ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เปลือกสมอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tikmok (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 26:
}}
 
'''เปลือกสมอง''' หรือ '''ส่วนนอกของสมองใหญ่''' หรือ '''คอร์เทกซ์สมองใหญ่''' หรือ '''ซีรีบรัลคอร์เทกซ์''' หรือบางครั้งเรียกสั้นๆ เพียงแค่ว่า '''[[คอร์เทกซ์]]''' (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่งๆ ในเปลือกสมองด้วย) ({{lang-en|Cerebral cortex}}, cortex, {{lang-lat|Cortex cerebri}}) เป็นชั้นเนื้อเยื่อ[[เซลล์ประสาท]]ชั้นนอกสุดของ[[ซีรีบรัม]] (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของ[[สมอง]]ใน[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]]บางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้ง[[ซีรีบรัม]]ทั้ง[[ซีรีเบลลัม]] มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญใน[[memory|ระบบความจำ]] [[attention|ความใส่ใจ]] [[awareness|ความรู้สึกตัว]] [[ความคิด]] [[ภาษา]] และ[[consciousness|การรับรู้]] เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่างๆกัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของ[[มนุษย์]]มีความหนาเท่ากับ 2-4 มิิลลิเมตรมิลลิเมตร <ref>{{Cite book
| last1 = Kandel | first1 = Eric R.
| first2 = James H. | last2 = Schwartz
บรรทัด 53:
จนกระทั่งเร็วๆ นี้ ส่วนคล้ายกันของเปลือกสมองใน[[สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง]] ไม่ได้รับการยอมรับโดยนักวิทยาศาสตร์ แต่ว่า งานวิจัยที่พิมพ์ในวารสาร "เซลล์" ใน ค.ศ. 2010 แสดงว่า โดยวิเคราะห์[[gene expression|การแสดงออกของยีน]] (gene expression<ref>'''การแสดงออกของยีน''' (gene expression) คือ''ขบวนการ''ที่ข้อมูลต่างๆ ของ[[ยีน]] ถูกนำมาใช้เพื่อการสังเคราะห์[[โปรตีน]]และ[[กรดไรโบนิวคลีอิก]] (RNA) อันเป็นผลิตภัณฑ์ของยีน</ref>) เปลือกสมองของ[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]]และ[[mushroom bodies|สมองรูปเห็ด]]<ref>'''สมองรูปเห็ด''' (mushroom bodies) หรือ corpora pedunculata เป็นโครงสร้างคู่ในสมองของ[[แมลง]]และ[[สัตว์ขาปล้อง]] เป็นส่วนของสมองที่มีบทบาทในการเรียนรู้กลิ่นและการจำกลิ่น</ref>ของ[[Nereididae|หนอนทราย]] มีความใกล้เคียงกัน<ref>{{cite journal|last1=Tomer|first1=R|last2=Denes|first2=AS|last3=Tessmar-Raible|first3=K|last4=Arendt|first4=D |author8=Tomer R, Denes AS, Tessmar-Raible K, Arendt D|title=Profiling by image registration reveals common origin of annelid mushroom bodies and vertebrate pallium |journal=[[Cell (journal)|Cell]] |year=2010 |volume=142|issue=5|pmid=20813265 |pages=800–809 |doi=10.1016/j.cell.2010.07.043}}</ref> สมองรูปเห็ดเป็นโครงสร้างในสมองของหนอนหลายจำพวกและของ[[สัตว์ขาปล้อง]] มีบทบาทสำคัญในการเรียนและการทรงจำ หลักฐานในงานวิจัยนี้ชี้ว่า วิวัฒนาการของเปลือกสมองและสมองรูปเห็ดมีจุดกำเนิดเดียวกัน ดังนั้น จึงแสดงว่า โครงสร้างตั้งต้นของเปลือกสมองเกิดขึ้นในสมัย[[มหายุคพรีแคมเบรียน]]
 
{{anchor|layered structure}} <!--กรุณาอย่าเปลี่ยน มีลิ้งก์ลิงก์มาจากที่อื่น-->
==โครงสร้างเป็นชั้นของเปลือกสมอง==
[[ไฟล์:Cajal cortex drawings.png|thumb|300px|right|รูปวาด ๓ ภาพ ของชั้นต่างๆ ในเปลือกสมอง วาดโดย [[Santiago Ramón y Cajal|ซานเตียโก รามอน อี คาฮาล]] แต่ละรูปแสดงหน้าตัดแนวยืน ด้านบนสุดเป็นผิวของ[[คอร์เทกซ์]] รูปซ้ายเป็น[[คอร์เทกซ์สายตา]]ของมนุษย์ผู้ใหญ่[[Nissl stain|่ย้อมสีแบบนิซซัล]], รูปกลางเป็น[[motor cortex|คอร์เทกซ์สั่งการ]]ของมนุษย์ผู้ใหญ่, รูปขวาเป็นคอร์เทกซ์ของทารกวัยขวบครึ่ง[[Golgi stain|ย้อมสีแบบกอลกิ]]. การย้อมสีแบบนิซซัลแสดงตัว[[เซลล์ประสาท]] ส่วนการย้อมสีแบบกอลกิแสดง[[เดนไดรต์]]และ[[แอกซอน]]ของเซลล์ประสาทส่วนหนึ่งโดยสุ่ม]]
บรรทัด 84:
คอร์เทกซ์โดยมากถูกพรรณนาว่ามี 3 ส่วนได้แก่ เขตรับรู้ความรู้สึก (sensory) เขตสั่งการ (motor) และเขตสัมพันธ์ (association)
 
===เขตรับรู้ความรู้สึก=== <!-- กรุณาอย่าเปลี่ยน มีลิ้งก์ลิงก์มาจากที่อื่น -->
'''เขตรับรู้ความรู้สึก''' ({{lang-en|sensory areas}}) รับข้อมูลและประมวลข้อมูลจากประสาทรับรู้ความรู้สึก ส่วนของคอร์เทกซ์ที่รับข้อมูลความรู้สึกจาก[[ทาลามัส]]เรียกว่า [[primary sensory areas|เขตรับรู้ความรู้สึกขั้นปฐม]] (primary sensory areas) การเห็น การได้ยิน และการกระทบสัมผัสเป็นกิจของ[[คอร์เทกซ์สายตา]] (visual) [[auditory cortex|คอร์เทกซ์การได้ยิน]] (auditory) และ[[somatosensory cortex|คอร์เทกซ์สัมผัส]] (somatosensory)
 
บรรทัด 93:
แผนที่โทโพกราฟิกของส่วนร่างกายที่กล่าวถึงทีหลังนี้ มีรูปเป็นภาพมนุษย์ที่ผิดส่วนไป คือ ขนาดคอร์เทกซ์ที่แสดงส่วนหนึ่งของร่างกาย ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในส่วนนั้นๆ ส่วนที่มีเซลล์ประสาทรับรู้ความรู้สึกหนาแน่น เช่นปลายนิ้วและปาก ก็จะมีเขตในคอร์เทกซ์ที่ใหญ่กว่า เพื่อประมวลผลของความรู้สึกที่ละเอียดกว่านั้น
 
===เขตสั่งการ=== <!-- กรุณาอย่าเปลี่ยน มีลิ้งก์ลิงก์มาจากที่อื่น -->
'''[[Motor cortex|เขตสั่งการ]]''' (motor areas) อยู่ในคอร์เทกซ์ในซีกสมองทั้งสองข้าง มีรูปร่างคล้ายกับ[[หูฟัง]]เริ่มจากหูหนึ่งแผ่ไปยังอีกหูหนึ่ง เขตสั่งการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการควบคุมการเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวมือที่แบ่งเป็นช่วงๆ อย่างละเอียด เขตสั่งการในสมองซีกขวาควบคุมกายด้านซ้าย และในทางกลับกัน เขตสั่งการในสมองซีกซ้ายควบคุมกายด้านขวา
 
บรรทัด 108:
นักประสาทกายวิภาคไม่สามารถตกลงกันได้ว่า มีศูนย์กลางในสมองทั้งหมดกี่แห่งกันแน่ ที่เป็นส่วนของนิวคลีไอฐาน แต่ตกลงกันว่าอย่างน้อยๆ มีสามเขต คือ [[caudate nucleus|นิวเคลียสมีหาง]] (caudate nucleus<ref name=CaudateNucleus>'''นิวเคลียสมีหาง''' (caudate nucleus) เป็น[[นิวเคลียส (ระบบประสาท)|นิวเคลียส]]ของระบบประสาทที่อยู่ใน[[basal ganglia|ปมประสาทฐาน]]ของ[[สมอง]]ในสัตว์หลายประเภท นิวเคลียสมีหางมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับระบบการเรียนรู้และระบบความทรงจำ เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของสมอง ที่คร่อมอยู่บน[[ทาลามัส]]</ref>) [[putamen]] และ [[globus pallidus]] ตัว putamen และ globus pallidus รวมกันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า [[lentiform nucleus|นิวเคลียสรูปเลนส์]] (lentiform nucleus) เพราะว่าเขตเหล่านั้นรวมกันมีรูปร่างเหมือนเลนส์ และตัว putamen และนิวเคลียสมีหางเองก็รวมกันเรียกว่า [[corpus striatum]] เพราะปรากฏเป็นรอยริ้ว<ref>Saladin, Kenneth. Anatomy and Physiology: The Unity of Form and Function, 5th Ed. New York: McGraw-Hill Companies Inc, 2010. Print.</ref><ref>Dorland’s Medical Dictionary for Health Consumers, 2008.</ref>
 
===เขตสัมพันธ์=== <!--กรุณาอย่าเปลี่ยน มีลิ้งก์ลิงก์มาจากที่อื่น-->
'''เขตสัมพันธ์''' หรือ '''เขตประสาทสัมพันธ์''' หรือ '''คอร์เทกซ์สัมพันธ์''' ({{lang-en|association areas}}, {{lang-en|association cortex}}) ทำหน้าที่เป็นที่กำเนิดของประสบการณ์[[perception|การรับรู้]] ที่ทำความหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ปรากฏ (คือทำให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อม) ที่ทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดความคิดทาง[[นามธรรม]] และการใช้ภาษา ส่วนของเขตสัมพันธ์ คือ [[สมองกลีบข้าง]] [[สมองกลีบขมับ]] และ[[occipital lobe|สมองกลีบท้ายทอย]] ซึ่งล้วนแต่อยู่ด้านหลังของคอร์เทกซ์ ทำหน้าที่จัดระเบียบข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึก เช่นการเห็นเป็นต้น ให้เป็น[[model|แบบจำลอง]]เพื่อการรับรู้สิ่งแวดล้อมที่เข้ากัน (คล้องจองกัน ปะติดปะต่อกัน) โดยมีตัวเราเองเป็นศูนย์กลาง