ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 57:
-เป็นประธานกรรมการบริหาร สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
 
== ข่าว==
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์พันลึกขึ้นอีกแล้วสำหรับวงการพระสงฆ์ไทย เมื่อ “พระพายัพ เขมคุโณ” ซึ่งเดินทางไปบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ที่วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย ได้รับการแต่งตั้งจาก “สมเด็จพระธีรญาณมุนี” (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ให้เป็น “พระฐานานุกรม” ในตำแหน่ง “พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์” ทั้งๆ ที่เพิ่งบรรพชาอุปสมบทได้เพียงไม่กี่วันและมีกำหนดลาสิกขาในวันที่ 11 มี.ค.นี้
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในบรรณพิภพนี้
เพราะพระพายัพ เขมคุโณผู้นี้ มิใช่ใครอื่นหากคือ “นายพายัพ ชินวัตร” น้องชายสุดที่รักของ “นักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร” ผู้มีอำนาจสูงสุดในบ้านนี้เมืองนี้
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นมาในฉับพลันทันทีหลังปรากฏข่าวดังกล่าวก็คือ การแต่งตั้งให้พระพายัพดำรงตำแหน่ง พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์ ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของคณะสงฆ์ไทโดยการกำกับของมหาเถรสมาคม(มส.)หรือไม่
และ สมเด็จพระธีรญาณมุนี” (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส มีเหตุผลกลใดในการแต่งตั้งพระพายัพให้มาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ทั้งๆ ที่รู้ว่า เป็นการแต่งตั้งที่ไม่เหมาะสม
ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ บรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายแหล่ต่างพากันแสดงความคิดเห็นที่สามารถใช้คำว่า “เชลียร์” กันอย่างไม่อายต่อตำแหน่งหน้าที่ที่ตนเองดำรงอยู่เลยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมการศาสนา และพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์อย่าง “พระราชธรรมนิเทศ” หรือพระพยอม กัลยาโณ แห่งวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
ชั่วโมงนี้...สังคมไทย พุทธศาสนิกชนไทยคงไม่อาจปล่อยการแต่งตั้งครั้งนี้ไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ หรือ “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” ได้อีกต่อไป เพราะนี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์ไทย
ประเด็นแรกที่ต้องแสวงหาคำตอบร่วมกันก็คือ “สมเด็จพระธีรญาณมุนี” (สมชาย วรชาโย ) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส มีอำนาจในการแต่งตั้งหรือไม่ และทำไมถึงกล้าทำเช่นนั้น
ในความเป็นจริงแล้ว ต้องไม่ลืมว่า สมเด็จพระธีรญาณมุนี เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏแห่งคณะสงฆ์ไทย 1 ใน 8 รูปและเป็นรองเพียงแค่สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก แห่งวัดบวรนิเวศ ราชวรมหาวิหาร เท่านั้น(อ่านตางรางประกอบข่าว)
และต้องไม่ลืมว่า เจ้าประคุณสมเด็จแห่งวัดเทพศิรินทราวาสฯ ผู้นี้ ได้เปรียญธรรมถึง 8 ประโยค และสอบได้นักธรรมเอก
และต้องไม่ลืมว่า เจ้าประคุณสมเด็จแห่งวัดเทพศิรินทราวาสฯ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1-2-3-12 และ 13 (ธรรมยุต), กรรมการมหาเถรสมาคมและรองแม่กองธรรมสนามหลวง
ดังนั้น การแต่งตั้งพระพายัพให้เป็นพระฐานานุกรมจึงไม่ใช่ข้อผิดพลาด หากแต่เป็นสิ่งที่สมเด็จพระธีรญาณมุนีกระทำโดยเจตนา และที่สำคัญคือ เป็นสิทธิและอำนาจอันชอบธรรมที่เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนีสามารถทำได้
ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความจริงในข้อนี้
