ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบสุริยะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 107:
[[ไฟล์:Oort cloud Sedna orbit-th.svg|thumb|450px|ขนาดวงโคจรของวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยะ จากเล็กไปใหญ่ เริ่มจากด้านซ้านบนวนตามเข็มนาฬิกา]]
 
องค์ประกอบหลักที่สำคัญของระบบสุริยะคือ แคร์แบร์ กับแคร์อลอท และ มายลิทเทิลโพนี่
องค์ประกอบหลักที่สำคัญของระบบสุริยะคือ [[ดวงอาทิตย์]] [[ดาวฤกษ์]]ใน[[แถบลำดับหลัก]]ประเภท [[การจัดประเภทดาวฤกษ์|G2]] ซึ่งมีมวลคิดเป็น 99.86% ของมวลรวมทั้งระบบเท่าที่เป็นที่รู้จัก และเป็นแหล่ง[[แรงโน้มถ่วง]]หลักของระบบ<ref>{{cite journal |author=M Woolfson |title=The origin and evolution of the solar system | doi= 10.1046/j.1468-4004.2000.00012.x |year=2000 |journal=Astronomy & Geophysics |volume=41 |pages=1.12 }}</ref> โดยมี[[ดาวพฤหัสบดี]]และ[[ดาวเสาร์]] ซึ่งเป็นวัตถุในวงโคจรใหญ่ที่สุดสองดวงครอบครองมวลอีก 90% ของมวลส่วนที่เหลือ
 
วัตถุใหญ่ๆ ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่อยู่บนระนาบใกล้เคียงกับระนาบโคจรของโลก ที่เรียกว่า ระนาบ[[สุริยวิถี]] ดาวเคราะห์ทั้งหมดจะเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับระนาบนี้ ขณะที่[[ดาวหาง]]และวัตถุใน[[แถบไคเปอร์]]มักเคลื่อนที่ทำมุมกับระนาบค่อนข้างมาก
 
ดาวเคราะห์ทั้งหมดและวัตถุส่วนใหญ่ในระบบยังโคจรไปในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ (ทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากมุมมองด้านขั้วเหนือของดวงอาทิตย์) มีเพียงบางส่วนที่เป็นข้อยกเว้นไม่เป็นไปตามนี้ เช่น [[ดาวหางฮัลเลย์]] เป็นต้น
 
ตาม[[กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์]]ของเคปเลอร์ อธิบายถึงลักษณะการโคจรของวัตถุต่างๆ รอบดวงอาทิตย์ กล่าวคือ วัตถุแต่ละชิ้นจะเคลื่อนที่ไปตามแนว[[สุริยวิถี|ระนาบ]]รอบดวงอาทิตย์โดยมีจุด[[โฟกัส]]หนึ่งจุด วัตถุที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า (มีค่า[[กึ่งแกนเอก]]น้อยกว่า) จะใช้เวลาโคจรน้อยกว่า บนระนาบสุริยวิถีหนึ่งๆ ระยะห่างของวัตถุกับดวงอาทิตย์จะแปรผันไปตามเส้นทางบนทางโคจรของมัน จุดที่วัตถุอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเรียกว่า "[[จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด]]" (perihelion) ขณะที่ตำแหน่งซึ่งมันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด เรียกว่า "[[จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด]]" (aphelion) วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ความเร็วสูงที่สุดเมื่ออยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำสุดเมื่ออยู่ในตำแหน่งไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ลักษณะของวงโคจรของดาวเคราะห์มีรูปร่างเกือบจะเป็นวงกลม ขณะที่[[ดาวหาง]] [[ดาวเคราะห์น้อย]] และวัตถุใน[[แถบไคเปอร์]] มีวงโคจรค่อนข้างจะเป็นวงรี
 
