ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Song2281 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 329:
ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
จึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๒
 
=== เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ ===
 
ในปีแรกที่ทรงตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (มี) นั้นเอง
ก็ได้เกิดอธิกรณ์ซึ่งนับว่าเป็นครั้งสำคัญและครั้งแรกขึ้นในรัชกาล
เพราะมีพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์
ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง ๓ รูป
ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ดังนี้
 
“'''ในเดือน ๑๒ ปีชวด อัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น มีโจทก์ฟ้องว่า'''
'''พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป ๑'''
'''พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลาง รูป ๑'''
'''พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่า รูป ๑ ทั้ง ๓ รูปนี้'''
'''ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน'''
'''จนถึงมีบุตรหลายคน โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ'''
'''กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์'''
'''ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก'''”
 
ตำแหน่งที่ พระพุทธโฆษาจารย์ นั้น เป็นตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์
รองลงมาจากตำแหน่งที่ สมเด็จพระพนรัตน
หรือเป็นลำดับที่ ๓ ในสังฆมณฑล นับแต่ สมเด็จพระสังฆราช ลงมา
และพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) รูปนี้
นับว่าเป็นกำลังสำคัญของคณะสงฆ์ในขณะนั้น
เพราะเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โปรดเกล้าฯ ให้จัดสมณทูตไปลังกาเมื่อต้นรัชกาล
สมเด็จพระสังฆราช (มี) ขณะยังเป็นที่ สมเด็จพระพนรัตน
กับ พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) นี้เอง
ที่เป็นผู้จัดการเรื่องสมณทูตไปลังกา เป็นที่เรียบร้อยสมพระราชประสงค์
จึงนับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
เมื่อมาเกิดอธิกรณ์ขึ้นเช่นนี้ คงเป็นที่ทรงโทมนัสเป็นอย่างมาก
และก็คงตกเป็นภาระของสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง
ที่จะต้องสะสางและปรับปรุงการคณะสงฆ์ให้ดีขึ้น
ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่า
 
“'''ที่เกิดเหตุปรากฏว่าพระราชาคณะเป็นปาราชิกหลายรูปคราวนั้น'''
'''เห็นจะทรงพระวิตกถึงการฝ่ายพระพุทธจักรมาก'''
'''ปรากฏว่าได้ทรงเผดียงสมเด็จพระสังฆราช (มี)'''
'''แลสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกษ ให้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี'''
'''แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณะมณฑล คัดแจกทั่วไปตามพระอาราม'''
'''เป็นทำนองสังฆาณัติแลการชำระความปาราชิกก็สืบสวนกวดขันขึ้นแต่ครั้งนั้นมา'''
'''จนสิ้นรัชกาลที่ ๒ แลต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ด้วย'''”
 
หนังสือโอวาทานุสาสนีดังกล่าวนี้โปรดให้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ นี้
มีสาระสำคัญว่าด้วยเรื่องให้พระอุปัชฌาย์
อาจารย์พระราชาคณะถานานุกรมเอาใจใส่สั่งสอนพระภิกษุสามเณร
ให้อยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ๔ ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์
จะต้องมีความรู้เรื่องพระวินัยและสังฆกรรมเป็นอย่างดีและปฏิบัติให้ถูกต้อง
 
ต่อมาอีก ๓ ปี สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)
ผู้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนีเอง ก็ต้องอธิกรณ์ ด้วยประพฤติต่อศิษย์ผิดสมณสารูป
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอดจากสมณศักดิ์
และไล่จากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง
(ซึ่งภายหลังต่อมาได้สร้างเป็นวัดเบญจมบพิตรดังปรากฏอยู่ในบัดนี้)
จนถึงมรณภาพในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) รูปนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จะทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบต่อกันมาจาก สมเด็จพระสังฆราช (มี)
ถึงกับโปรดเกล้าฯ ให้แห่มาอยู่วัดมหาธาตุแล้ว แต่มาเกิดอธิกรณ์เสียก่อนดังกล่าว
เหตุการณ์ครั้งนี้ คงเป็นเรื่องสะเทือนใจพุทธศาสนิกชน
ยิ่งกว่าเมื่อครั้งพระราชาราชคณะ ๓ รูปต้องอธิกรณ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
เพราะพระเถระที่ต้องอธิกรณ์ครั้งนี้ เป็นถึงว่าที่สมเด็จพระสังฆราช
และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะที่ไม่ห่างกันนัก
 
 
=== การทำพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ===
 
พ.ศ. 2360 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้พิเศษยิ่งกว่าที่เคยทรงปฏิบัติมา
จึงทรงมีพระราชราชปุจฉาต่อสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถวายพระพรให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระศรีรัตนตรัย
ในวันวิสาขบูชาเยี่ยงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแต่ปางก่อนเคยกระทำมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้กำหนดพิธีวิสาขบูชาขึ้นเป็นธรรมเนียม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2360 นั้นเป็นต้นมา
นับเป็นการทำพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นเหตุให้มีการทำพิธีวิสาขบูชากันสืบมาจนปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้นับว่า
เป็นสิ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระสังฆราช (มี) โดยแท้
นับเป็นพระเกียรติประวัติที่สำคัญครั้งหนึ่งของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น
 
อนึ่ง พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
ที่ได้กำหนดเป็นพระราชพิธีหลวงเป็นครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ
ให้จัดขึ้นในครั้งนั้น พระราชพงศาวดารได้บันทึกไว้ดังนี้ คือ
 
“'''ศุภมัสดุ ๑๑๗๙ ศกอุศุภสังวัจฉร เจตมาสกาลปักษ์ ทุติยดฤถีครุวาร ปริเฉทกาลกำหนด'''
'''พระบาทสมเด็จพระธรรมิกราชรามาธิราช บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว'''
'''ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ เสด็จออก ณ พระที่นั่งบุษบกมาลา'''
'''มหาจักรพรรดิพิมานพร้อมด้วยอัครมหาเสนามาตยาธิบดี'''
'''มุขมนตรีกระวีชาติราชปโรหิตจารย์ ผู้ทูลละอองพระบาทโดยลำดับ'''
'''ทรงพระราชศรัทธาถวายสังฆภัตทานแก่พระสงฆ์มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน'''
'''ครั้นเสด็จการภุตตกิจ พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'''
'''ทรงพระราชรำพึงถึงสรรพการกุศล เป็นต้นว่า บริจาคทานรักษาศีล เจริญภาวนา'''
'''ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นนิจกาลนั้น ยังหาเต็มพระราชศรัทธาไม่'''
'''มีพระทัยปรารถนาจะใคร่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้มีผลวิเศษประเสริฐยิ่ง'''
'''ที่พระองค์ยังมิได้ทรงกระทำเพื่อจะให้แปลกประหลาด'''
'''จึงมีพระราชปุจฉาถามสมเด็จพระสังฆราช (มี)'''
'''และพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยถวายพระพรว่า'''
'''แต่ก่อนสมเด็จมหากษัตราธิราชเจ้ากระทำสักการบูชา'''
'''พระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูรณมี คือ วันเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ'''
'''เป็นวันวิสาขนักขัตฤกษ์มหายัญพิธีบูชาใหม่ มีผลผลานิสงส์มากยิ่งกว่าตรุษสงกรานต์'''
'''เหตุว่าเป็นวันสมเด็จพระสัพพัญญพุทธเจ้าประสูติ ได้ตรัสรู้ ปรินิพพาน'''
'''และสมเด็จพระเจ้าภาติกราชวสักราชดิศรมหาราชเคยกระทำสืบพระชนมายุ'''
'''เป็นเยี่ยงอย่างโบราณราชประเพณีมาแต่ก่อน'''
'''และพระราชพิธีวิสาขบูชาอันนี้เสื่อมสูญขาดมาช้านานแล้ว หามีกษัตริย์องค์ใดกระทำไม่'''
'''ถ้าได้กระทำสักการบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันนั้นแล้ว ก็จะมีผลานิสงส์มากยิ่งนัก'''
'''อาจสามารถปิดประตูจตุราบายภูมิทั้ง ๔ และเป็นที่จะดำเนินไปในสุคติภพเบื่องหน้า'''
'''อาจให้เจริญทฤฆายุสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล'''
'''ระงับทุกข์โทษอุปัทวันตรายภัยต่างๆ ในปริเฉทกาลปัจจุบัน'''
'''เป็นอนันต์คุณานิสงส์วิเศษนักจะนับประมาณมิได้'''
'''ครั้นได้ทรงฟังเกิดพระราช ปิติโสมนัสตรัสเห็นว่าวิสาขบูชานี้จะเป็นเนื้อนาบุญราศี'''
'''ประกอบพระราชกุศลเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งเป็นแท้'''
'''จึงทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหาพิธีอันขาดประเพณีมานั้น'''
'''ให้กลับเจียรฐิติกาลกำหนดปรากฏสำหรับแผ่นดินสืบต่อไป'''
'''จะให้เป็นวัตตถประโยชน์และปรมัตถประโยชน์'''
'''ทรงพระราชศรัทธาจะให้สัตว์โลกข้าขอบขัณฑสีมาทั้งปวงเจริญอายุ'''
