ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จื๋อโนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 8:
ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500 ชาวเวียดนามปรับปรุงอักษรจีนใช้เขียนภาษาของตน เรียกว่าอักษรจื๋อโนมหรืออักษรใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของอักษรนี้คือจารึกโลหะที่เจดีย์เบ๋าอัน (Bao An) ในเยนลัง (Yen Lang) จังหวัดวิญฝู (Vinh Phu) อายุราว พ.ศ. 1752 ในช่วง พ.ศ. 1800 อักษรนี้ได้เริ่มมีการนำมาใช้ทางวรรณคดี นักเขียนชาวเวียดนามที่มีชื่อเสียงหลายคนเขียนงานของตนด้วยอักษรจื๋อโนม เช่น กวี เหงียน เทียน (Nguyen Thuyen) และเหงียน สีโก (Nguyen Si Co; พ.ศ. 1900) เหงียนจ๊าย (Nguyen Trai; พ.ศ. 2000) โห่กุ๋ยลี (HoQuy Ly; พ.ศ. 1900) ผู้แปลภาษาจีนเป็นภาษาเวียดนามและเขียนประกาศของทางราชการ
 
เมื่อมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาถึงเวียดนามเมื่อประมาณ พ.ศ. 2200 พวกเขาได้คิดค้นการเขียนภาษาเวียดนามด้วย[[อักษรละติน]] เรียก '''โกว้กหงือ''' ใช้ในหนังสือสวดมนต์และหนังสือทางศาสนา ฯลฯ อักษรนี้มีผู้ประดิษฐ์หลายคน แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ อเล็กซองดร์ เดอ โรดซ์ (Alexandre de Rhodes) มิชชันนารีคณะ[[นิกายเยซูอิต]] [[ชาวฝรั่งเศส]] และต่อมาเริ่มมีการสอนอักษรโกว้กหงือ ในโรงเรียนต่างๆ ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2300 เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในอีก 200 ปีต่อมา ปัจจุบัน ภาษาเวียดนามเขียนด้วยอักษรโกว้ก หงือ เพียงอย่างเดียว ส่วน อักษรจื๋อโนมใช้ในทางวิชาการเท่านั้น
อักษรจื๋อโนมเป็นรูปแบบผสมของ[[อักษรจีน]]มาตรฐานกับสัญลักษณ์ที่ใช้เฉพาะภาษาเวียดนาม (อักษรจีนหลายตัวที่ถูกดัดแปลงไม่มีความหมายในภาษาจีน) ในการนำอักษรจีนมาใช้ ผู้ประดิษฐ์จื๋อโนมยืมคำจีนมาเป็นจำนวนมากและปรับให้เป็นการออกเสียงของภาษาเวียดนาม ทำให้มี 2 คำสำหรับสิ่งเดียวกันคือ คำ จีน-เวียดนาม กับ คำที่มีต้นกำเนิดในภาษาเวียดนาม สัญลักษณ์ใหม่จะรวมสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายและแสดงการออกเสียงในภาษาเวียดนาม