หลักฐานที่ชัดเจนคือ บัญชีรายนามพระสงฆ์ที่ขอรับพระราชทานสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 ซึ่งส่งผลทำให้ พระพรหมเมธี (สมชาย วรชาโย ป.ธ. 8) เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี ศรีชินทัตตวรางกูร วิบูลสีลาจารวิมลคณโสภณเลขาธิกร สุนทรปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสรบวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏมีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 10 รูป คือ
1.พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์ สัทธรรมปฏิภาณปริยัติโกศลวิมลญาณนายก ธรรมยุตติกดิลก ปิฎกธรรมรักขิต
2.พระครูวินัยธร
3.พระครูธรรมธร
4.พระครูธรรมภาณโกวิท พระครูคู่สวด
5.พระครูธรรมนิติสรภัญญ์ พระครูคู่สวด
6.พระครูบรรหารสมณกิจ พระครูรองคู่สวด
7.พระครูพิพิธธุรการ พระครูรองคู่สวด
8.พระครูสังฆวิสุทธิ์
9.พระครูสมุห์
และ 10.พระครูใบฎีกา
ทั้งนี้ จากรายชื่อดังกล่าวจะเห็นว่า พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์ที่พระพายัพได้รับการแต่งตั้งนั้น มีอาวุโสอยู่อันดับแรก เป็นพระฐานานุกรมที่ใหญ่ที่สุด โดยมีสิทธิพิเศษ 3 ประการคือ
1. ได้เงินเดือนที่เรียกว่านิตยภัตร ซึ่งมีจำนวนเงินไม่มากนักอยู่ที่หลักแค่ประมาณพันบาท แต่ต้องทำเรื่องยื่นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และคาดว่า พระพายัพคงไม่ได้รับเนื่องจากลาสิกขาบทก่อน
2.ปกติพระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ มีสิทธิยื่นขอเป็นพระราชคณะกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องไต่เต้าเป็นพระครูชั้นเอกหรือชั้นโท
3. ถ้ามีการทำพิธีสวดมนต์ จะนั่งหัวแถวเหนือพระเปรียญเก้า และพระครูต่างๆ (แต่ยังต้องต่อจากพระราชาคณะ) เพราะถือว่าฐานานุกรมของสมเด็จมีเกียรติสูง ได้รับความไว้วางใจจากพระผู้ใหญ่
นั่นแสดงว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนีให้ความสำคัญแก่พระพายัพเป็นอย่างมาก และมากเสียจนกระทั่งเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื่องเพราะการแต่งตั้งพระฐานานุกรมก็คือเพื่อให้มาช่วยปฏิบัติงานพระศาสนา ประหนึ่งเป็นพระเลขานุการโดยตรง ทำไมสมเด็จพระธีรญาณมุนีถึงตั้งพระพายัพที่จะว่าไปแล้วเป็นเพียงแค่พระนวกะ หรือพระบวชใหม่ แถมยังมีกำหนดการสึกล่วงหน้าเอาไว้อีกต่างหาก
จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า โครงการอุปสมบทที่มีพระพายัพ ชินวัตรเข้าร่วมด้วย เป็นโครงการที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนีจัดขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 โดยใช้ชื่อว่า “อุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” จัดขึ้นที่วัดป่าพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งมีข้าราชการ ทหาร ตำรวจ แพทย์ นักธุรกิจเกือบ 100 คนเข้าร่วม
งานนี้ สมเด็จพระธีรญาณมุนีเป็นประธานในพิธีโกนผมนาค และเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยตนเอง
และด้วยความที่มีผู้ประสงค์จะอุปสมบทเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ต้องมีการแบ่งออกเป็น 2 รุ่น โดยรุ่นแรกดำเนินการอุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้วและมีพระพายัพเป็นหนึ่งในนั้น ส่วนรุ่นที่ 2 จะจัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนเมษายน 2556 ที่จะถึงนี้