'''และอยู่เป็นสุขปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้และชั่วหน้า'''
'''จึงมีพระราชโองการมานบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า'''
'''แต่นี้สืบไป เถิง ณ วันเดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรม ๑ ค่ำ'''
'''เป็นวันวิสาขบูชานักขัตฤกษ์ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'''
'''ทรงรักษาอุโบสถศิลปรนิบัติพระสงฆ์ ๓ วัน ปล่อยสัตว์ ๓ วัน'''
'''ห้ามมิให้ผู้ใดฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เสพสุราเมรัย ๓ วัน'''
'''ถวายประทีปตั้งโคมแขวนเครื่องสักการบูชาดอกไม้เพลิง ๓ วัน'''
'''ให้มีพระธรรมเทศนาในพระอารามหลวงถวายไทยทาน ๓ วัน'''
'''ส่วนพระบรมราชวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท'''
'''ไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ลูกค้าวาณิช สมรชีพราหมณ์ทั้งปวง'''
'''จงมีศรัทธาปลงใจในการกุศล อุตส่าห์กระทำวิสาขบูชาให้เป็นประเพณียั่งยืนไปทุกปี'''
'''ไปอย่าให้ขาด ฝ่ายฆราวาสนั้นจงรักษาอุโบสถศีลถวายบิณฑบาต'''
'''ปล่อยสัตว์ตามศรัทธา ๓ วัน ดุจวันตรัษสงกรานต์'''
'''เวลาเพลแล้วมีพระธรรมเทศนาในพระอาราม'''
'''ครั้นเวลาบ่ายให้ตกแต่งเครื่องสักการบูชาพวงดอกไม้มาลากระทำให้วิจิตรต่างๆ'''
'''ธูปเทียนชวาลาธงผ้า ธงกระดาษออกไปยังอารามบูชาพระรัตนตรัย'''
'''ตั้งพานดอกไม้แขวนพวงไม้ธูปเทียนธงใหญ่ธงน้อยในพระอุโบสถ'''
'''พระวิหารที่ลานพระเจดีย์ พระศรีมหาโพธิ์'''
'''และผู้ใดจะมีเครื่องดุริยางค์ดนตรีมโหรีพิณพาทย์'''
'''เครื่องผสมสมโภชประการใดๆ ก็ตามแต่ใจศรัทธา'''
'''ครั้นเวลาค่ำให้บูชาพระรัตนตรัยด้วยเครื่องบูชาประทีป โคมตั้ง โคมแขวน'''
'''จงทุกหน้าบ้าน และ ณ วันเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำนั้นเป็นวันเพ็ญบุรณมี'''
'''ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระราชวังหลวง ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล'''
'''ประชุมกันถวายสลากภัตแก่พระสงฆ์ และให้มรรคนายกทั้งปวงชักชวนสัปบุรุษทายก'''
'''บรรดาที่อยู่ใกล้เคียงอารามใดๆ ให้นำสลากภัตถวายพระสงฆ์ในอารามนั้น'''
'''เวลาบ่ายให้เอาหม้อใหญ่ใส่น้ำลอยด้วยดอกอุบลบัวหลวง'''
'''ด้วยสายสิญจน์สำหรับเป็นน้ำปริตรไปตั้งที่พระอุโบสถ'''
'''พระสงฆ์ลงอุโบสถแล้วจะได้สวดพระพุทธมนต์จำเริญพระปริตรธรรม'''
'''ครั้นจบแล้วหม้อน้ำของผู้ใดก็เอาไปกินอาบปะพรมรดเย้าเรือนเคหา'''
'''บำบัดโรคอุปัทวภัยต่างๆ ฝ่ายพระสงฆ์สมณนั้นให้พระราชาคณะฐานานุกรม'''
'''ประกาศให้ลงพระอุโบสถแต่เพลาเพลแล้วให้พร้อมกัน'''
'''ครั้นเสร็จอุโบสถกรรมแล้วเจริญพระปริตรธรรมแผ่พระพุทธอาญาในพระราชอาณาเขต'''
'''ระงับอุปัทวภัยทั้งปวง ครั้นเวลาค่ำเป็นวันโอกาสแห่งพระสงฆ์สามเณรกระทำสักการบูชา'''
'''พระศรีรัตนตรัยที่พระอุโบสถและพระวิหารด้วยธูปเทียน โคมตั้ง โคมแขวน ดอกไม้'''
'''และประทีป พระภิกษุที่เป็นธรรมกถึก'''
'''จงมีจิตปราศโลภโลกามิสให้ตั้งเมตตาศรัทธาเป็นบุรจาริก'''
'''จงสำแดงธรรมเทศนาให้พระสงฆ์สามเณรและสัปบุรุษ'''
'''ฟังอันควรแก่ราตรีวันนั้นทุกอาราม'''
'''ให้กระตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมานี้เสมอไปทุกปีอย่าให้ขาด'''
'''ถ้าฆราวาสและพระสงฆ์สามเณรรูปใดเป็นพวกทุจริตจิตคะนองหยาบช้า'''
'''หามีศรัทธาไม่กระทำความอันมิชอบ'''
'''ให้เป็นอันตรายแก่ผู้กระทำวิสาขบูชาในวันนักขัตฤกษ์นั้น'''
'''ให้ร้องแขวงนายบ้านนายอำเภอกำชับตรวจตราสอดแนมจับกุมเอาตัวผู้กระทำผิดให้จงได้'''
'''ถ้าจับคฤหัสถ์ได้ในกรุงฯ ให้ส่งกรมพระนครบาลนอกกรุงฯ ให้ส่งเจ้าเมืองกรมการ'''
'''ถ้าจับพระสงฆ์สามเณรได้ในกรุงฯ ส่งสมเด็จพระสังฆราช พระพนรัตน์ นอกกรุงฯ'''
'''ส่งเจ้าอธิการให้ไล่เลียงไต่ถามได้ความเห็นสัตย์ให้ลงทัณฑกรรม ตามอาญาฝ่ายพุทธจักร'''
'''และพระราชอาณาจักรจะได้หลายจำอย่าให้ทำต่อไป'''
'''และให้ประกาศป่าวร้องอาณาประชาราษฎร์'''
'''ลูกค้าวาณิชสมณชีพราหมณ์ให้จง รู้จงทั่ว'''
'''ให้กระทำดังพระราชบัญญัติดังกล่าวมานี้จงทุกประการ'''
'''ถ้าผู้ใดมิได้ฟัง จะเอาตัวผู้กระทำผิดเป็นโทษโดยโทษานุโทษฯ'''”
 