เมื่อศึกษาถึงระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ในที่ว่างมหาศาลของระบบ เราพบว่า ยิ่งดาวเคราะห์หรือแถบต่างๆ อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์เท่าไร มันก็จะยิ่งอยู่ห่างจากวัตถุอื่นใกล้เคียงมากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น [[ดาวศุกร์]]มีระยะห่างจาก[[ดาวพุธ]]ประมาณ 0.33 [[หน่วยดาราศาสตร์]] ส่วน[[ดาวเสาร์]]อยู่ห่างจาก[[ดาวพฤหัสบดี]]ไป 4.3 หน่วยดาราศาสตร์ และ[[ดาวเนปจูน]]อยู่ห่างจาก[[ดาวยูเรนัส]]ออกไปถึง 10.5 หน่วยดาราศาสตร์ เคยมีความพยายามศึกษาและอธิบายถึงระยะห่างระหว่างวงโคจรของดาวต่างๆ (ดูรายละเอียดใน [[กฎของทิเทียส-โบเด]]) แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดเป็นที่ยอมรับ
 
ดาวเคราะห์ส่วนมากในระบบสุริยะจะมีระบบเล็กๆ ของตัวเองด้วย โดยจะมีวัตถุคล้ายดาวเคราะห์ขนาดเล็กโคจรไปรอบตัวเองเป็นดาวบริวาร หรือ[[ดวงจันทร์บริวาร|ดวงจันทร์]] ดวงจันทร์บางดวงมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์เสียอีก ดาวบริวารขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีวงโคจรที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ คือจะหันหน้าด้านหนึ่งของดาวเข้าหาดาวเคราะห์ดวงแม่ของมันเสมอ ดาวเคราะห์ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ 4 ดวงยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวด้วย เป็นแถบบางๆ ที่ประกอบด้วยเศษชิ้นส่วนเล็กๆ โคจรไปรอบๆ อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
 
=== คำจำกัดความ ===
[[ไฟล์:Solarsys-th.svg|thumb|left|420px|ย่านต่างๆ ในระบบสุริยะ]]
 
ระบบสุริยะสามารถแบ่งออกเป็นย่านต่างๆ ได้แบบไม่เป็นทางการ ระบบสุริยะส่วนในประกอบด้วยดาวเคราะห์ 4 ดวงกับ[[แถบดาวเคราะห์น้อย]] ระบบสุริยะส่วนนอกคือส่วนที่อยู่พ้นแถบดาวเคราะห์น้อยออกไป ประกอบด้วยดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวง<ref>nineplanets.org. [http://www.nineplanets.org/overview.html "An Overview of the Solar System"]. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-02-15. </ref> ต่อมาเมื่อมีการค้นพบ[[แถบไคเปอร์]] จึงจัดเป็นย่านไกลที่สุดของระบบสุริยะ เรียกรวมๆ ว่าเป็น[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]<ref>Amir Alexander (2006). [http://www.planetary.org/news/2006/0116_New_Horizons_Set_to_Launch_on_9_Year.html "New Horizons Set to Launch on 9-Year Voyage to Pluto and the Kuiper Belt"]. The Planetary Society. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-11-08.</ref>
 
เมื่อพิจารณาจากทั้งแง่กายภาพและการเคลื่อนที่ วัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ ''ดาวเคราะห์'' ''ดาวเคราะห์แคระ'' และ ''วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ'' ดาวเคราะห์ไม่ว่าจะมีขนาดใดก็ตามที่โคจรรอบดวงอาทิตย์จะมีมวลมากพอจะสร้างตัวเองให้มีรูปร่างเป็นสัณฐานกลม และขับไล่ชิ้นส่วนเล็กๆ ที่อยู่รอบตัวเองให้ออกไปให้พ้นระยะ จากคำจำกัดความนี้ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจึงมี 8 ดวง ได้แก่ [[ดาวพุธ]] [[ดาวศุกร์]] [[โลก]] [[ดาวอังคาร]] [[ดาวพฤหัสบดี]] [[ดาวเสาร์]] [[ดาวยูเรนัส]] และ[[ดาวเนปจูน]] [[ดาวพลูโต]]ถูกปลดออกจากตำแหน่งดาวเคราะห์เนื่องจากมันไม่สามารถขับไล่วัตถุเล็กๆ อื่นๆ ในบริเวณแถบไคเปอร์ออกไปพ้นวงโคจรของมันได้<ref name="planetdef">[http://www.iau.org/iau0602.423.0.html "The Final IAU Resolution on the definition of "planet" ready for voting"], IAU (2006-08-24). เก็บข้อมูลเมื่อ 2 มีนาคม 2007.</ref>
 
