[[ไอแซก นิวตัน]]ใช้]]
การสำรวจระบบสุริยะในยุคแรกดำเนินไปได้โดยอาศัย[[กล้องโทรทรรศน์]] เพื่อช่วยนักดาราศาสตร์จัดทำแผนภาพท้องฟ้าแสดงตำแหน่งของวัตถุที่จางเกินกว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
 
[[กาลิเลโอ กาลิเลอี]] คือผู้แรกที่ค้นพบรายละเอียดทางกายภาพของวัตถุในระบบสุริยะ เขาค้นพบว่าผิว[[ดวงจันทร์]]นั้นขรุขระ ส่วนดวงอาทิตย์ก็มี[[จุดมืดดวงอาทิตย์|จุดด่างดำ]] และ[[ดาวพฤหัสบดี]]มีดาวบริวารสี่ดวงโคจรไปรอบๆ<ref>Eric W. Weisstein (2006). [http://scienceworld.wolfram.com/biography/Galileo.html "Galileo Galilei (1564–1642)"]. Wolfram Research. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-11-08.</ref> [[คริสเตียน ฮอยเกนส์]] เจริญรอยตามกาลิเลโอโดยค้นพบ[[ไททัน]] [[ดวงจันทร์ของดาวเสาร์]] รวมถึง[[วงแหวนของดาวเสาร์|วงแหวนของมัน]]ด้วย<ref>[http://www.esa.int/esaSC/SEMJRT57ESD_index_0.html "Discoverer of Titan: Christiaan Huygens"]. ESA Space Science. 2005. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-11-08.</ref> ในเวลาต่อมา [[จิโอวันนี โดเมนิโก กัสสินี]] ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์เพิ่มอีก 4 ดวง ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ รวมถึง[[จุดแดงใหญ่]]บนดาวพฤหัสบดี<ref>[http://www.seds.org/messier/Xtra/Bios/cassini.html "Giovanni Domenico Cassini (June 8, 1625–September 14, 1712)"]. SEDS.org. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-11-08.</ref>
 
ปี ค.ศ. 1705 [[เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์]] ค้นพบว่า[[ดาวหาง]]หลายดวงในบันทึกประวัติศาสตร์ที่จริงเป็นดวงเดิมกลับมาปรากฏซ้ำ ถือเป็นการพบหลักฐานชิ้นแรกสำหรับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของวัตถุอื่นนอกเหนือจาก[[ดาวเคราะห์]]<ref>[http://csep10.phys.utk.edu/astr161/lect/comets/halley.html "Comet Halley"]. University of Tennessee. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-12-27.</ref> ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้จึงเริ่มมีการใช้คำว่า "ระบบสุริยะ" ขึ้นเป็นครั้งแรก<ref>[http://www.etymonline.com/index.php?search=solar+system&searchmode=none "Etymonline: Solar System"]. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-01-24.</ref>
 
ค.ศ. 1781 [[วิลเลียม เฮอร์เชล]] ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่คือ [[ดาวยูเรนัส]] โดยที่ในตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวหาง<ref>[http://science.enotes.com/earth-science/herschel-sir-william "Herschel, Sir William (1738–1822)"]. enotes.com. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-11-08.</ref> ต่อมาในปี ค.ศ. 1801 [[จิวเซปเป ปิอาซซี]] ค้นพบวัตถุโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ในตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ต่อมาจึงมีการค้นพบวัตถุขนาดเล็กนับเป็นพันดวงในย่านอวกาศนั้น ซึ่งในเวลาต่อมาจึงเรียกวัตถุเหล่านั้นว่า [[ดาวเคราะห์น้อย]]<ref>[http://www.astropa.unipa.it/Asteroids2001/ "Discovery of Ceres: 2nd Centenary, January 1, 1801–January 1, 2001"]. astropa.unipa.it. 2000. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-11-08.</ref>
 
ไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่า ระบบสุริยะถูก "ค้นพบ" เมื่อใดกันแน่ แต่การสังเกตการณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สามรายการสามารถบรรยายลักษณะและตำแหน่งของระบบสุริยะในเอกภพได้อย่างไม่มีข้อสงสัย รายการแรกเกิดขึ้นในปี [[ค.ศ. 1838]] เมื่อฟรีดดริค เบสเซล สามารถวัด[[พารัลแลกซ์]]ของดาวได้ เขาพบว่าตำแหน่งปรากฏของดาวเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของโลกที่โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ นี่ไม่เพียงเป็นข้อพิสูจน์ทางตรงต่อแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล แต่ยังได้เปิดเผยให้ทราบถึงระยะทางมหาศาลระหว่างระบบสุริยะของเรากับดวงดาวอื่นเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1859]] [[โรเบิร์ต บุนเซน]] และ [[กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์]] ได้ใช้[[สเปกโตรสโคป]]ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตรวจวัดค่าสเปกตรัมจากดวงอาทิตย์ และพบว่ามันประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่บนโลก นับเป็นครั้งแรกที่พบข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวโยงกันระหว่างโลกกับสวรรค์<ref>[http://www.aip.org/history/cosmology/tools/tools-spectroscopy.htm "Spectroscopy and the Birth of Astrophysics"]. Center for History of Physics, a Division of the American Institute of Physics. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-04-30.</ref> หลังจากนั้น คุณพ่อแองเจโล เชคคี เปรียบเทียบรายละเอียดสเปกตรัมของดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ดวงอื่น และพบว่ามันเหมือนกันทุกประการ ข้อเท็จจริงที่พบว่าดวงอาทิตย์ก็เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งนำไปสู่ข้อสมมุติฐานว่าดาวฤกษ์ดวงอื่นก็อาจมี[[ระบบดาวเคราะห์]]ของมันเองเช่นกัน แม้ว่ากว่าจะค้นพบหลักฐานสำหรับข้อสมมุติฐานนี้จะต้องใช้เวลาต่อมาอีกกว่า 140 ปี
 
[[ค.ศ. 1992]] มีการค้นพบหลักฐานแรกที่ส่อถึงระบบดาวเคราะห์แห่งอื่นนอกเหนือจากระบบของเรา โคจรอยู่รอบดาว[[พัลซาร์]] พีเอสอาร์ บี1257+12 สามปีต่อมาจึงพบ[[ดาวเคราะห์นอกระบบ]]ดวงแรกคือ 51 เพกาซี บี โคจรรอบดาวฤกษ์ลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ ตราบจนถึงปี ค.ศ. 2008 มีการค้นพบ[[ระบบดาวเคราะห์]]อื่นแล้วกว่า 221 ระบบ<ref>[http://exoplanet.eu/catalog.php "Extrasolar Planets Encyclopedia"]. Paris Observatory. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-01-24.</ref>
 
=== การสำรวจด้วยยานอวกาศ ===
[[ไฟล์:Pioneer10-11.jpg|thumb|ภาพวาดยานไพโอเนียร์ 10 ขณะผ่านวงโคจรของดาวพลูโตเมื่อปี 1983 ได้รับสัญญาณครั้งสุดท้ายเมื่อมกราคม 2003 ส่งมาจากระยะ 82 AU]]
 
ยุคของการสำรวจอวกาศด้วยยานอวกาศเริ่มต้นขึ้นนับแต่[[สหภาพโซเวียต]]ส่ง[[ดาวเทียมสปุตนิก 1]] ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกเมื่อปี ค.ศ. 1957 โดยได้โคจรอยู่เป็นเวลา 1 ปี ต่อมายานเอกซ์พลอเรอร์ 6 ของ[[สหรัฐอเมริกา]] ขึ้นสู่วงโคจรในปี 1959 และสามารถถ่ายภาพโลกจากอวกาศได้เป็นครั้งแรก
 
ยานสำรวจลำแรกที่เดินทางไปถึงวัตถุอื่นในระบบสุริยะ คือยานลูนา 1 ซึ่งเดินทางผ่านดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1959 ในตอนแรกตั้งใจกันว่าจะให้มันตกลงบนดวงจันทร์ แต่ยานพลาดเป้าหมายแล้วจึงกลายเป็นยานที่สร้างโดยมนุษย์ลำแรกที่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ยานมาริเนอร์ 2 เป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ คือไปเยือน[[ดาวศุกร์]]ในปี ค.ศ. 1962 ต่อมายานมาริเนอร์ 4 ได้ไปถึง[[ดาวอังคาร]]ในปี ค.ศ. 1965 และมาริเนอร์ 10 ไปถึง[[ดาวพุธ]]ในปี ค.ศ. 1974
 
ยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนวัตถุอื่นในระบบสุริยะได้คือยานลูนา 2 ของ[[สหภาพโซเวียต]] ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในปี ค.ศ. 1959 หลังจากนั้นก็มียานลงจอดบนดาวอื่นได้มากขึ้นเรื่อยๆ ยานเวเนรา 3 ลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ในปี 1966 ยานมาร์ส 3 ลงถึงพื้นดาวอังคารในปี 1971 (แต่การลงจอดที่สำเร็จจริงๆ คือยานไวกิ้ง 1 ในปี 1976) ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ไปถึงดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส ในปี 2001 และยานดีปอิมแพกต์ไปถึงดาวหางเทมเพล 1 ในปี 2005
 
ยานสำรวจลำแรกที่ไปถึงระบบสุริยะชั้นนอกคือยานไพโอเนียร์ 10 ที่เดินทางผ่าน[[ดาวพฤหัสบดี]]ในปี ค.ศ. 1973 ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ยานสำรวจอวกาศใน[[โครงการวอยเอจเจอร์]]จึงได้เริ่มต้นการเดินทางครั้งใหญ่ โดยเดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีในปี 1979 ผ่านดาวเสาร์ในปี 1980-1981 ยาน[[วอยเอจเจอร์ 2]] ได้เข้าใกล้[[ดาวยูเรนัส]]ในปี 1986 และเข้าใกล้[[ดาวเนปจูน]]ในปี 1989 ปัจจุบันนี้ ยานสำรวจวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้เดินทางออกพ้นวงโคจรของดาวเนปจูนไปไกลแล้ว และมุ่งไปบนเส้นทางเพื่อค้นหาและศึกษา[[เฮลิโอสเฟียร์|กำแพงกระแทก]] [[เฮลิโอชีท]] และ[[เฮลิโอพอส]] ข้อมูลล่าสุดจาก[[องค์การนาซา]]แจ้งว่า ยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้เดินทางผ่านกำแพงกระแทกไปแล้วที่ระยะห่างประมาณ 93 [[หน่วยดาราศาสตร์]]จากดวงอาทิตย์<ref name="voyager1" />
 
== กำเนิดและวิวัฒนาการ ==
เส้น 65 ⟶ 90:
[[ไฟล์:M42proplyds.jpg|thumb|ภาพถ่ายแผ่นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดใน[[เนบิวลานายพราน]] จาก[[กล้องฮับเบิล]] แสดงให้เห็น "แหล่งอภิบาลดาวฤกษ์" ที่กว้าง 1 ปีแสง มีลักษณะคล้ายคลึงกับเนบิวลาในยุคโบราณซึ่งฟูมฟักดวงอาทิตย์ของเราให้ถือกำเนิดขึ้น]]
 
ระบบสุริยะถือกำเนิดขึ้นจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของ[[เมฆโมเลกุล]]ขนาดยักษ์เมื่อกว่า 4,600 ล้านปีมาแล้ว เมฆต้นกำเนิดนี้มีความกว้างหลายปีแสง และอาจเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์อื่นอีกจำนวนมาก<ref name="Arizona">{{cite web |title=Lecture 13: The Nebular Theory of the origin of the Solar System |url=http://atropos.as.arizona.edu/aiz/teaching/nats102/mario/solar_system.html |work=University of Arizona |accessdate=2006-12-27}}</ref>
นัทมีเรีย รังสียูวี
 
