ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียงผาเหนือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
เลียงผาเหนือ เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของ[[เลียงผาใต้]] (''C. sumatraensis'') โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Capricornis sumatraensis milneedwardsii'' (ในบางข้อมูลยังจัดให้เป็นชนิดย่อยอยู่<ref name="dnp">[http://www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=169:2011-07-25-04-24-14&catid=36:2010-11-29-10-17-46&Itemid=48 สัตว์ป่าน่ารู้ เลียงผา]</ref>)
 
พบกระจายพันธุ์ในประเทศจีนทางใต้ เช่น เมืองเปาซิงเสียน ใน[[มณฑลเสฉวน]] ในประเทศไทยพบได้ในตอนเหนือของประเทศ และพบได้ทั่วทุกภาคยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ตั้งแต่[[คอคอดกระ]]<ref name="dnp"/>ลงไป<ref name="ความ">[http://t-fern.forest.ku.ac.th/Forest/biodiversity/index.php?action=1&action3=detail&action2=mammal&id=187 ความหลากหลายของสัตว์ป่าเมืองไทย]</ref>
 
เลียงผาเหนือ มีขนที่หยาบสีแดงแตกต่างจากเลียงผาใต้ซึ่งเป็นสีดำ<ref name="dnp"/> อุณหภูมิระหว่างขนกับชั้นผิวหนังมีความแตกต่างกัน มีแผงคอที่พาดผ่านระหว่างเขาไปตรงกลางของด้านหลัง เขาโดยเฉพาะในเพศผู้จะโดดเด่น มีสีอ่อน ความยาวประมาณ 6 นิ้ว และมีความยาวโค้ง เลียงผาเหนือมีขนาดลำตัวที่ใหญ่มาก เมื่อเติบโตเต็มที่มีความยาวกว่า 6 ฟุต และมีส่วนสูง 3 ฟุต จากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ และมีน้ำหนักกว่า 150 กิโลกรัม