ดาวเคราะห์แคระ คือเทหวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และมีมวลมากพอจะทำให้ตัวเองมีสัณฐานกลมเนื่องจากแรงโน้มถ่วง แต่ไม่สามารถขจัดชิ้นส่วนก่อนเกิดดาวเคราะห์ออกไป ทั้งไม่สามารถเป็นดาวบริวาร<ref name="planetdef" /> จากคำจำกัดความนี้ ระบบสุริยะจึงมีดาวเคราะห์แคระที่รู้จักแล้ว 5 ดวงคือ [[ซีรีส]] [[ดาวพลูโต|พลูโต]] [[เฮาเมอา]] [[มาคีมาคี]] และ [[อีรีส]]<ref name="solar06">[http://planetarynames.wr.usgs.gov/append7.html#DwarfPlanets "Dwarf Planets and their Systems"]. Working Group for Planetary System Nomenclature (WGPSN). U.S. Geological Survey (2008-11-07). เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-07-13. </ref> วัตถุอื่นๆ ที่อาจสามารถจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระได้ ได้แก่ [[เซดนา]] [[ออร์กัส]] และ[[ควาอัวร์]] ดาวเคราะห์แคระที่โคจรอยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูนเรียกชื่อรวมๆ ว่า "พลูตอยด์"<ref>[http://www.iau.org/public_press/news/release/iau0804 "Plutoid chosen as name for Solar System objects like Pluto"]. International Astronomical Union (News Release - IAU0804) (June 11, 2008, Paris). เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-06-11.</ref> นอกเหนือจากนี้ วัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ที่โคจรไปรอบดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ<ref name="planetdef" />
 
นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ใช้คำศัพท์ ''แก๊ส'' ''น้ำแข็ง'' และ ''หิน'' เพื่ออธิบายถึงประเภทองค์ประกอบสสารต่างๆ ที่พบตลอดทั่วระบบสุริยะ ''หิน'' จะใช้ในการอธิบายองค์ประกอบที่มีจุดหลอมเหลวสูง (สูงกว่า 500 [[เคลวิน]]) เช่นพวก ซิลิเกต องค์ประกอบหินมักพบได้มากในกลุ่มระบบสุริยะชั้นใน เป็นส่วนประกอบหลักของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ''แก๊ส'' เป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เช่นอะตอมไฮโดรเจน [[ฮีเลียม]] และ[[แก๊สมีตระกูล]] มักพบในย่านกึ่งกลางระบบสุริยะ เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ''น้ำแข็ง'' ซึ่งประกอบด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์<ref>{{cite journal | doi=10.1016/j.icarus.2007.04.009 | bibcode=2007Icar..190..345F | title=Asymmetries in the distribution of H2O and CO2 in the inner coma of Comet 9P/Tempel 1 as observed by Deep Impact | year=2007 | author=Feaga, L | journal=Icarus | volume=190 | pages=345 }}</ref> มีจุดหลอมเหลวเพียงไม่กี่ร้อยเคลวิน เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในดาวบริวารของบรรดาดาวแก๊สยักษ์ รวมถึงเป็นองค์ประกอบอยู่ในดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน (บางครั้งเรียกดาวทั้งสองนี้ว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์") และในวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่อยู่พ้นจากวงโคจรดาวเนปจูนออกไป<ref name=zeilik>{{cite book | pages=240 | author= Michael Zellik| title=Astronomy: The Evolving Universe | edition= 9th ed. | year=2002 | publisher=Cambridge University Press | isbn=0521800900 | oclc=223304585 46685453 }}</ref>
 
== ดวงอาทิตย์ ==