เมื่อย่าน[[เนบิวลาสุริยะ|เนบิวลาก่อนสุริยะ]] ซึ่งน่าจะเป็นจุดกำเนิดของระบบสุริยะ<ref>{{cite web |title=The chemical composition of the pre-solar nebula |author=Irvine, W. M. |work=Amherst College, Massachusetts |url=http://adsabs.harvard.edu/abs/1983coex....1....3I |accessdate=2007-02-15}}</ref>เกิดแตกสลายลง [[โมเมนตัมเชิงมุม]]ที่มีอยู่ทำให้มันหมุนตัวไปเร็วยิ่งขึ้น ที่ใจกลางของย่านซึ่งเป็นศูนย์รวมมวลอันหนาแน่นมีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าแผ่นจานที่หมุนอยู่รอบๆ<ref name="Arizona" /> ขณะที่เนบิวลานี้หดตัวลง มันก็เริ่มมีทรงแบนยิ่งขึ้นและค่อยๆ ม้วนตัวจนกลายเป็น[[จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด]] ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 200 [[หน่วยดาราศาสตร์|AU]]<ref name="Arizona" /> พร้อมกับมี[[ดาวฤกษ์ก่อนเกิด]]ที่หนาแน่นและร้อนจัดอยู่ ณ ใจกลาง<ref>Greaves, Jane S. (2005-01-07). "Disks Around Stars and the Growth of Planetary Systems". ''Science'' '''307''' (5706) : 68–71. DOI:[http://dx.doi.org/10.1126/science.1101979 10.1126/science.1101979] [http://www.sciencemag.org/cgi/content/abstract/sci;307/5706/68 abstract] [http://www.sciencemag.org/cgi/content/full/307/5706/68 full text].</ref><ref>{{cite web |date=2000-04-05 |url=http://www7.nationalacademies.org/ssb/detectionch3.html |title=Present Understanding of the Origin of Planetary Systems |publisher=National Academy of Sciences |accessdate=2007-01-19 }}</ref> เมื่อ[[วิวัฒนาการของดาวฤกษ์|การวิวัฒนาการ]]ดำเนินมาถึงจุดนี้ เชื่อว่าดวงอาทิตย์ได้มีสภาพเป็น[[ดาวฤกษ์ชนิด T Tauri]] ผลจากการศึกษาดาวฤกษ์ชนิด T Tauri พบว่ามันมักมีแผ่นจานของมวลสารดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่มีมวลประมาณ 0.001-0.1 เท่าของ[[มวลดวงอาทิตย์]] กับมวลของเนบิวลาในตัวดาวฤกษ์เองอีกเป็นส่วนใหญ่จำนวนมหาศาล<ref name="Kitamara">{{cite conference | author=M. Momose, Y. Kitamura, S. Yokogawa, R. Kawabe, M. Tamura, S. Ida | title=Investigation of the Physical Properties of Protoplanetary Disks around T Tauri Stars by a High-resolution Imaging Survey at lambda = 2 mm | booktitle=The Proceedings of the IAU 8th Asian-Pacific Regional Meeting, Volume I | year=2003 | publisher=Astronomical Society of the Pacific Conference Series | volume=289 | editor=Ikeuchi, S., Hearnshaw, J. and Hanawa, T. (eds.) | pages=85 | url=http://articles.adsabs.harvard.edu/cgi-bin/nph-iarticle_query?2003ASPC..289...85M&data_type=PDF_HIGH&whole_paper=YES&type=PRINTER&filetype=.pdf | format=PDF}}</ref> ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจาก[[แผ่นจานรวมมวล]]เหล่านี้<ref>{{cite journal | doi= 10.1086/429160 | title= Chondrule-forming Shock Fronts in the Solar Nebula: A Possible Unified Scenario for Planet and Chondrite Formation | year= 2005 | author= Boss, A. P. | journal= The Astrophysical Journal | volume= 621 | pages= L137}}</ref>
 
ภายในช่วงเวลา 50 ล้านปี ความดันและความหนาแน่นของไฮโดรเจนที่ใจกลางของดาวฤกษ์ก่อนเกิดก็มีมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยา[[นิวเคลียร์ฟิวชั่น]]ขึ้นได้<ref name=Yi2001>{{cite journal | author= Sukyoung Yi; Pierre Demarque; Yong-Cheol Kim; Young-Wook Lee; Chang H. Ree; Thibault Lejeune; Sydney Barnes | title=Toward Better Age Estimates for Stellar Populations: The <math>Y^{2}</math> Isochrones for Solar Mixture | journal=Astrophysical Journal Supplement | year=2001 | volume=136 | pages=417 | doi=10.1086/321795 | url=http://adsabs.harvard.edu/abs/2001ApJS..136..417Y}} arXiv [http://arxiv.org/abs/astro-ph/0104292 astro-ph/0104292]</ref> ทั้งอุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา ความดัน ตลอดจนความหนาแน่นต่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง[[สภาวะสมดุลอุทกสถิต]] โดยมีพลังงานความร้อนที่มากพอจะต้านทานกับการหดตัวของแรงโน้มถ่วงได้ ณ จุดนี้ดวงอาทิตย์จึงได้วิวัฒนาการเข้าสู่[[แถบลำดับหลัก]]อย่างสมบูรณ์<ref>{{cite journal | author=A. Chrysostomou, P. W. Lucas | title=The Formation of Stars | journal=Contemporary Physics | year=2005 | volume=46 | pages=29 | url=http://adsabs.harvard.edu/abs/2005ConPh..46...29C | doi=10.1080/0010751042000275277}}</ref>
 