“'''พิธีวิสาขบูชาทำที่ในกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๒ ปรากฏว่ามีการเหล่านี้'''
'''คือนำโคมปิดกระดาษชักเสาไม้ไผ่ยอดผูกฉัตรกระดาษ'''
'''พระราชทานไปปักจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละ ๔ เสาอย่าง ๑'''
'''ให้นายอำเภอกำนันป่าวร้องราษฎรให้จุดโคมตามประทีปตามบ้านเรือนเป็นพุทธบูชาอย่าง ๑ หมายแผ่พระราชกุศล แต่ข้าราชการให้ร้อยดอกไม้แขวน'''
'''เป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง ๓ วันอย่าง ๑'''
'''มีดอกไม้เพลิงของหลวงตั้งจุดเป็นพุทธบูชาที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่าง ๑'''
'''นิมินต์พระสงฆ์ให้อุโบสถศีลและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ราษฎร'''
'''ตามพระอารามหลวงฝั่งตะวันออก ๑๐ วัน ผั่งตะวันตก ๑๐ วัน'''
'''เครื่องกัณฑ์เป็นของหลวงพระราชทาน
'''และให้นายอำเภอกำนันร้องป่าวตักเตือนราษฎรให้ไปรักษาศีล
'''ฟังธรรม และห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่าง ๑
'''นำธงจระเข้ไปปักเป็นพุทธบูชา ตามพระอารามหลวงวัดละต้นอย่าง ๑
'''เลี้ยงพระสงฆ์ในท้องพระโรง พระราชทานสลากภัตแล้ว แล้วสดับปกรณ์พระบรมอัฐิ'''...”
 
 
 
== อ้างอิง ==