ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไดโอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WindowMaker (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: "20ปีต่อมา" -> "20 ปีต่อมา"
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Diode-photo.JPG|thumb|right|200px|ไดโอดชนิดต่าง ๆ]]
 
'''ไดโอด''' ({{lang-en|diode}}) เป็น[[อุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์]]ชนิดสองขั้วคือขั้ว p และขั้ว n ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของ[[ประจุไฟฟ้า]] มันจะยอมให้[[กระแสไฟฟ้า]]ไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจาก[[สารกึ่งตัวนำ]] ({{lang-en|Semiconductor diode}}) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว<ref>{{cite web|url=http://www.element-14.com/community/docs/DOC-22519/l/physical-explanation--general-semiconductors |title=Physical Explanation - General Semiconductors |date=2010-05-25 |accessdate=2010-08-06}}</ref> ส่วนไดโอดแบบหลอดสุญญากาศ ({{lang-en|Vacuum tube diode}}) ถูกใช้เฉพาะทางในเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูงบางประเภท เป็นหลอดสุญญากาศที่ประกอบด้วยขั้วอิเล็ดโทรดสองขั้ว ซึ่งจะคือแผ่นตัวนำ ({{lang-en|plate}}) และแคโทด ({{lang-en|cathode}})
 
ส่วนใหญ่เราจะใช้ไดโอดในการยอมให้กระแสไปในทิศทางเดียว โดยยอมให้กระแสไฟในทางใดทางหนึ่ง ส่วนกระแสที่ไหลทิศทางตรงข้ามกันจะถูกกั้น ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็น[[วาล์ว]]ตรวจสอบแบบ[[อิเล็กทรอนิกส์]]อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็น[[ตัวเรียงกระแส]]ไฟฟ้าในวงจรภาค[[แหล่งจ่ายไฟ]] เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตามไดโอมีความสามารถมากกว่าการเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิด-ปิดกระแสง่าย ๆ ไดโอดมีคุณลักษณะทางไฟฟ้าที่ไม่เป็นเชิงเส้น ดังนั้นมันยังสามารถปรับปรุงโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพวกมันที่เรียกว่า[[จุดเชื่อมรอยต่อ Pp-Nn]] มันถูกนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ นั่นทำให้ไดโอดมีรูปแบบการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น [[ซีเนอร์ไดโอด]] เป็นไดโอดชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันให้คงที่ [[วาริแอกไดโอด]]ใช้ในการปรับแต่งสัญญาณในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ [[ทันเนลไดโอดไดโอดอุโมงค์]]หรือทันเนลไดโอดใช้ในการสร้างสัญญาณความถี่วิทยุ และ[[ไดโอดเปล่งแสง]]เป็นอุปกรณ์ที่สร้างแสงขึ้น ทันเนลไดโอดอุโมงค์มีความน่าสนใจตรงที่มันจะมีค่าความต้านทานติดลบ ซึ่งเป็นประโยชน์มากเมื่อใช้ในวงจรบางประเภท
 
ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์[[หลอดสุญญากาศ]] โดยไดโอดแบบสารกึ่งตัวนำตัวแรกถูกค้นพบจากการทดสอบความสามารถในการเรียงกระแสของผลึกโดย[[คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรวน]] นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2417 เรียกว่า cat's whisker diodes และได้ถูกพัฒนาในปี พ.ศ. 2449 โดยทำไดโอดมากผลึกแร่กาลีนา แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไปผลิตมาจาก[[สารกึ่งตัวนำ]] เช่น [[ซิลิกอน]] หรือ [[เจอร์เมเนียม]]<ref>{{cite web|url=http://www.element-14.com/community/docs/DOC-22518/l/the-constituents-of-semiconductor-components |title=The Constituents of Semiconductor Components |date=2010-05-25 |accessdate=2010-08-06}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไดโอด"