ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50:
 
ปัจจุบัน พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ในสภาพที่ชำรุดจนเกินกว่าการบูรณะได้จึงมีการรื้อพระที่นั่งลงหลายองค์ อย่างไรก็ตาม [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]]โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม 4 องค์ ได้แก่ [[พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์]] [[พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ]] [[พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร]] และ[[พระที่นั่งเทวารัณยสถาน]]
==แผนผังพระที่นั่งในสมัยรัชกาลที่5
แผนผังหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในสมัยรัชกาลที่ 5
 
* ท้องพระโรงหน้า
* ท้องพระโรงกลาง
* ท้องพระโรงหลัง
* มุขกระสันตะสันออก
* ห้องไปรเวท
* มุขกระสันตะวันตก
* ออฟฟิสหลวง
* อ่างแก้ว
 
* พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ( ห้องโต๊ะ )
 
* พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ( ห้องทอง )
 
*พระที่นั่งดำรงสวัสดิอนัญวงศ์ ( ห้องผักกาด )
 
* พระที่นั่งพิพัฒน์พงศ์ถาวรวิจิตร ( ห้องพระภูษา )
 
* พระเฉลียง
 
* ห้องน้ำเงิน
 
* ห้องเหลือง
 
* ห้องเขียว
 
* พระที่นั่งอมรพิมานมณี
 
* พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์
 
* พระที่นั่งบรรณาคมสรณี
 
* พระที่นั่งราชปรีดีวโรทัย
 
* พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร
 
* สวนสวรรค์
 
== พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ==
เส้น 75 ⟶ 114:
=== พระที่นั่งเทวารัณยสถาน ===
พระที่นั่งเทวารัณยสถาน เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทมีลักษณะคล้าย[[พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท]] สร้างขึ้นบนพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ตั้งอยู่ติดต่อกับท้องพระโรงใหญ่อันเป็นที่จัดเลี้ยง นามพระที่นั่ง "เทวารัณยสถาน" หมายถึง สถานอันเป็นสวนป่าของเทวดา เป็นนามอนุสรณ์ถึง "สวนสวรรค์" ซึ่งเป็นสวนยกพื้นในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งสวนดังกล่าวทรุดโทรมและถูกรื้อลงตั้งแต่แรกรื้อพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารองค์เดิม<ref name="ชัชพล"/>
===เหตุผลที่ทำให้มีการรื้อพระที่นั่งลง===
พระที่นั่งเหล่านี้ได้ถูกรื้อลงแล้วเนื่องจากมีความชำรุดความทรุดโทรม พบว่าเสาของพระที่นั่งแตกและโป่งออกทางด้านข้าง ปูนก่ออิฐหมดความแข็งแรงเพราะว่าน้ำหนักขององค์พระที่นั่งมีมาก เสาแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักส่วนบนได้ และพื้นชั้นบนทรุด ผนังแตกร้าว และอาจจะพังลงมาได้โดยง่าย อนึ่งเมื่อสมัยอดีตบรรดาพระที่นั่งและตำหนักต่าง ๆ ในเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นอย่างแออัดเพื่อให้เพียงพอกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และข้าบาทบริจาในองค์สมเด็จมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในสมัยก่อนซึ่งมีอยู่มาก แต่เมื่อมาถึงในปัจจุบันหมดความจำเป็นที่จะต้องมีที่ประทับสำหรับฝ่ายในมาก เช่นในสมัยก่อนแล้ว ประกอบกับทั้ง พระที่นั่งหรือตำหนัก และอาคาร ต่าง ๆ ในเขตพระราชฐานชั้นในก็ชำรุดทรุดโทรมลงมาก บางอาคารก็ใกล้จะพังลงมา ถ้าจะซ่อมให้คงดีตามสภาพเดิมก็ย่อมเป็นการสิ้นเปลืองและไม่เกิดประโยชน์อัน ใด สำนักพระราชวังจึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต รื้อ เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงดำเนินการรื้อลงในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2501
 
== อ้างอิง ==