ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 48:
ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2486 ญี่ปุ่นได้มอบการปกครองรัฐฉานให้รัฐพม่ายกเว้น[[เชียงตุง]]กับเมืองพานที่ยกให้ประเทศไทย ดร.บามอว์ได้เข้าร่วมการประชุมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาที่โตเกียวเมื่อ 5-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นยังคงอยู่ในพม่าแม้ว่าญี่ปุ่นจะไม่ได้ปกครองพม่าโดยตรง
[[ไฟล์:Greater East Asia Conference.JPG|left|thumb|300px|การประชุมวงไพบูลย์แห่งเอเชียบูรพาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ผู้เข้าร่วมจากซ้ายไปขวา: บามอว์, Zhang Jinghui, Wang Jingwei, [[ฮิเดกิ โตโจ]], วรรณ ไวทยากร, José P. Laurel, [[สุภาส จันทรโภส]]]]
ในช่วง พ.ศ. 2486 – 2487 กองทัพแห่งชาติพม่าได้ติดต่อกับกลุ่มการเมืองต่างๆภายในพม่า รวมทั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]] ที่สู้รบใต้ดิน ต่อมา ได้จัดตั้ง[[สันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์]] โดยมีทะขิ่นโสเป็นผู้นำ พม่าได้ติดต่อกับอังกฤษโดยผ่านทางกลุ่มคอมมิวนิสต์และ[[กองทัพป้องกันยะไข่]] โดยติดต่อกับกองทัพอังกฤษ 136 ในอินเดีย ซึ่งกองทัพนี้ได้ติดต่อกองกำลังทหารกะเหรี่ยงในย่างกุ้ง เช่นเดียวกัน
 
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 สันนิบาตเสรีชนได้ติดต่อมายังฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้สนับสนุนการลุกฮือขึ้นในพม่า การลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นครั้งแรกในพม่าตอนกลางเกิดขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2488 ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2488 กองทัพแห่งชาติพม่าได้สวนสนามในย่างกุ้งแสดงตนว่าจะช่วยญี่ปุ่นในการรบต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร แม้ว่ากองทัพแห่งชาติพม่าจะประกาศอย่างชัดแจ้งว่าจะสนับสนุนญี่ปุ่น แต่อองซานได้เริ่มเจรจากับนายพลเมาท์แบตแทนในการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลของรัฐพม่าที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพสลายตัว ดร. บามอว์ลี้ภัยเข้ามาในไทย แล้วจึงเดินทางต่อไปญี่ปุ่น ต่อมาในปีเดียวกันนั้น ดร. บามอว์ถูกจับขังคุกใน[[โตเกียว]]จนถึง พ.ศ. 2489
 
== อ้างอิง ==
*{{cite book | last = Allen | first = Louis | coauthors = | year = 1986 | title = Burma: the Longest War 1941-45 | publisher = J.M. Dent and Sons | location = | isbn = 0-460-02474-4}}