“การมาบวชที่อินเดียไม่ต่างจากการบวชที่ประเทศไทย แต่ที่อินเดียได้ปฏิบัติธรรมและตั้งภาวนาตามรอยพระบาทพระศาสดาและบูชาพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ได้แก่ พุทธคยา ลุมพินี พาราณสี และกุสินารา อยากให้ทุกคนทำความดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยอย่างจริงๆ จังๆ ไม่ใช่เพียงแค่พูด หากแต่ได้ลงมือปฏิบัติและทำตามที่พูด พระองค์จะได้มีความสุขและมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ เปรียบไปแล้วเหมือนทุกคนที่มีลูกก็อยากให้ลูกเป็นคนดี ถ้าลูกเราดี ผู้ที่เป็นพ่อเป็นแม่ก็มีความสุข ซึ่งการทำความดีทำอะไรก็ได้ที่เป็นความดี เช่น การรักบ้านรักเมือง รักสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ”สมเด็จพระธีรญาณมุนีกล่าวให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดของโครงการดังกล่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม นอกจากการอุปสมบทเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแล้ว ยังได้มีการถวายปัจจัยที่บรรดาญาติโยมร่วมกันบริจาคเพื่อสร้างอาคารที่พักถวายพระภิกษุ สามเณรที่มาเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยบีเอ็นเอช เมืองพาราณสี อินเดีย ในจำนวนมากกว่า 8 ล้านบาท อีกด้วย
และว่ากันว่า งานนี้ พระพายัพบริจาคปัจจัยสมทบเป็นจำนวนที่มากเอาการทีเดียว ส่วนจะเป็นเหตุผลทำให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมหรือไม่ ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ความจริงในข้อนี้
ทว่า ก็พอจะเห็นร่องรอยได้บ้างจากคำสัมภาษณ์ของพระพายัพซึ่งชี้แจงมาจากประเทศอินเดียว่า “การได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งพระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณาจารย์นั้น ก็คล้ายกับการรับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษที่สมเด็จพระธีรญาณมุนีท่านเห็นว่าอาตมาสร้างวัดมามาก ทำนุบำรุงศาสนาและปฏิบัติธรรมมาเยอะ ซึ่งเป็นความเสียสละเพื่อพระพุทธศาสนา ตำแหน่งดังกล่าวก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา อนุเคราะห์หมู่สงฆ์ต่อไป ดังนั้น จึงเป็นภาระตำแหน่งไม่ใช่ความยินดี ท่านก็มอบภาระนี้ให้อาตมาก็รับไว้ อย่างไรก็ตามวันที่ 23 ก.พ.นี้จะเดินทางกลับประเทศไทยเพราะมีเทศน์ที่สวนอัมพรร่วมกับพระพยอม”
และสอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของ พระครูพุทธบาล หรือ “หลวงพ่อจิ๋ว” (พระอาจารย์พนมศักดิ์ พุทธญาโณ) เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธคยา รัฐพิหาร ที่กล่าวถึงพระพายัพว่า “เขาไปทุ่มเทที่วัดป่าพุทธคยา เขาไม่ได้ทุ่มเทเอาวัด เขาทุ่มเทเอาบุญ ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ทำอะไรไว้บ้าง ไม่ตอบแทนชาติ ไม่ตอบแทนแผ่นดิน ไม่ตอบแทนพระศาสนาบ้างเลยหรือ”
แน่นอนว่า ไม่มีอำนาจใดหรือหน่วยงานไหนเข้าไปตรวจสอบการแต่งตั้งพระฐานานุกรมของสมเด็จพระธีรญาณมุนีว่าผิดหรือถูกได้ ดังเช่นที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พ.ศ.) โดย “นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์” ผู้อำนวยการ พศ. ให้เหตุผลเอาไว้ชัดเจนว่า “การแต่งตั้งพระฐานานุกรมอยู่ในการวินิจฉัยของเจ้าคณะปกครองที่มีอำนาจโดยตรง “ฐานานุกรมคือ สมณฐานันดร ที่แต่งตั้งโดยพระบรมราชานุญาต หรือโดยพระบรมราชโองการ โปรดพระราชทานให้พระสงฆ์ผู้ดำรงสมณฐานันดรศักดิ์ ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นสามัญขึ้นไป หรือที่มีตำแหน่งในทางปกครองคณะสงฆ์แล้วแต่กรณีให้มีศักดิ์ และสิทธิในการแต่งตั้งพระฐานานุกรม เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะทำงานหรือเลขานุการพระสงฆ์ผู้แต่งตั้งส่วนจำนวนมากหรือน้อยตามแต่อิสริยศที่ได้รับพระราชทานหรือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์ ได้พระราชทานความไว้วางพระราชหฤทัย ให้พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความมั่นคงในสมณปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสมาแต่งตั้งให้ดำรงพระฐานานุกรม สำหรับจำนวนการแต่งตั้งพระฐานานุกรมนั้น ประกอบไปด้วย 1. สมเด็จพระราชาคณะ ตั้งพระฐานานุกรมได้ 10 รูป 2.รองสมเด็จพระราชาคณะ ตั้งได้ 8 รูป 3.พระราชาคณะ ชั้นธรรม ตั้งได้ 6 รูป 4.พระราชาคณะ ชั้นเทพ ตั้งได้ 5 รูป 5.พระราชาคณะ ชั้น ราช ตั้งได้ 4 รูป และ 6.พระราชาคณะชั้นสามัญ ตั้งได้ 3 รูป”
