ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุริยุปราคา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Solar_eclipse_1999_4.jpg|250px|thumb|สุริยุปราคาเต็มดวง [[พ.ศ. 2542]]]]
'''สุริยุปราคา''' หรือ '''สุริยคราส''' เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อ[[ดวงอาทิตย์]] [[ดวงจันทร์]] และ[[โลก]] โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มี[[ดิถีจันทร์|ดิถี]]ตรงกับ[[จันทร์ดับ]] เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง<ref>{{cite book
โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
| last = Littmann
| first = Mark
| coauthors = Fred Espenak, Ken Willcox
| title = Totality: Eclipses of the Sun
| publisher = Oxford University Press
| date = 2008
| pages = 18-19
| isbn = 0199532095
}}</ref> โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
 
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
 
== ชนิดของสุริยุปราคา ==
 
[[ไฟล์:NASA-solar eclipse STEREO-B.ogg|thumb|200px|ดวงจันทร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ สังเกตจากยาน [[STEREO|STEREO-B]] เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่ระยะ 4.4 เท่าของระยะระหว่างโลกกับดวงจันทร์<ref>{{cite web |title=NASA - Stereo Eclipse |publisher=NASA |url=http://science.nasa.gov/headlines/y2007/12mar_stereoeclipse.htm}}</ref>]]
 
สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่
* '''สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse) ''': ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
* '''สุริยุปราคาบางส่วน (partial eclipse) ''': มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
* '''สุริยุปราคาวงแหวน (annular eclipse) ''': ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
* '''สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse) ''': ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
 
สุริยุปราคาจัดเป็น[[อุปราคา]]ประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มี[[ดิถีจันทร์|ดิถี]]ตรงกับ[[จันทร์ดับ]]
 
การที่ขนาดของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เกือบจะเท่ากันถือเป็นเหตุบังเอิญ ดวงอาทิตย์มีระยะห่างเฉลี่ยจากโลกไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 390 เท่า และเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ก็ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่า ตัวเลขทั้งสองนี้ซึ่งไม่ต่างกันมาก ทำให้ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อมองจากโลก คือปรากฏด้วยขนาดเชิงมุมราว 0.5 องศา
 
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็น[[วงรี]]เช่นเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่คงที่<ref>{{cite web |title=Solar Eclipses |publisher=University of Tennessee |url=http://csep10.phys.utk.edu/astr161/lect/time/eclipses.html }}</ref><ref>{{cite web |author=P. Tiedt |title=Types of Solar Eclipse |url=http://www.eclipse.za.net/html/eclipse_types.html}}</ref> อัตราส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ต่อดวงอาทิตย์ขณะเกิดคราสเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุริยุปราคาอาจเป็นชนิดใด ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด (perigee) อาจทำให้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอที่จะบดบังผิวสว่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า[[โฟโตสเฟียร์]]ได้ทั้งหมด ตัวเลขอัตราส่วนนี้จึงมากกว่า 1 แต่ในทางกลับกัน หากเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุด (apogee) คราสครั้งนั้นอาจเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ อัตราส่วนนี้จึงมีค่าน้อยกว่า 1 สุริยุปราคาวงแหวนเกิดได้บ่อยกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด
 
== การพยากรณ์สุริยุปราคา ==
=== รูปแบบ ===
[[ไฟล์:Solar eclipse.svg|thumb|150px|แผนภาพแสดงการเกิดสุริยุปราคา (ภาพไม่เป็นไปตามมาตราส่วน)]]
 
แผนภาพทางขวาแสดงให้เห็นการเรียงตัวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก ระหว่างการเกิดสุริยุปราคา บริเวณสีเทาเข้มใต้ดวงจันทร์คือเขตเงามืด ซึ่งดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังไปทั้งดวง บริเวณเล็ก ๆ ที่เงามืดทาบกับผิวโลกคือจุดที่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ บริเวณสีเทาอ่อนที่กว้างกว่าคือเขตเงามัว ซึ่งจะสังเกตเห็นสุริยุปราคาบางส่วน
 
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงทำมุมประมาณ 5 องศา กับ[[สุริยวิถี|ระนาบวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์]] ด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่ดวงจันทร์โคจรมาที่ตำแหน่งจันทร์ดับ ส่วนใหญ่มันจะผ่านไปทางด้านเหนือหรือด้านใต้ของดวงอาทิตย์โดยเงาของดวงจันทร์ไม่สัมผัสผิวโลก จึงไม่เกิดสุริยุปราคา สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจันทร์ดับเกิดในช่วงที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่บริเวณใกล้[[จุดโหนด|จุดตัด]]ของระนาบวงโคจรทั้งสอง
 
วงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี ทำให้ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับโลกแปรผันได้ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์จากค่าเฉลี่ย เพราะฉะนั้น ขนาดปรากฏของดวงจันทร์จึงแปรผันไปตามระยะห่างซึ่งส่งผลต่อการเกิดสุริยุปราคา ขนาดเฉลี่ยของดวงจันทร์เมื่อมองจากโลกมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ทำให้สุริยุปราคาส่วนใหญ่เป็นแบบวงแหวน แต่หากในวันที่เกิดสุริยุปราคานั้น ดวงจันทร์โคจรมาอยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด ก็จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ส่วนวงโคจรของโลกก็เป็นวงรีเช่นกัน ระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกก็แปรผันไปในรอบปี แต่ส่งผลไม่มากนักต่อการเกิดสุริยุปราคา
 
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน เมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิงคงที่ เรียกว่า[[เดือนดาราคติ]] (sidereal month) แต่โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน ทำให้ระยะเวลาจากจันทร์เพ็ญถึงจันทร์เพ็ญอีกครั้งหนึ่งกินเวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 29.6 วัน เรียกว่า [[เดือนจันทรคติ]] (lunar month) หรือเดือนดิถี (synodic month)
 
การนับเวลาที่ดวงจันทร์โคจรผ่านจุดโหนดขึ้น (ascending node) ซึ่งเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่จากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นไปทางเหนือครบหนึ่งรอบก็เป็นการนับเดือนอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน เดือนแบบนี้สั้นกว่าแบบแรกเล็กน้อย เนื่องจากจุดโหนดเคลื่อนที่ถอยหลังโดยเกิดจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 18.6 ปี เรียกเดือนแบบนี้ว่า [[เดือนราหู]] (draconic month)
 
เดือนอีกแบบหนึ่งนับจากที่ดวงจันทร์โคจรผ่าน[[จุดปลายระยะทางโคจร|จุดใกล้โลกที่สุด]] 2 ครั้งติดกัน เรียกว่า [[เดือนจุดใกล้]] (anomalistic month) มีค่าไม่เท่ากับเดือนดาราคติ เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์ส่ายไปโดยรอบด้วยคาบประมาณ 9 ปี
 
=== ความถี่ ===
[[ไฟล์:IMG 1650 zonsverduistering Malta.JPG|thumb|250px|แสงอาทิตย์ที่ลอดผ่านช่องว่างระหว่างใบไม้ลงไปตกบนพื้นขณะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน]]
 
วงโคจรของดวงจันทร์ตัดกับสุริยวิถี 2 จุด ซึ่งห่างกัน 180 องศา ดังนั้น ดวงจันทร์ในวันจันทร์ดับจะอยู่บริเวณจุดนี้ปีละ 2 ช่วง ห่างกัน 6 เดือน ทำให้เกิดสุริยุปราคาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง บางครั้งเกิดจันทร์ดับ 2 ครั้งติดกันใกล้ ๆ กับจุดโหนด ส่งผลให้บางปีสามารถเกิดสุริยุปราคาได้มากถึง 5 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เงามืดของดวงจันทร์มักจะทอดเลยออกไปทางเหนือหรือใต้ของโลกโดยไม่สัมผัสผิวโลก จึงเกิดเป็นสุริยุปราคาบางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ เงามืดอาจสัมผัสผิวโลกในที่ห่างไกลบริเวณใกล้[[ขั้วโลก]]อย่าง[[อาร์กติก]]และ[[ทวีปแอนตาร์กติกา]] ซึ่งยากต่อการเดินทางไปสังเกตการณ์
 
=== ระยะเวลา ===
สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดในเวลาสั้นๆ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน ทำให้เงามืดที่ตกบริเวณโลกเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากตะวันตกไปตะวันออกในระยะเวลาสั้นๆ
 
หากสุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรอยู่ใกล้ตำแหน่ง perigee มากๆ จะทำให้สุริยุปราคาเต็มดวงสามารถสังเกตได้ในบริเวณกว้าง ประมาณ 250 กิโลเมตร และเวลาในการเกิดนั้นอาจนานประมาณ 7 นาที
 
สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดจากเงามัวของดวงจันทร์นั้นสามารถเกิดได้ในบริเวณกว้างกว่าสุริยุปราคาเต็มดวงมาก
 
== สุริยุปราคาในประวัติศาสตร์ ==
บันทึกในประวัติศาสตร์เล่าถึงสงครามกับปรากฏการณ์อุปราคาที่เลื่องลือที่สุด คือ เมื่อครั้งเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง [http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=-05840528 วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. -41] ท้องฟ้าสว่างไสวในตอนกลางวันกลายเป็นกลางคืนไปชั่วขณะหนึ่ง เป็นเหตุให้สงครามเปอร์เซียที่นานยืดเยื้อถึง 6 ปี ระหว่างชาวลิเดียกับชาวเมเดสยุติลงได้ด้วยการเจรจาสันติภาพ และผูกสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานกัน 2 คู่ ทั้งนี้ด้วยความยำเกรงในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงอิทธิฤทธิ์ในบัดดล ในครั้งนั้นเทลิส (Thales) นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีกได้ทำนายการเกิดสุริยุปราคาไว้ก่อนแล้ว แต่ทั้งสองชนชาติอาจไม่รู้ถึงการทำนายนั้น
 
