ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sherrott2542 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
Sherrott2542 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 69:
สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมออกแถลงการณ์พิธีหมั้นอย่างเป็นทางการของเจ้าชายชาลส์กับเลดี้ไดอานา สเปนเซอร์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 ไดอานาเลือก[[แหวน|แหวนหมั้น]][[แพลทินัม]]ประดับ[[แซฟไฟร์]]เม็ดใหญ่ล้อม[[เพชร]] 14 เม็ด มูลค่า 30,000 ปอนด์ (มูลค่าในปัจจุบันนี้ 85,000 ปอนด์){{อ้างอิง}} ซึ่งแหวนวงนี้มีความคล้ายคลึงกับแหวนของฟรานเซสผู้เป็นแม่ ช่างเพชรประจำราชวงศ์ "เจอร์รัลด์" เป็นผู้ผลิตแหวนวงนี้ แต่สมาชิกราชวงศ์หลายพระองค์กลับไม่โปรดปรานเครื่องเพชรจากเจอร์รัลด์และต่างเห็นพ้องกันว่า แหวนหมั้นแซฟไฟร์ล้อมเพชรนี้ไม่ได้ผลิตให้เฉพาะแต่ไดอานาเพียงผู้เดียว เพราะแหวนแซฟไฟร์วงนี้เคยปรากฏอยู้ในคอลเลคชั่นเครื่องเพชรของเจอร์รัลด์ด้วย 30 ปีต่อมา แหวนแซฟไฟร์ล้อมเพชรของไดอานาได้กลายเป็นแหวนหมั้นของ[[เคท มิดเดิลตัน]] พระคู่หมั้นของ[[เจ้าชายวิลเลียม]] โอรสองค์ใหญ่ของไดอานา{{อ้างอิง}}
 
พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 สาเหตุที่เลือก[[มหาวิหารเซนต์]]พอล]]แทนที่จะเป็น[[มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]] เนื่องจากสามารถจุผู้เข้าร่วมพระราชพิธีได้มากกว่า และมหาวิหารแห่งนี้ถูกนิยมใช้เป็นที่ประกอบพิธีเสกสมรสของพระราชวงศ์มายาวนาน พระราชพิธีถูกถ่ายทอดสดมีผู้รับชมทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านคนในวันนั้น ไดอานาได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ให้ดำรงอิสริยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในขณะที่มีอายุ 20 ปี และทำให้เธอกลายเป็นหญิงสามัญชนคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ<ref>หลังจากที่เมื่อราว 400 ปีก่อนเลดีแอนน์ ไฮด์ได้เสกสมรสกับ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2|จอร์จ ดยุกแห่งยอร์คและอัลบานี]] หากแต่ความแตกต่างคือชาลส์เป็น “[[รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง]]” แต่เจมส์เป็น“[[รัชทายาทโดยสันนิษฐาน]]” รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงคือรัชทายาทลำดับแรกผู้ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ตามพระราชโองการจากกษัตริย์ ในขณะที่ [[รัชทายาทโดยสันนิษฐาน]] คือรัชทายาทลำดับรองของการสืบสันตติวงศ์ และลำดับอาจถูกลดลงไปก็ได้เมื่อมีพระราชกุมารพระองค์ใหม่ที่ทรงสิทธิ์สูงกว่าประสูติ เช่นปัจจุบันเจ้าชายแฮร์รี่เป็นรัชทายาทลำดับที่ 3 หากแต่ถ้าเจ้าชายวิลเลี่ยมมีพระโอรสหรือพระธิดา เจ้าชายหรือเจ้าหญิงพระองค์นั้นจะเป็นรัชทายาทลำดับที่ 3 แทน และเจ้าชายแฮร์รี่จะกลายเป็นรัชทายาทลำดับที่ 4 หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" และมีลำดับพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ</ref><ref>ธรรมเนียมของฝั่งยุโรปนั้นหญิงที่แต่งงานกับชายโดยถูกต้องตามกฎหมายจะ "ต้อง" ได้รับยศทั้งหมดของสามีมา แม้ว่าหญิงนั้นจะมียศเดิมของตัวเองสูงกว่าก็จะไม่เสียยศเดิมของตนไป (เช่นเจ้าหญิงอเล็กซานดร้า ไม่ได้ทรงเสียยศเจ้าหญิงของพระองค์เองไป และทรงเป็นเลดี้โอกิลวี่จากการสมรสกับเซอร์โอกิลวี่ด้วย) ในที่นี้ชาลส์เป็น "เจ้า" เพราะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ไดอาน่าผู้เป็นพระสุณิสา (Daughter-in-law) ก็ย่อมต้องเป็นเจ้าด้วยพฤตินัยจากการอภิเษกนอกจากนี้ ไดอานายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วยไดอานาเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์คนแรกที่มาจากสามัญชน เจ้าหญิงแห่งเวลส์พระองค์ก่อนเช่น[[สมเด็จพระราชินีแมรี่|สมเด็จพระราชินีแมรี่ แห่งเท็ค]]นั้น ทรงเป็นเจ้าหญิงตั้งแต่ประสูติอยู่แล้ว หลังจากทรงเสกสมรสจึงสามารถใช้พระนามว่า Her Royal Highness the Princess Mary, the Princess of Wales ได้ แต่สำหรับไดอานาซึ่งมิใช่เจ้าหญิงจากราชตระกูลนั้น ไม่สามารถที่จะใช้พระนามว่า เจ้าหญิงไดอานาได้</ref>
 
