ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคความหวังใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 56:
 
== พรรคความหวังใหม่ยุคหลัง พ.ศ. 2545 ==
นาย[[ชิงชัย มงคลธรรม]] และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง ได้จดทะเบียนพรรคความหวังใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อวันที่ [[7 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]]<ref>[http://www.ect.go.th/newweb/upload/cms02/download/1521-4287-0.pdf ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ (จำนวน 51 พรรคการเมือง)] ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553</ref> ปัจจุบัน พรรคความหวังใหม่ ยังคงดำเนินกิจการทางการเมืองอยู่ โดยที่มีหัวหน้าพรรคคือ นาย[[ชิงชัย มงคลธรรม]] โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารพรรคชุดเดิม และได้เปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548]] ทางพรรคก็ได้ส่งผู้สมัครลงในพื้นที่อีสาน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้ที่นั่งเดียว รวมทั้ง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550]] ด้วย ต่อมาใน[[การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 6 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553|การเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 6]] เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 พรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ นาย[[อนุสรณ์ สมอ่อน]] หมายเลข 3 แต่ได้รับคะแนนเพียง 684 คะแนน และ ในปี 2554 พรรคความหวังใหม่ได้ส่ง [[นายอธิวัฒน์ บุญชาติ]]นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ พิธีกรรายการทีวีชื่อดัง ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 9 บุรีรัมย์
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554]] ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. โดยได้รับหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 34 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เข้ามาทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาพรรค<ref>[http://www.tamsabye.com/index.php?name=news&file=readnews&id=204 พล.อ.ชวลิต หวนนั่งประธานที่ปรึกษา พรรคความหวังใหม่]สืบค้นวันที่ 6 มิถุนายน 2554</ref> แต่ผลปรากฏว่าไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ
<gallery>
ไฟล์:Chavalit.jpg|พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคคนแรก
ไฟล์:Leader.jpg|ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ คนปัจจุบัน
</gallery>