แต่ที่ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อคือ ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่า นี่เป็นการตั้งพระฐานานุกรมของสมเด็จพระธีรญาณมุนี มิใช่เป็น “ฉายา” แต่ “นายปรีชา กันธิยะ” อธิบดีกรมการศาสนากลับทั้งตะแบงและเอาสีข้างเข้าถูเชลียร์นายอย่างไม่ลืมหูลืมตาว่าเป็นฉายา
“ชื่อพระครูปลัดฯ ของพระพายัพเป็นเพียงฉายา โดยชื่อของพระพายัพขึ้นต้นด้วยตัว “พ.” สมมุติว่าผมบวชเป็นพระ ชื่อชึ้นต้นด้วย “ป.” ก็อาจจะมีฉายาเป็น “ปัทธโร” ดังนั้นพระครูปลัดฯของพระพายัพไม่ใช่สมณศักดิ์ของพระ”
ถามว่าแล้วคำต่อท้ายชื่อของพระพายัพว่า “เขมคุโณ” เป็นฉายาของพระพายัพใช่หรือไม่ ถ้าใช่แล้วทำไมจึงบอกว่า พระครูปลัดฯ เป็นฉายาของพระพายัพไปได้อย่างไร
และการที่อธิบดีกรมการศาสนายกตัวอย่างฉายาของตนเองหลังบวชเป็นพระว่า “ปัทธโร” ก็ต้องบอกว่า เป็นฉายาที่ไม่ค่อยจะปรากฏให้ได้ยินเท่าใดนัก หากแต่ถ้าใช้คำว่า “ปาทธโร” น่าจะเหมาะสมกว่าหลายเท่า
การออกรับแทนนายจนไร้สติสัมปชัญญะของนายปรีชาถือเป็นเรื่องตลกที่ร้ายกาจจนไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถเติบโตบนเส้นทางราชการจนได้ดิบได้ดีเป็นถึงอธิบดีกรมการศาสนา เพราะไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า พระสงฆ์ไทยจะมีฉายาว่าพระครูปลัดฯ
แต่นายปรีชาก็ยังตะแบงให้สัมภาษณ์อย่างข้างๆ คูๆ เพื่อทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มหัวอกว่า นี่มิใช่ฉายา หากคือพระฐานานุกรม เพราะจะเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากหากนายพายัพบวชแล้วจะได้รับฉายาว่า พระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์
ที่ร้ายกาจเสียยิ่งกว่าก็คือ เป็นการบิดเบือนทั้งๆ ตัวพระพายัพเองให้สัมภาษณ์ยืนยันเสียงดังฟังชัดว่า ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระฐานานุกรมในสมณศักดิ์ดังกล่าวจริง
เช่นเดียวกับ “พระราชธรรมนิเทศ” หรือ “พระพยอม กัลยาโณ” ประธานมูลนิธิวัดสวนแก้ว ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศราว่า “การแต่งตั้งพระฐานานุกรมมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 2 ข้อ คือ 1.ต้องอุปสมบทมาหลายพรรษา และ 2.ต้องมีผลงานการสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนา อาตมาเห็นข่าวว่า พระพายัพมีผลงานในการสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาหลายประการ อาทิ การสร้างโบสถ์ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง พระพายัพก็มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรม ได้ การแต่งตั้งพระฐานานุกรมเป็นสิทธิของผู้ให้ เมื่อผู้ให้พิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้รับมีสิทธิที่จะได้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และที่สำคัญ พระพายัพก็บวชไม่นาน พระคู่แข่งในตำแหน่งนี้ก็ไม่น่าจะมีความวิตกกังวลอะไร ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นเลย ถ้าพระพายัพไม่ได้เป็นน้องชายของคนชื่อทักษิณ ไม่ควรไปยึดเรื่องพรรษากันแล้ว เพราะพระบางรูปบวชมานานหลายพรรษา แต่ไม่เคยทำคุณงามความดี หรืออะไรที่เป็นประโยชน์แก่พระศาสนา ก็ไม่ควรเลื่อนตำแหน่งอะไรให้เลย” ซึ่งถือเป็นความคิดเห็นที่สมควรจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง
