ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชิคาโก บูลส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 26:
=== การมาของไมเคิล จอร์แดน ===
[[ไฟล์:Jordan by Lipofsky 16577.jpg|left|thumb|การสแลมดังก์ของจอร์แดน]]
ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1984 โชคชะตาของทีมก็ผลิกผันเมื่อทีมได้สิทธิ์การดราฟอันดับสิบสาม หลังจาก[[ฮิวส์ตัน รอกเก็ตส์|ฮูสตัน]] และ [[พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอรส์|พอร์ตแลนด์]] [[ฮิวส์ตัน รอกเก็ตส์|รอกเก็ตส์]]เลือก [[ฮาคีม โอลาจูวอน]] (Hakeem Olajuwon) ส่วน[[พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอรส์|เทรลเบลเซอรส์]]เลือก แซม โบวี (Sam Bowie) ส่วนบูลส์เลือก[[ชู้ตติ้งการ์ด]] [[ไมเคิล จอร์แดน]] จาก[[มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา]] ทีมภายใต้เจ้าของใหม่ คือ เจอร์รี ไรนส์ดอร์ฟ (Jerry Reinsdorf) และผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ คือ [[เจอร์รี ครอส]] (Jerry Krause) ตัดสินใจสร้างทีมรอบ ๆ จอร์แดน จอร์แดนทำสถิติของแฟรนไชส์สมัยที่เล่นปีแรก โดยทำคะแนนและ[[สตีล (บาสเกตบอล)|สตีล]]สูงสุด และพาบูลส์กลับเข้าสู่เพลย์ออฟ จอร์แดนได้รับให้เลือกอยู่ใน[[ออล-เอ็นบีเอ]]ทีมที่สอง และได้รางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมของเอ็นบีเอ (NBA Rookie of the Year Award)
 
ฤดูร้อนปีถัดมา ทีมได้พอยต์การ์ด จอห์น แพ็กซ์สัน (John Paxson) และดราฟเอา[[เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (บาสเกตบอล)|เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด]] ชารลส์ โอกเลย์ (Charles Oakley) เมื่อรวมกับจอร์แดน และเซ็นเตอร์ เดฟ คอร์ไซน์ (Dave Corzine) เป็นตัวบุกทำคะแนนให้ทีมในช่วงสองปีถัดมา ช่วงที่จอร์แดนบาดเจ็บกระดูกเท้าแตกช่วงต้นฤดูกาล 1985-86 จอร์แดนเป็นคนทำคะแนนเป็นอันดับสองของทีม รองจากวูดริดจ์ จอร์แดนกลับมาเล่นช่วงเพลย์ออฟ พาทีมบูลส์ซึ่งเป็นทีมอันดับที่ 8 มาพบกับ[[บอสตัน เซลติกส์]] ซึ่งชนะถึง 67 เกมแพ้ 15 เกมนำโดย [[แลร์รี เบิร์ด]] ถึงแม้ว่าบูลส์จะแพ้รวดแต่จอร์แดนก็สร้างสถิติเพลย์ออฟ ทำคะแนนสูงสุดในหนึ่งเกม คือ 63 แต้มในเกม 2 เบิร์ดเรียกจอร์แดนว่า "God disguised as Michael Jordan." หรือ "[[พระเจ้า]]ปลอมตัวเป็นจอร์แดน"