ประชาชนราว 600,000 คนบนบาทวิถี{{อ้างอิง}}ต่างตั้งตารอคอยช่วงเวลาที่ไดอานาโดยสารยนรถม้าเพื่อมุ่งหน้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ณ แท่นบูชาในมหาวิหาร ระหว่างทำพิธีไดอานาได้ขานพระนามของเจ้าชายชาลส์สลับตำแหน่งกันโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยพูดว่า ''"Philip Charles Arthur George"'' แทน ''"Charles Phillip ..."'' และไม่ได้สาบานต่อหน้าบาทหลวงว่า "จะอยู่ในโอวาทของพระสวามี"{{อ้างอิง}} คำสาบานตามธรรมเนียมนี้ถูกตัดออกไปจากพิธีตามคำร้องขอจากคู่บ่าวสาว ซึ่งสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้นพอควร ไดอานาสวม[[ชุดเจ้าสาว]]สีขาวราคา 9,000 ปอนด์ ชายกระโปรงยาว 8 เมตร ผลงานการตัดเย็บของเดวิดและเอลิซาเบธ เอ็มมานูเอล ส่วนเค้กแต่งงานสั่งทำกับเชฟแพสทรีชาวเบลเยียม แอส. ชี. ซองแดร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม คนอบเค้กสำหรับพระราชา
 
=== พระโอรส ===
5 พฤศจิกายน 2524 สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมออกแถลงการณ์เรื่องการทรงพระครรภ์ของเจ้าหญิงไดอานา และให้สัมภาษณ์เรื่องการมีพระโอรสครั้งแรกกับสื่อมวลชนหลายแขนง <ref>Andrew Morton, ''Diana Her True Story, p.108</ref> ต่อมาในวันที่ 21 มิถุนายน 2525 ไดอานาทรงให้กำเนิดพระโอรสและรัชทายาทองค์แรกที่ปีกลินโด มีนามว่า เจ้าชายวิลเลียมที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี-แพดดิงตัน 1 ปีต่อมาเจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงไดอานาเสด็จเยือน[[ออสเตรเลีย]]และ[[นิวซีแลนด์]] พร้อมกับเจ้าชายวิลเลียมซึ่งยังเป็นทารกอยู่ หมายกำหนดการเสด็จเยือนยาวนานกว่า 6 สัปดาห์ การที่ไดอานาพาพระโอรสที่ยังเยาว์วัยมากร่วมการเดินทางในครั้งนี้ทำให้พระองค์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม แต่มูลเหตุในครั้งนี้เกิดจากคำทูลเชิญจากนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียและในระหว่างเดินทาง ไดอานาให้พระโอรสร่วมเครื่องบินลำเดียวกันกับพระบิดา ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงหากเกิดอุบัติเหตุ<ref>Morton, pp.112-113</ref> <ref>Morton, pp.119-120</ref> <ref>{{Cite journal| last=Leyland| first=Joanne| title=Charles and Diana in Australia (1983)| journal=The Royalist| date=29 May 2006| url=http://www.theroyalist.net/index2.php?option=com_content&do_pdf=1&id=767| accessdate=4 July 2008}}</ref>
 
พระโอรสองค์ที่สองมีประสูติกาลในวันที่ 15 กันยายน 2527 และมีพระนามว่า เจ้าชายเฮนรี่ และการทรงพระครรภ์ครั้งนี้ เธอไม่ได้บอกให้ใครล่วงรู้ก่อนหน้าว่า เป็นพระธิดาหรือพระโอรส และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับเจ้าชายใกล้ชิดแนบแน่นกว่าเดิม
บรรทัด 84:
 
# เลดีเอ็ดวิน่า กรอสเวนเนอร์ (ธิดาของดยุกและดัชเชสแห่งเวสมินสเตอร์ โดยเป็นลูกเลี้ยงคนแรกของไดอานา)
# ฮอนเนอเรเบิ้ลอเล็กซานดร้า (นัตช์บอลล์ (ธิดาของลอร์ดและเลดีโรมเซ่ย์)
# แคลร์ คาซาแลท (ธิดาของอิซาเบล และ วิคเตอร์ คาซาแลท)
# คามิลล่า สไตรเกอร์ (ธิดาของเรเบิ้น และฮอนเนอเรเบิ้ลโซเฟีย สไตรเกอร์ ซึ่งเป็นพระสหายที่เคยอยู่แฟลตห้องเดียวกันกับไดอานา)
บรรทัด 95:
# แจ๊ค ฟลอคเนอร์ (บุตรของซีมอนด์และอิซาเบล ฟอล์คเนอร์)
# ลอร์ดเอ็ดเวิร์ด ดาวน์แพททริค (บุตรของเอิร์ลแค้นท์เตสแห่งเซนท์แอนดรูว์)
# แจ๊ค บาทโลเมล )(บุตรของวิลเลี่ยมและแคโรลีน บาทโลเมล แคโรลีนเป็นพระสหายตั้งแต่มัธยมและเคยอยู่แฟลตห้องเดียวกับไดอานา)
# เบนจามิน ซามูแอล (บุตรของฮอนเนอเรเบิลไมเคิลและจูเลีย ซามูแอล จูเลียเป็นพระสหายสนิทของไดอานา ทั้งสองคนมักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเสมอๆ อีกทั้งยังเป็นเพื่อนไม่กี่คนที่ไดอานาขอคำปรึกษาเรื่องครอบครัว)
# แอนโทนี่ แฮร์ริงตัน (ธิดาของโจนาธาน แฮร์ริงตัน)