ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Holdtwofingers (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 24:
ผลงานชิ้นแรกๆ ที่ทำให้มาริเนตติเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คือ "คำแถลงการณ์ฟิวเจอริสม์" (Manifeste de fondation du Futurisme) ตีพิมพ์บนหนังสือพิมพ์รายวัน "เลอ ฟิกาโร" (Le Figaro) ของ[[ฝรั่งเศส]] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1909 โดยแถลงการณ์นั้นได้แสดงถึงความไม่พอใจต่อรูปแบบทางการเมืองและศิลปะแบบเก่าๆ โดยแนวคิดแบบฟิวเจอริสม์นั้นให้คุณค่าและชื่นชมใน[[เทคโนโลยี]] เครื่องยนต์ และความเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งในทัศนะของเขา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแทนแห่งชัยชนะทางด้านเทคโนโลยีของมนุษย์ที่มีเหนือธรรมชาติ
 
ในปี 1912 มาริเนตติไ้ด้ตีพิมพ์เนตติได้ตีพิมพ์ "แถลงการณ์ว่าด้วยวิธีการประพันธ์แนวฟิวเจอริสม์" (Manifesto tecnico della letteratura Futurista) ซึ่งว่าด้วยวิธีการเขียนบทกวีและการประพันธ์ร้อยแก้วแบบร่วมสมัยด้วยการยกเลิกการใช้[[วากยสัมพันธ์]] คำคุณศัพท์ และ[[คำวิเศษณ์]] แล้วแทนที่ด้วยการใช้[[คำนาม]]แบบสุ่มขึ้นมา อีกทั้งยังใช้[[คำกริยา]]ที่ไม่ผันตามประธาน (infinitive) และบอกเวลาของการกระทำนั้นๆ (tense) โดยวิธีการนี้เรียกว่า "ถ้อยคำในอิสรภาพ" (parole in libertà) เป็นการเขียนบทกวีที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ ตัวอย่างบทกวีภาพของมาริเนตติ เช่น "Une assemblée tumultueuse. Sensibilité numérique" และ "Zang Tumb Tumb" เป็นต้น
 
 
=='''อิทธิพลของมาริเนตติ'''==
แนวคิดฟิวเจอริสม์ของมาิริเนตตินั้นฟิวเจอริสม์ของมาริเนตตินั้น ได้กลายมาเป็นที่ยอมรับของศิลปินอิตาลีรุ่นใหม่ เช่น [[อุมแบร์โต บอชโชนี]], คาร์โร คารา, จีโน เซเวรินี โดยพวกเขาได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เกี่ยวกับจิตรกรฟิวเจอริสม์ (Manifesto dei pittori futurist) ในปี 1910 พร้อมกันนั้นในช่วงระหว่างปี 1910 - 1913 มาริเนตติยังได้มีโอกาสเดินทางไปบรรยายแนวคิดฟิวเจอริสม์ทั้งใน[[รัสเซีย]]และ[[อังกฤษ]] ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำงานของศิลปินในกระแสฟิวเจอริสม์ของทั้งสองประเทศในเวลาต่อมา เช่น รูปแบบศิลปะแบบคูโบ-ฟิวเจอริสม์ (Cubo-Futurism) ในรัสเซีย และกระแสแบบคติวัฏฏารมณ์ (Vorticism) ในอังกฤษ เป็นต้น
 
ในช่วง"สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" มาริเนตติถูกจับกุมในปี 1915 พร้อมกันนั้นเขายังได้ส่งเสริมให้ศิลปินในกระแสฟิวเจอริสม์สร้างสรรค์งานศิลปะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงคราม ตัวอย่างเช่น "Canon en action" ของจีโน เซเวรินี นอกจากนี้ บทกวีของมาริเนตติยังเป็นแรงบันดาลใจให้นักแต่งเพลงอย่าง ลุยจี รุสโซโล ได้เริ่มทดลองประพันธ์เพลงแนวใหม่ที่เรียกว่า "นอยส์มิวสิค" (noise music) พร้อมกับออกแถลงการณ์ " L'Arte dei Rumori" ในปี 1913 และตีพิมพ์ครั้งแรกโดยกลุ่มศิลปินดาด้า (Dada) ในปี 1916
บรรทัด 35:
 
=='''ความสัมพันธ์กับฟาสซิสม์'''==
ในระหว่างที่มาริเนตติถูกจับกุมนั้น เขาได้พบกับมุสโสลินีเป็นครั้งแรก ภายหลังจากได้อิสรภาพแล้ว เขาได้ก่อตั้งพรรคการเมืองฟิวเจอริสม์ (Partito Politico Futurista) ขึ้นในปี 1918 โดยสนับสนุนแนวคิดแบบ[[ชาตินิยม]] และต่อต้านแนวคิดแบบ[[ราชาธิปไตย]] ซึ่งมุสโสลินีได้ใ้ช้ใช้เป็นเครื่องมือและสนับสนุนตัวเขาให้ขึ้นสู่อำนาจในปี 1922 ในช่วงเวลานี้มาริเนตติพยายามสนับสนุนให้ศิลปะฟิวเจอริสม์ให้เป็นศิลปะของรัฐอย่างเป็นทางการ แต่ก็ประสบความล้มเหลว โดยมุสโสลินีนั้นให้การสนับสนุนศิลปะในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ศิลปินนั้นสนับสนุนแนวคิดทางการเมืองของเขาและยังคงทำงานให้กับรัฐ
 
=='''ผลงานของมาริเนตติ'''==
บรรทัด 56:
* [http://www.moma.org/collection/artist.php?artist_id=3771 Carlo Belloli, Bio notes, MoMA Collection]
 
{{โครงชีวประวัติ}}
 
[[หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 20]]
[[หมวดหมู่:นักเขียนชาวอิตาลี]]
[[หมวดหมู่:กวีชาวอิตาลี]]
{{โครงชีวประวัติ}}