ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมยุติกนิกาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5063370 สร้างโดย 183.89.67.45 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif|left|thumb|ตราคณะธรรมยุต]]
 
'''[[พระสงฆ์]]คณะธรรมยุติกนิกาย''' หรือที่เรียกสั้น ๆ โดยย่อว่า '''คณะธรรมยุต''' นั้น เป็นผลจากการฟื้นฟู[[พระพุทธศาสนาสงฆ์|คณะสงฆ์]] และการแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของที่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระวชิรญาณเถระ]]ทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟู[[ศาสนาพุทธ]]ใน[[สยาม]] ขณะผนวชอยู่และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย กล่าวคือเมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะเมื่อยังผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษา[[พระไตรปิฎก]]อย่างแตกฉานทำให้มีพระ[[วิจารณญาณ]]เกี่ยวกับความเป็นมาของ[[พระพุทธศาสนา]] และความประพฤติปฏิบัติของ[[พระสงฆ์]]ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอน[[พระพุทธศาสนา]] และการประพฤติปฏิบัติของ[[พระสงฆ์]]ให้ถูกต้องตาม[[พระธรรมวินัย]]ตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็น[[อาจินปฏิบัติ]] (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า '''พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ [[ร.ศ. 121]]''' มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 
นิกายธรรมยุตธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้ง[[พระวินัยปิฎก]]และ[[พระสุตตันตปิฎก]] ซึ่งเป็นความพยายามของ[[พระวิชรญาณเถระ]]วชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่[[พระพุทธศาสนา]]ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นใน[[ประเทศไทย]]
 
การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "[[มหานิกาย]]"
บรรทัด 44:
# ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหา ความรู้สาขาอื่น ๆ ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจ ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน
 
== เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ==
คณะธรรมยุตยุคแรกยังรวมอยู่กับคณะสงฆ์ดั้งเดิม เพิ่งได้รับอำนาจในการปกครองตนเองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระเถระดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบมาดั้งนี้<ref name="ประวัติคณะธรรมยุต">''ประวัติคณะธรรมยุต'', กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2547, หน้า 313-42</ref>
{| border="1" cellpadding="4" cellspacing="1" style="margin: 1em 1em 1em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; text-align:center; border-collapse: collapse; font-size: 95%;"
บรรทัด 77:
{{ศาสนาในไทย}}
 
[[หมวดหมู่:คณะสงฆ์ในนิกายเถรวาทธรรมยุติกนิกาย]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19]]