ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราจักรแอนดรอเมดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
deadlink fixed
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Andromeda Galaxy (with h-alpha).jpg|thumb|ดาราจักรแอนดรอเมมิดา]]
 
'''ดาราจักรแอนดรอเมมิดา''' ({{lang-en|Andromeda Galaxy}}; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ '''[[วัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์|เมสสิเยร์]] 31''' '''เอ็ม 31''' หรือ '''เอ็นจีซี 224''' บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า '''เนบิวลาแอนดรอเมมิดาใหญ่''') เป็น[[ดาราจักรชนิดก้นหอย]] ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้าน[[ปีแสง]]<ref>I. Ribas, C. Jordi, F. Vilardell, E.L. Fitzpatrick, R.W. Hilditch, F. Edward (2005). [http://adsabs.harvard.edu/abs/2005ApJ...635L..37R "First Determination of the Distance and Fundamental Properties of an Eclipsing Binary in the Andromeda Galaxy"]. ''Astrophysical Journal'' '''635''': L37-L40. doi:[http://dx.doi.org/10.1086%2F499161 10.1086/499161].</ref> อยู่ใน[[กลุ่มดาวแอนดรอเมมิดา]] ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับ[[ดาราจักรทางช้างเผือก]]ของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า
 
ดาราจักรแอนดรอเมมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดใน[[กลุ่มดาราจักรท้องถิ่น]] ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอเมมิดา [[ดาราจักรทางช้างเผือก]] [[ดาราจักรสามเหลี่ยม]] และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอเมมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมี[[สสารมืด]]มากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม<ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/4679220.stm "Dark matter comes out of the cold"], BBC News, 5 กุมภาพันธ์ 2006.</ref> ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดย[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์]]เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา<ref>Young, Kelly (2006-06-06). [http://www.newscientistspace.com/article/dn9282-andromeda-galaxy-hosts-a-trillion-stars.html Andromeda galaxy hosts a trillion stars (English)]. NewScientistSpace.</ref> ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมีดา คือประมาณ 7.1{{e|11}} เท่าของมวล[[ดวงอาทิตย์]]<ref>Karachentsev, I. D.; Kashibadze, O. G. (2006). [http://adsabs.harvard.edu/cgi-bin/nph-bib_query?bibcode=2006Ap.....49....3K "Masses of the local group and of the M81 group estimated from distortions in the local velocity field"]. Astrophysics 49 (1) : 3–18. doi:[http://dx.doi.org/10.1007%2Fs10511-006-0002-6 10.1007/s10511-006-0002-6].</ref>
 
ดาราจักรแอนดรอเมมิดามี[[ความส่องสว่างปรากฏ|ระดับความสว่าง]]ที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็น[[วัตถุเมสสิเยร์]]ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง<ref>Frommert, H.; Kronberg, C. (22 สิงหาคม 2007). [http://web.archive.org/web/20070712184703/http://seds.lpl.arizona.edu/messier/dataMag.html Messier Object Data, sorted by Apparent Visual Magnitude]. SEDS.</ref> และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้[[กล้องโทรทรรศน์]]ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของ[[ดวงจันทร์]]เต็มดวงทีเดียว
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย}}
[[หมวดหมู่:ดาราจักรแอนดรอเมมิดา]]
[[หมวดหมู่:กลุ่มท้องถิ่น]]
{{โครงดาราศาสตร์}}