ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า โคโรน่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 78:
== Generation ที่ 9 ([[พ.ศ. 2529]] - [[พ.ศ. 2535|2535]]) ==
[[ไฟล์:Corona T170.JPG|thumb|โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 9]]
ไม่มีข้อมูล/โดยโตโยต้าประเทศไทย
เจเนอเรชันนี้ มี 2 รุ่น คือ รุ่น '''โฉมหน้ายักษ์''' และรุ่น '''โฉมหน้ายิ้ม'''(ยกเว้นคนขับรถเก่ายิ้มไม่ออก) รูปที่แสดงนี้เป็นรูปโฉมหน้ายิ้ม สองรุ่นนี้ รูปทรงรถจะคล้ายกันมาก(ภาพรวม) ต่างกันในรายละเอียดหลายประการ เช่น กระจังหน้าและไฟท้าย โดยไปท้ายหน้ายิ้มจะยาวแถวเดียว หน้ายักษ์แยกเป็นสองก้อน กระจังหน้ารุ่นหน้ายิ้มออกแนวตั้ง หน้ายักษ์แนวนอน สองรุ่นยังไม่ใช้โลโก้สามห่วง ในประเทศไทย เปิดตัวครั้งแรกด้วยรุ่นหน้ายักษ์ มีตัวเลือกทั้งหมด 4 รุ่น คือ
*1.6XL เป็นรุ่นต่ำสุด ราคาประหยัด ใช้เครื่องยนต์ 4A-F คาร์บูเรเตอร์ 1600 ซีซี เกียร์ธรรมดา 4 สปีด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่ต่างจากรถระดับต่ำกว่า (เช่น [[โตโยต้า โคโรลล่า]], [[ฮอนด้า ซีวิค]], [[นิสสัน ซันนี่]], [[มิตซูบิชิ แลนเซอร์]]) ในยุคนั้น คือ เบาะพลาสติก, หน้าต่างหมุนมือ, กระจกข้างปรับมือ/พับมือ, ไม่มีไล่ฝ้ากระจกหลัง ล้อกระทะเหล็กไม่มีฝาครอบ ยางขนาด 175/70R13
*1.6GL ใช้เครื่องยนต์ 4A-F แบบเดียวกับรุ่น XL แต่จะใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด รวมถึงได้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากเกือบเท่ารุ่นท็อป คือ เบาะกำมะหยี่พร้อมที่ท้าวแขนกลางเบาะหลัง พร้อมแผงประตูบุกำมะหยี่, เบาะคนขับ ปรับดันหลัง และปรับพนักหนุนศีรษะในแนวหน้า-หลังได้, หน้าต่างไฟฟ้า, กล่องเก็บของระหว่างเบาะคู่หน้า, พวงมาลัย 3 ก้าน, ลวดละลายฝ้ากระจกหลัง, วิทยุเทป 4 ลำโพง, ล้อกระทะเหล็ก 13 นิ้ว พร้อมฝาครอบแบบเต็ม, กันชนสีเดียวกับตัวรถ, ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ ถือว่ามากกว่ารถระดับต่ำกว่าทั้ง 4 รุ่นหลักๆ ในเมืองไทย ณ ขณะนั้น ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว แม้แต่ในรุ่นสูงสุดก็ตาม
*2.0GL ใช้เครื่องยนต์ 3S-F 2000 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ มีให้เลือกเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด อุปกรณ์ที่ได้เพิ่มจากรุ่น 1.6GL ได้แก่ ที่เก็บของระหว่างเบาะคู่หน้าแบบบุฟองน้ำใช้ท้าวแขนได้นุ่ม, พวงมาลัยมีพาวเวอร์ผ่อนแรง, กระจกข้างปรับไฟฟ้า, ล้ออัลลอย 14 นิ้ว ยางขนาด 195/60R14 น็อตล้อ 5 ตัว
*2.0GLi เป็นรุ่นท็อปสุด มีเฉพาะเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เครื่องยนต์3S-FE 2000 ซีซี หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นนวัตกรรมเครื่องยนต์แบบใหม่ ซึ่งมีเฉพาะในรถซาลูนหรู เช่น เมอร์เซเดส เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู เท่านั้น เทคโนโลยีเครื่องยนต์หัวฉีดเริ่มใช้กับรถญี่ปุ่นในขณะนั้น มีเพียงรถระดับโคโรน่า และคู่แข่งอย่างแอคคอร์ด กาแลนต์ บลูเบิร์ด และเซฟิโร่เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาเต็มพิกัด เช่น วิทยุแสดงผลแบบดิจิตอล, เบาะคนขับปรับ 14 ทิศทาง (หน้า-หลัง/พนักพิงนอน-ตั้ง/เบาะรองนั่งสูง-ต่ำ/พนักพิงดันหลังมาก-น้อย/ปีกเบาะโอบมาก-น้อย/พนักพิงศีรษะปรับสูง-ต่ำ/พนักพิงศีรษะปรับดันศีรษะมาก-น้อย) ในขณะที่รถคู่แข่งมักมี 6, 8 หรือ 10 ทิศทางเท่านั้น นอกจากนี้ ในช่วงที่เชื้อเพลิงแก๊สฌโซฮอล์เข้าประเทศไทยนั้น โตโยต้ายังได้รับรองอย่างเป็นทางการให้เครื่องยนต์ 3S-FE ในรุ่น 2.0GLi สามารถรองรับเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ 95 ได้<ref>http://www.dede.go.th/dede/images/stories/bioethanol/gasohol_DOEB.pdf</ref>, รวมถึงได้ดิสก์เบรก 4 ล้ออีกด้วย
 
ต่อมา ได้ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เป็นรุ่นหน้ายิ้ม และได้มีการปรับอุปกรณ์ดังนี้
*1.6XL เปลี่ยนไปใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด
*1.6GL ลดอุปกรณ์ลง โดยเบาะนั่งจะเป็นกำมะหยี่สลับพลาสติก, กันชนสีดำ
*2.0GL ตัดรุ่นเกียร์อัตโนมัติออก เหลือเฉพาะเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เพิ่มระบบปรับอากาศแบบปุ่มกด
*2.0GLi เพิ่มรุ่นเกียร์อัตโนมัติเข้ามา จึงมีตัวเลือกว่าจะซื้อรุ่นท็อปแบบเกียร์ธรรมดาหรืออัตโนมัติ เพิ่มระบบปรับอากาศแบบปุ่มกด
 
โคโรน่ารุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่โตโยต้าประเทศไทย วางไว้เป็นคู่แข่งกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด, นิสสัน บลูเบิร์ด, [[มิตซูบิชิ กาแลนต์]] โดยตรง โคโรน่ารุ่นหลังจากนี้ไป จะไม่ใช่รถระดับเดียวกับคู่แข่งกลุ่มนี้อีกต่อไป
{{clear}}
== Generation ที่ 10 ([[พ.ศ. 2535]] - [[พ.ศ. 2541|2541]]) ==
[[ไฟล์:1994 Toyota Corona 01.jpg|thumb|โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 10]]