ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
ทั้งนี้การศพดังกล่าวถือเป็นการถวายพระเกียรติตามศักดิ์ที่เป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้า ปรากฏพระนามจารึกที่พระโกศว่า "เจ้าครอกฉิมใหญ่" และหลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ได้ยกเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าย้อนหลังด้วยเช่นกัน<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. ''กบฏเจ้าฟ้าเหม็น.'' พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 33</ref>
 
== ผู้สืบเชื้อสาย ==
ส่วนเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ธุวงศ์ พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 1 เป็น '''[[สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ กรมขุนกระษัตรานุชิต]]''' และเปลี่ยนพระนามเป็น '''ธรรมาธิเบศร์''' ครั้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ทรงถูกฟ้องร้องว่าคิดวางแผนก่อการกบฏ จึงถูกถอดยศเป็น "หม่อมเหม็น" และถูกสำเร็จโทษด้วย[[ท่อนจันทน์]] ที่[[วัดปทุมคงคา]] พร้อมพระโอรสทั้งหกพระองค์<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. ''กบฏเจ้าฟ้าเหม็น.'' พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 151</ref> เหลือแต่เหล่าพระธิดาซึ่งถูกถอดพระยศเป็น ''คุณ'' หรือ ''หม่อม''<ref name="ราช"/>
 
อย่างไรก็ตามในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ผู้สืบเชื้อสายของหม่อมเหม็นได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "อภัยกุล"<ref name="ราช"/>