หนึ่ง-พระพยอมไม่เข้าใจหรือว่า นายพายัพหรือพระพายัพบวชในระยะเวลาเพียงสั้นๆ มิได้มุ่งหวังที่จะดำรงตนอยู่ในสมณเพศสืบไป ขณะที่ตำแหน่งพระฐานานุกรมคือตำแหน่งที่เสมือนหนึ่งเลขานุการของผู้แต่งตั้งในการเผยแผ่พุทธศาสนา ถ้าพระพยอมจะใช้เหตุเรื่องผลงานของนายพายัพที่สนับสนุนพระพุทธศาสนามาเป็นข้ออ้างแล้วนับจากนี้ไป พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิแต่งตั้งพระฐานานุกรมจะใช้เป็นแนวทางสืบไป จะเกิดอะไรขึ้น
สอง-พระพยอมพูดออกมาได้อย่างไรว่า ไม่ควรยึดติดเรื่องพรรษา จริงอยู่แม้ว่าในปัจจุบันพระบางรูปบวชมานานหลายพรรษาแต่ก็ไม่เคยทำคุณงามความดีอะไร แต่พรรษาคือสิ่งที่มีบัญญัติเอาไว้ในพระวินัยชัดเจน
-ภิกษุผู้บวชใหม่ พรรษาตั้งแต่ 1-5 เรียกว่า "พระนวกะ" เป็นพระที่นับว่ายังเป็นผู้ใหม่คือยังมีพรรษาไม่ครบ 5 จึงยังต้องอยู่ในความปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์ซึ่งพระวินัยเรียกว่ายังต้องถือนิสสัยอยู่
-ภิกษุที่มีอายุพรรษา ระหว่าง 5-10พรรษา เรียกว่า "พระมัชฌิมะ"
-ภิกษุที่มีอายุพรรษาเกิน 10 พรรษาขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 20 พรรษา เรียกว่า "พระเถระ"
-ภิกษุที่มีอายุพรรษาตั้งแต่ 20 พรรษาขึ้นไป เรียกว่า "พระมหาเถระ"
พระพยอมต้องไม่ลืมว่า หน้าที่ของพระคือการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มิใช่การบริจาคเงินทองจำนวนมากมหาศาลเพื่อสร้างถาวรวัตถุ ซึ่งนั่นมิใช่หน้าที่ของพระ มิใช่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้ มิใช่หนทางในการบรรลุมรรคผล
ถ้าพระพยอมจะยึดถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็ขอให้ใช้เฉพาะวัดสวนแก้ว หรือไม่ก็เฉพาะลัทธิจานบินแค่นั้นเป็นพอ
และที่ต้องขีดเส้นใต้สองเส้นเอาไว้คือปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนชื่อพายัพ ชินวัตร น้องชายนักโทษชายหนีคดีเหมือนเช่นที่พระพยอมกล่าวอ้าง หากแต่นี่คือปัญหาความไม่เหมาะสมของการตั้งพระนวกะที่ไม่รู้ประสีประสาเป็นฐานานุกรมของสมเด็จพระธีรญาณมุนี
พระภิกษุรายใดที่มีคุณสมบัติไม่ถูกไม่ควรเหมือนพระพายัพแล้วได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ ก็ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน โดยเฉพาะข้อสงสัยว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯไม่มีพระภายใต้ปกครองที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้เลยหรืออย่างไร ถึงจำเป็นต้องแต่งตั้งพระนวกะที่ไม่มีพรรษา ไม่มีภูมิธรรมใดใดให้มาดำรงสมณศักดิ์ที่สูงกว่า พระเถระหลายพรรษาเช่น พระครูสัญญาบัตรชั้น ตรี-โท-เอก หรือพระเปรียญธรรมเก้าประโยคเกือบค่อนประเทศ
แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว นี่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีข้อมูลมากมายว่า พระราชาคณะที่ทรงสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม มิได้เป็นกระทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติที่ควรจะเป็น เช่น พระราชาคณะอยู่กรุงเทพฯ แต่กลับตั้ง พระครูปลัด อยู่เชียงราย พระครูสังฆรักษ์ อยู่อุดรธานี พระครูสมุห์ อยู่กาญจนบุรี ส่วน พระครูใบฎีกา อยู่ยะลา เป็นต้น
สุดท้ายแล้ว กรณีพระพายัพที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์ สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงในยุคนี้ได้เป็นอย่างดีว่า ไม่มีอะไรใต้ดวงอาทิตย์ที่คนตระกูลชินวัตรทำไม่ได้ เพราะปรากฏตัวอย่างให้เห็นถึง 2 กรณีด้วยกันคือ
กรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่หาเสียงเพียงแค่ 49 วันก็สามารถนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
และกรณีนายพายัพ ชินวัตรที่บวชเพียงแค่ไม่กี่วันก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนญาณาจารย์ นี่ถ้าไม่ลาสิกขาเสียก่อน อยู่ต่อไปอีกไม่กี่มากน้อยก็คงได้เป็นพระราชาคณะเป็นแน่
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}