[[ไฟล์:redgiantsun.gif|thumb|left|ภาพวาดโดยศิลปินแสดงให้เห็นวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์<br />ซ้าย: ดวงอาทิตย์ของเราในปัจจุบันซึ่งอยู่ในแถบลำดับหลัก<br />กลาง: ดาวยักษ์แดง<br />ขวา: ดาวแคระขาว]]
ระบบสุริยะจะดำรงสภาพอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ไปตราบจนกระทั่งดวงอาทิตย์ได้วิวัฒนาการจนออกพ้นจากแถบลำดับหลักบน[[ไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์]] เมื่อดวงอาทิตย์เผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจนภายในไปเรื่อยๆ พลังงานที่คอยค้ำจุนแกนกลางของดาวอยู่ก็จะลดน้อยถอยลง ทำให้มันหดตัวและแตกสลายลงไป การหดตัวจะทำให้แรงดันความร้อนในแกนกลางเพิ่มมากขึ้น และทำให้มันยิ่งเผาผลาญเชื้อเพลิงเร็วขึ้น ผลที่เกิดคือดวงอาทิตย์จะส่องสว่างมากยิ่งขึ้นโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ในทุกๆ 1,100 ล้านปี<ref>{{cite web|title=Science: Fiery future for planet Earth |author=Jeff Hecht |work=NewScientist |url=http://www.newscientist.com/article/mg14219191.900.html |year=1994 |accessdate=2007-10-29}}</ref>
 
ในอีกประมาณ 5,400 ล้านปีข้างหน้า ไฮโดรเจนในแกนกลางของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไปเป็นฮีเลียมทั้งหมด ซึ่งเป็นอันจบกระบวนการวิวัฒนาการบนแถบลำดับหลัก ในเวลานั้น ชั้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์จะขยายใหญ่ขึ้นประมาณ 260 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในปัจจุบัน ดวงอาทิตย์จะกลายเป็น[[ดาวยักษ์แดง]] การที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ขยายตัวขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวของมันเย็นลงยิ่งกว่าที่เคยเป็นเมื่ออยู่บนแถบลำดับหลัก (ตำแหน่งเย็นที่สุดคือ 2600 K) <ref>{{cite journal|author= K. P. Schroder, Robert Cannon Smith|title= Distant future of the Sun and Earth revisited|journal=Monthly Notices of the Royal Astronomical Society | volume=386 |pages=155-163 | year=2008 |doi=10.1111/j.1365-2966.2008.13022.x |url=http://adsabs.harvard.edu/abs/2008MNRAS.386..155S }}</ref>
 
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ชั้นผิวนอกของดวงอาทิตย์จะแตกสลาย กลายไปเป็น[[ดาวแคระขาว]] คือวัตถุที่มีความหนาแน่นอย่างยิ่งยวด มวลประมาณครึ่งหนึ่งของมวลดั้งเดิมของดวงอาทิตย์จะอัดแน่นอยู่ในพื้นที่ของวัตถุขนาดประมาณเท่ากับโลก<ref>{{cite web|author=Pogge, Richard W.|year=1997|url=http://www-astronomy.mps.ohio-state.edu/~pogge/Lectures/vistas97.html|title=The Once & Future Sun|format=lecture notes|work=[http://www-astronomy.mps.ohio-state.edu/Vistas/ New Vistas in Astronomy]|accessdate=2005-12-07}}{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2551}}</ref> การแตกสลายของชั้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า [[เนบิวลาดาวเคราะห์]] ซึ่งเป็นการส่งคืนสสารต่างๆ อันประกอบขึ้นเป็นดวงอาทิตย์กลับคืนให้แก่[[สสารระหว่างดาว]]
 
{{clear}}
== โครงสร้าง ==
[[ไฟล์:Oort cloud Sedna orbit-th.svg|thumb|450px|ขนาดวงโคจรของวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยะ จากเล็กไปใหญ่ เริ่มจากด้านซ้านบนวนตามเข็มนาฬิกา]]