พระเจ้าหลุยส์ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนยุโรปครั้งนั้น ถึงกับพิศวงงงงวยกับปรากฏการณ์ฟากฟ้าที่ดวงอาทิตย์มืดหมดดวงนานถึง 5 นาที ในวันที่ [http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=08400505 5 พฤษภาคม พ.ศ. 1383] แล้วพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ เล่ากันว่าคงเป็นเพราะความตกใจ หลังจากนั้นเกิดศึกแย่งชิงบัลลังก์ยาวนานถึง 3 ปี มายุติลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพ (Treaty of Verdun) ซึ่งแบ่งยุโรปออกเป็นดินแดน 3 ประเทศ ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี
 
{{โครงส่วน}}
 
== การสังเกตสุริยุปราคา ==
[[ไฟล์:Solar eclipse animate (2009-Jul-22).gif|thumb|250px|ภาพจำลองแสดงการเคลื่อนที่ของเงาดวงจันทร์ขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ [[22 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2552]] เห็นได้ในเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก ตรงกลางคือเงามืด ที่ใหญ่กว่าคือเงามัว]]
 
การมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าไม่ว่าจะมองในเวลาใดก็ตามส่งผลเสียต่อ[[ดวงตา]] แม้แต่มองดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคา แต่สุริยุปราคาก็เป็น[[ปรากฏการณ์ธรรมชาติ]]ที่น่าสนใจและศึกษาอย่างมาก การใช้อุปกรณ์ช่วยในการมอง เช่น[[กล้องสองตา]]หรือ[[กล้องโทรทรรศน์]] ก็ยิ่งทำให้เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นไปอีก
 
ดังนั้นการดูดวงอาทิตย์จึงต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยกรอง[[รังสี]]บางชนิดที่จะเข้าสู่ดวงตา การใช้แว่นกันแดดในการมองเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถป้องกันสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่มองไม่เห็นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเรตินาได้ การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดูดวงอาทิตย์ได้ตรง ๆ
 
การสังเกตที่ปลอดภัยมากที่สุด คือการฉายแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านอุปกรณ์อื่น เช่น กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ แล้วใช้กระดาษสีขาวมารองรับแสงนั้น จากนั้นมองภาพจากกระดาษที่รับแสง แต่การทำเช่นนี้ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครมองผ่านอุปกรณ์นั้นโดยตรง ไม่เช่นนั้นจะทำอันตรายต่อดวงตาของคนนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้ามีเด็กอยู่บริเวณนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
 
อย่างไรก็ตาม สามารถดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรงได้เฉพาะในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว สุริยุปราคาเต็มดวงยังสวยงามอีกด้วย ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจะเห็นบรรยากาศชั้น[[คอโรนา]]แผ่ไปรอบดวงอาทิตย์ บางครั้งอาจเห็น[[โครโมสเฟียร์]] (chromosphere) และ[[เปลวสุริยะ]] (prominence) ที่พุ่งออกมาจากขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ควรหยุดดูดวงอาทิตย์ก่อนที่จะสิ้นสุดสุริยุปราคาเต็มดวงเล็กน้อย
 
=== ประโยชน์ของการสังเกตสุริยุปราคา ===
นักดาราศาสตร์ใช้การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในการสังเกตบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะถูกแสงที่สว่างจ้าของบรรยากาศชั้น[[โฟโตสเฟียร์]]กลบจนไม่สามารถมองเห็นได้
 
สุริยุปราคามีระยะเวลา หรือวงรอบของการเกิดที่แน่นอน ทำให้สามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปได้โดยการคำนวณอย่างง่ายๆจากความเร็วในการเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ เปรียบเทียบตำแหน่งกับการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก
 
== สุริยุปราคาในประเทศไทย ==
 
{{บทความหลัก|สุริยุปราคาในประเทศไทย}}
 
'''จากบันทึกในประวัติศาสตร์'''
 
[[อาณาจักรอยุธยา]]
มีบันทึกการสังเกตสุริยุปราคาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตอนสายของวันที่ 30 เมษายน 2231 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่แนวคราสมืดไม่ได้พาดผ่านสยามประเทศ จึงสังเกตเห็นเป็นชนิดบางส่วน
 
