ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวางผาจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางมาที่กวางผา ด้วยสจห.
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
บรรทัด 1:
{{Taxobox
#REDIRECT| name = [[กวางผา]]จีน
| status = vu
| status_system = IUCN3.1
| image = Central Chinese Goral.jpg
| status_ref = <ref name=iucn>{{IUCN2008 | assessors = Duckworth JW, Steinmetz R & Rattanawat Chaiyarat | year = 2008 | title = Naemorhedus caudatus | id = 14303 | downloaded = 2009-01-22}}</ref>
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordata]]
| classis = [[Mammal]]ia
| ordo = [[Artiodactyla]]
| familia = [[Bovidae]]
| subfamilia = [[Caprinae]]
| genus = ''[[Naemorhedus]]''
| species = '''''N. gariseus'''''
| binomial = ''Naemorhedus griseus''
| binomial_authority = [[Milne-Edwards]], [[ค.ศ. 1871|1871]]
| synonyms = {{hidden begin|title=ชื่อพ้อง}}
* ''Naemorhedus goral'' <small>(Hardwicke, [[ค.ศ. 1825|1825]]) </small>
* ''Antilope caudata'' <small>Milne–Edwards, [[ค.ศ. 1867|1867]] </small>
* ''Antilope cinerea'' <small>Milne–Edwards, [[ค.ศ. 1874|1874]] </small>
{{hidden end}}
}}
'''กวางผาจีน''' หรือ '''กวางผาจีนถิ่นใต้'''<ref name="ราช">[http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/090/27.PDF ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามราชกิจจานุเบกษา] จากราชกิจจานุเบกษา. สืบค้น 18 ตุลาคม 2556</ref> ({{lang-en|Chinese goral, South China gorai<ref name="ราช"/>}}) เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]จำพวก[[สัตว์กีบคู่]]ชนิดหนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Naemorhaedus griseus'' อยู่ในวงศ์ [[Bovidae]]
 
== ลักษณะ ==
มีรูปร่างหน้าตาคล้าย[[แพะ]] มีหูยาว ขนตามลำตัวหยาบและหนามี[[สีเทา]]หรือน้ำตาลเทา มีแถบ[[สีดำ]]พาดอยู่กลางหลัง ตัวเมียจะมีสีขนอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณลำคอด้านในมีขนสีอ่อน ริมฝีปากและรอบ ๆ ตา[[สีขาว]] เขาสั้นมีสีดำ กวางผาตัวผู้จะมีเขาที่หนาและยาวกว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 82-120 เซนติเมตร ความยาวหาง 7.5-20 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 22-32 กิโลกรัม ผสมพันธุ์ในเดือน[[ตุลาคม]]-[[ธันวาคม]] ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้องสั้นและสูงเป็นสัญญานเตือนภัยถึงตัวอื่น ๆ ในฝูง มักออกหากินตาม[[ทุ่งหญ้า]]โล่งในเวลาก่อน[[พระอาทิตย์]]ตกดินจนถึงเวลาเช้าตรู่ จะกินหญ้า ยอดอ่อนของใบไม้ รากไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวก[[ก่อ]]เป็นอาหารหลัก สามารถว่ายน้ำได้ดีเหมือน[[เลียงผา]] และเคยมีรายงานว่า เคยลงมากิน[[น้ำ]]และว่ายข้าม[[แม่น้ำ]] มีอายุเต็มที่ 11 ปี <ref>หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน ([[กรุงเทพมหานคร]] [[พ.ศ. 2543]]) โดย [[กองทุนสัตว์ป่าโลก]] ISBN 974-87081-5-2 </ref> <ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=ลดา รุธิรกนก
|ชื่อหนังสือ=หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
|URL=
|จังหวัด=กรุงเทพฯ
|พิมพ์ที่=กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย
|ปี=2543
|ISBN=978-9749-906-651
|จำนวนหน้า=256
}}
</ref>
 
== การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย ==
มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตะวันออกของ[[รัฐสิกขิม]]และ[[รัฐอัสสัม]]ของ[[อินเดีย]] ภาคกลางและภาคใต้ของ[[จีน]] [[พม่า]] [[ภาคเหนือ]]ของ[[ไทย]]และ[[ลาว]]
 
มักอาศัยและหากินรวมกันเป็นฝูงตามทุ่ง[[หญ้า]]บน[[ภูเขา]]และชะง่อนผาบนเทือกเขาสูง ที่มีความสูงจาก[[ระดับน้ำทะเล]]ตั้งแต่ 1,000-4,000 เมตร ฝูง ๆ หนึ่งจะมีสมาชิกประมาณ 4-12 ตัว
 
== การอนุรักษ์ ==
สถานภาพของกวางผาจีน ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว ในประเทศไทย เป็น[[สัตว์ป่าสงวน]]ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] ปัจจุบัน พบว่ามีเหลืออยู่เพียงที่[[ดอยม่อนจอง]] ใน[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย]] [[อำเภออมก๋อย]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] และ [[อำเภอสามเงา]] [[จังหวัดตาก]] มีชื่อเรียกของคนในท้องถิ่นว่า '''ม้าเทวดา''' เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ลึกลับ หายากมาก และเมื่อพบเห็นตัวก็จะหลบหนีไปด้วยความรวดเร็ว
 
==หมายเหตุ==
อนึ่ง กวางผาที่พบในประเทศไทยนั้นเดิมเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''[[Naemorhedus caudatus]]'' ซึ่งเป็นกวางผาชนิดที่พบได้ไกลถึง[[เอเชียตะวันออก]]เช่น จีน, [[ญี่ปุ่น]] และ[[คาบสมุทรเกาหลี]] รวมถึงบางส่วนใน[[ไซบีเรีย]]ด้วย ต่อมาเมื่อมีการระบุ[[สปีชีส์|ชนิด]]เพื่อออกชื่อในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้เปลี่ยนไปเป็น ''N. griseus'' หรือกวางผาจีน ซึ่งพบได้ในจีนตอนใต้, [[พม่า]], [[อินโดจีน]]<ref>[http://www.tourresorthotel.com/siteproduct/product-detail.php?product_id=532 กวางผา <small>ม้าเทวดาแห่งหุบผาป่าดอยม่อนจอง]</small></ref>
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Naemorhedus griseus|''Naemorhedus griseus''}}
 
== รายการอ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
{{สัตว์ป่าสงวนของไทย}}
 
 
[[หมวดหมู่:วงศ์ย่อยแกะและแพะ]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าสงวน]]
[[en:Naemorhedus griseus]]