ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญชูผู้น่ารัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
| screenplay = บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
| narrator =
| starring = [[สันติสุข พรหมศิริ]] </br>[[จินตหรา สุขพัฒน์]] </br>[[นิรุตต์ ศิริจรรยา]] </br>[[ญาณี จงวิสุทธิ์]] </br>[[วัชระ ปานเอี่ยม]] </br>[[เกียรติ กิจเจริญ]] </br>[[โรม อิศรา]] </br>[[กฤษณ์ ศุกระมงคล]] </br>[[อรุณ ภาวิไล]] </br>[[ชัยชนะ สันทัตกิจการ]] </br>[[เผ่าทอง ทองเจือ]]</br>[[ทวีเกียรติ เสียงศริ]]ศิริ</br>[[อิศ อิสรา]]</br>[[กชกร เทือกสุบรรณ</br>ชุติมา สวนสมุทร</br>[[จุรี โอศิริ]]</br>[[ชุติมากัญญาลักษณ์ สวนสมุทรบำรุงรักษ์]]
| music = [[จรัล มโนเพ็ชร]] และ [[ดำรงค์ ธรรมพิทักษ์]]
| cinematography = พิพัฒน์ พยัคฆะ
บรรทัด 33:
== โครงเรื่อง ==
 
บุญชู บ้านโข้ง เป็นหนุ่มสุพรรณแสนซื่อที่เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย ตามความหวังของแม่ โดยมาพักอยู่กับพี่ชายชื่อบุญช่วย ซึ่งทำกิจการท่าเรือข้ามฟากอยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยา บุญชูได้พบเพื่อนๆจากสถานที่เรียนกวดวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ สอบเข้าติดทุกปีแต่ไม่ได้คณะที่ต้องการ, หยอย (ยงยุทธ) เป็นคน[[กรุงเทพฯ]] ที่บ้านหยอยทำขนม[[ทองหยิบ]] [[ทองหยอด]] [[ฝอยทอง]] ขาย, คำมูล เป็นคน[[อุบลราชธานี]] ชอบกินปลากระป๋อง, นรา เป็นคนหาดใหญ่ ชอบพูดเร็ว, เฉื่อย (มั่นคง) เป็นคน[[เชียงใหม่]] มีนิสัยพูดช้า ทุกคนสนิทกันจนไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ และยังได้รู้จักกับโมลี สาวน้อยน่ารักคนกรุงเทพฯ ที่บุญชูแอบชอบตั้งแต่แรกเห็น โมลีมีแฟนอยู่แล้วแต่บุญชูก็ยังแอบชอบและหวังว่าโมลีจะหันมาหาเขาบ้าง
 
นอกจากบุญชูแล้ว โต้ง เจ้าของกิจการขายชีทแบบฝึกหักหน้าโรงเรียนกวดวิชาที่บุญชูเรียนอยู่ก็แอบชอบโมลีเหมือนกัน โต้งเป็นพวกคนพาลเป็นคนมีเงินและมีพรรคพวกเป็นนักเลงมากมายจึงวางแผนสร้างสถานการณ์นักเลงทะเลาะกับเงินตรา แฟนของโมลี ส่วนโต้งจะทำทีเข้าไปช่วย แต่พวกบุญชูอยู่ที่นั่นด้วยจึงตามไปมีเรื่องกับนักเลงเหล่านั้นจนเรื่องบานปลายทำให้แผนของโต้งพังทำให้โต้งและพวกยิ่งเกลียดบุญชูเข้าไปอีก ทั้งๆที่บุญชูทำไปด้วยความประสงค์ดีตามประสาหนุ่มบ้านนอก ในภายหลังโต้งจึงวางแผนฉุดโมลีและแกล้งทำเป็นว่าบุญชูเป็นคนทำ ป้ายความผิดไปให้บุญชู บุญชูและพรรคพวกจึงต้องลุยเข้าไปหาที่ๆโมลีถูกขังไว้และช่วยออกมาได้ แต่สุดท้ายก็เป็นเงินตราที่สามารถเข้ามาช่วยคุณโมไว้ได้ก่อนบุญชู กอปรกับบุญชูยังสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้จึงคิดจะบ่ายหน้ากลับสุพรรณ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้บุญชูได้อุทาหรณ์จากการเข้ามาอยู่เมืองกรุงซึ่งแตกต่างจากความเรียบง่ายตามแบบชนบทบ้านเกิดของเขา