ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรช์ซทัก[[ไฟล์:Verboten Zeitung 1933.jpg|thumb|right|250px|ประกาศของตำรวจอันเป็นผลมาจากกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรช์สทักไรช์ซทัก]]
'''คำสั่งประธานาธิบดีไรช์ว่าด้วยการป้องกันประชาชนและรัฐ''' หรือรู้จักกันในชื่อ '''กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรช์สทักไรช์ซทัก''' ({{lang-de|Reichstagsbrandverordnung}}) เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่[[พอล ฟอน ฮินเดนบูร์ก]] ประธานาธิบดีเยอรมนี ออกเพื่อตอบโต้[[เหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทักไรช์ซทัก]] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 มีเนื้อหาสาระเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของพลเมืองเยอรมันอย่างมาก [[พรรคนาซี]]ยืมมือประธานาธิบดีออกคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยเสียงข้างมากในรัฐสภาที่พรรคครองอยู่ เพื่อจับกุมผู้ต่อต้านพรรคและระงับสิ่งตีพิมพ์ที่เห็นว่าเป็นภัยต่อตน นักประวัติศาสตร์มองว่าการออกคำสั่งฉบับนี้เป็นการเตรียมสร้างรัฐเผด็จการของพรรคนาซีในกาลอนาคต
 
== ภูมิหลัง ==
ก่อนเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สไรช์ซทักสี่สัปดาห์ [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]แห่ง[[พรรคนาซี]]ได้รับเลือกให้เป็น[[นายกรัฐมนตรีเยอรมนี]] และได้รับเชิญจากประธานาธิบดีพอลให้เป็นผู้นำคณะรัฐบาลผสมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 รัฐบาลของฮิตเลอร์ได้สนับสนุนให้ประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กสั่ง[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร|ยุบสภา]]ไรช์สทักไรช์ซทัก และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 5 มีนาคม ปีเดียวกันนั้น
 
ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ หกวันก่อนหน้าการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป รัฐสภาไรช์สไรช์ซทักได้เกิดเพลิงไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุแม้จนบัดนี้ แต่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีใช้เป็นเหตุสร้างฐานอำนาจของตนให้มั่นคงยิ่งขึ้น โดยกล่าวหา[[คอมมิวนิสต์|ผู้นิยมคอมมิวนิสต์]]ว่าก่อความไม่สงบจนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้รัฐสภา ส่งผลให้พลเมืองเยอรมันหลายล้านคนเกิดความหวาดหวั่นต่อคอมมิสนิสต์ เนื่องจากทางการประกาศว่า
 
<blockquote>
"การวางเพลิงรัฐสภาไรช์สไรช์ซทักเป็นความมุ่งหมายที่จะส่งสัญญาณว่าจะเกิดการก่อการจลาจลนองเลือดและ[[สงครามกลางเมือง]] มีการวางแผนการปล้มสะดมอย่างกว้างขวางในกรุงเบอร์ลิน...มีการกำหนดให้มี...ตลอดทั่วเยอรมนีซึ่งการก่อการร้ายต่อบุคคลสำคัญ ต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล ต่อชีวิตและความปลอดภัยของประชากรอันสงบเรียบร้อย และจะได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองอยู่ทั่วไป..."</blockquote>
 
หลังเพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สไรช์ซทักหนึ่งวัน [[แฮร์มันน์ เกอริง]]ได้อภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ และมีการร่าง "คำสั่งประธานาธิบดีไรช์ว่าด้วยการป้องกันประชาชนและรัฐ" เสนอต่อคณะรัฐมนตรีไรช์ ซึ่งตัวฮิตเลอร์เองกล่าวว่า เหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนี้นำไปสู่ "การเผชิญหน้ากับ[[พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน]]อย่างไม่ลดละ" จากนั้นไม่นาน พอล ฟอน ฮินเดนบูร์ก วัย 84 ปีและมี[[ภาวะสมองเสื่อม]] ก็ลงนามในคำสั่งฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่อนุญาตให้ประธานาธิบดีเยอรมนีดำเนินมาตรการใด ๆ ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องปัดภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ
 
คำสั่งฉบับดังกล่าวประกอบด้วยความ 6 ข้อ ข้อ 1 มีเนื้อหาสาระเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของพลเมืองที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ได้แก่ [[สิทธิพลเมือง]] [[เสรีภาพในการแสดงออก]] [[เสรีภาพของสื่อ]] [[เสรีภาพในการชุมนุม]]และการรวมกลุ่มสาธารณะ ตลอดจนจำกัดความคุ้มครองความลับในไปรษณียภัณฑ์และการติดต่อสื่อสาร รวมถึงสิทธิในการป้องกันทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย ส่วนข้อ 2 และข้อ 3 เป็นการให้รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งหมดแทน ข้อ 4 และข้อ 5 เป็นการวางบทลงโทษสำหรับการละเมิดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ เช่น [[โทษประหารชีวิต]]สำหรับ[[การลอบวางเพลิง]]อาคารสาธารณะ