กรุงรัตนโกสินทร์
* ครั้งที่ 1 เกิด[[สุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411]] ตรงตามเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณไว้ ที่ตำบล[[หว้ากอ]][[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
* ครั้งที่ 2 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2418]] โดยเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่เห็นได้ใน[[กรุงเทพมหานคร]]นับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยกินหมดดวงเวลา 14:31:29 น. - 14:35:21 น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทยในปัจจุบัน แต่เส้นกึ่งกลางคราสไม่ผ่านกรุงเทพฯ<ref>[http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=18750406 Total Solar Eclipse of 1875 April 06]</ref>
* ครั้งที่ 3 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2472]] เห็นได้ที่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส <ref>[http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle1901/SE1929May09Tgoogle.html Total Solar Eclipse of 1929 May 09]</ref> โดย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จไปทอดพระเนตรที่[[จังหวัดปัตตานี]] โดยมีคณะนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศขนอุปกรณ์มาศึกษาสุริยุปราคาด้วย แต่หลังจากนั้นก็มีการประดิษฐ์เครื่องมือศึกษาดวงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องพึ่งสุริยุปราคาอีก
* ครั้งที่ 4 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในหลายจังหวัด เมื่อวันที่ [[20 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่สองที่เห็นได้ในกรุงเทพ
* ครั้งที่ 5 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในเขต 11 จังหวัด ได้แก่ [[จังหวัดตาก]] [[จังหวัดกำแพงเพชร]] [[จังหวัดอุทัยธานี]] [[จังหวัดนครสวรรค์]] [[จังหวัดลพบุรี]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[จังหวัดสระแก้ว]] [[จังหวัดพิจิตร]] และ [[จังหวัดชัยภูมิ]] เมื่อวันที่ [[24 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]]<ref>[http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle1951/SE1995Oct24Tgoogle.html Total Solar Eclipse of 1995 Oct 24]</ref>
 
'''การตรวจสอบด้วยคณิตกรณ์'''
 
[[อาณาจักรอยุธยา]] ระหว่าง พ.ศ. 1893-2310 ใช้เวลาถึง 417 ควรมีสุริยุปราคาครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าแบบบางส่วน แบบวงแหวน แบบเต็มดวง และแบบผสม หลายครั้งแนวคราสก็พาดผ่านเข้ามาในเขตสยาม แต่หากเจาะจงเฉพาะเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ความน่าจะเป็นที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่าน มีอย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพราะโดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 360 ปีถึงจะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงในจุดเดิมอีกครั้ง แต่จากการตรวจสอบด้วยคณิตกรณ์ มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่แนวคราสพาดผ่านเกาะเมืองอยุธยาถึง 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แต่กลับไม่มีในบันทึกประวัติศาสตร์เลยสักครั้ง
* ครั้งที่ 1 วันที่ [http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=15680921 21 กันยายน พ.ศ. 2111] แนวคราสกว้างครอบคลุมถึงบางกอก และยังเฉียดไปใกล้กับหงส์สาวดี
* ครั้งที่ 2 วันที่ [http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=16430320 20 มีนาคม พ.ศ. 2186]
* ครั้งที่ 3 วันที่ [http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.php?Ecl=17420603 3 มิถุนายน พ.ศ. 2285]ตอนเช้าตรู่
 
* ส่วนสุริยุปราคาเต็มดวง ที่จะเห็นในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิดในวันที่ [[11 เมษายน]] [[พ.ศ. 2613]] ที่[[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]]
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[อุปราคา]]
* [[จันทรุปราคา]]
* [[ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์]]
 
== อ้างอิง ==
* Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China: Volume 3. Taipei: Caves Books, Ltd.
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Solar_eclipse}}
* [http://thaiastro.nectec.or.th สมาคมดาราศาสตร์ไทย]
* [http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2009eclipses.html อุปราคาในปี 2552] ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
* [http://www.bareket-astro.com/eclipse/Camera2.html ลำดับเวลาการเกิดสุริยุปราคา] {{en icon}}
* [http://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/ โฮมเพจสุริยุปราคาขององค์การนาซา] {{en icon}}
* [http://xjubier.free.fr/en/site_pages/solar_eclipses/5MCSE/xSE_Five_Millennium_Canon.html การเกิดสุริยุปราคา 11,898 ครั้ง ในอดีตตลอดช่วง 5,000 ปี พร้อมแผนภาพแบบ interactive] {{en icon}}
* [http://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/SEhelp/safety.html วิธีดูสุริยุปราคาให้ปลอดภัย (ต่อดวงตา)] โดย F. Espenak ([[ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด]], [[องค์การนาซา]])
 
[[หมวดหมู่:อุปราคา]]
[[หมวดหมู่:สุริยุปราคา]]
[[หมวดหมู่:ดวงอาทิตย์]]
 
{{Link FA|en}}
{{Link FA|pt}}