ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
 
==ภูมิหลัง==
ในช่วงแรกของ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ได้รุกราน[[พม่าภายใต้การยึดครองปกครองของอังกฤษ|พม่าของอังกฤษ]]เพื่อยึดครองวัตถุดิบทั้งแหล่งน้ำมันและข้าว และเพื่อปิด[[ถนนพม่า]]ซึ่งเป็นแหล่งส่งความช่วยเหลือไปยังกองทัพ[[จีนคณะชาติ]]ของ[[เจียง ไคเช็ก]] ที่ต่อสู้กับญี่ปุ่นเป็นเวลานานใน[[สงครามจีน-ญี่ปุ่น]]
 
กองทัพญี่ปุ่นที่ 15 ในการบังคับบัญชาของนายพล[[โชจิโร อิดะ]] ได้บุกเข้าสู่พม่าอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม – พฤษภาคม พ.ศ. 2485 กองทัพญี่ปุ่นได้รับความร่วมมือจาก[[กองทัพพม่าอิสระ]] ซึ่งกองทัพนี้ได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในบางพื้นที่ของประเทศ ใน พ.ศ. 2485 แต่ในกลุ่มผู้นำมีความเห็นต่างไปเกี่ยวกับอนาคตของพม่า นายพลซูซูกิสนับสนุนให้กองทัพพม่าอิสระจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล ผู้นำกองทัพญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยกับแผนนี้และรัฐบาลญี่ปุ่นก็ไม่ได้ให้คำสัญญาเกี่ยวกับเอกราชของพม่าหลังสงคราม คณะผู้บริหารสูงสุดของพม่าได้จัดตั้งขึ้นที่ย่างกุ้ง เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2485 เพื่อจัดการปกครองตนเอง หัวหน้าของคณะบริหารนี้คือ ดร. [[บามอว์]] ซึ่งเคยเป็นนักโทษการเมืองสมัยอังกฤษปกครอง
== วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา ==
เมื่อสถานการณ์ในสงครามของญี่ปุ่น เริ่มเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้พม่าและ[[ฟิลิปปินส์]]เป็นเอกราชและเข้าร่วมใน[[วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา]] ต่างจากแผนเดิมที่จะให้เอกราชเมื่อสิ้นสุดสงคราม นายกรัฐมนตรี ฮิเดกิ โตโจได้ให้สัญญาว่าเอกราชของพม่าจะได้รับการรับรองภายใน 28 มกราคม พ.ศ. 2486 ในสถานะที่พม่าประกาศสงครามกับฝ่ายอังกฤษและสหรัฐอเมริกา รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดึงให้พม่าเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ก่อตั้งขบวนการต่อต้านการกลับเข้ามาจัดตั้งอาณานิคมของชาติตะวันตก และเพิ่มการสนับสนุนทางการทหารแก่ญี่ปุ่น
 
คณะกรรมการเตรียมการเพื่อเอกราชของพม่า จัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ปีเดียวกัน พม่าได้ประกาศเอกราชในนามรัฐพม่า และรัฐบาลทหารญี่ปุ่นแห่งพม่าได้สลายตัวไป รัฐที่เกิดใหม่ได้ประกาศสงครามต่ออังกฤษและสหรัฐและเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ดร. บามอว์ได้กลายเป็นประมุขรัฐในตำแหน่งอธิบดีแห่งพม่าตามรัฐธรรมนูญและมีอำนาจกว้างขวางมาก
=== รัฐบาลของรัฐพม่า ===
คณะรัฐมนตรีชุดแรกประกอบด้วย ดร.บามอว์ในฐานะประมุขรัฐ ทะขิ่นเมียะเป็นรองนายกรัฐมนตรี [[บะหวิ่น]]เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทะขิ่นนุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดร.เทียนหม่องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วยอู เส็ต เมื่อเขาถูกญี่ปุ่นจับกุม นายพล[[อองซาน]]เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เทียน หม่องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ฮลามินเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาและสาธารณสุข ทะขิ่นตันตุนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อูเมียะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลุตสาหกรรม ทะขิ่นลายหม่องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร บัณฑุละ อู เซนเป็นนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการ ตุนอ่องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความร่วมมือกับญี่ปุ่น ทะขิ่นลุนบอว์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูงานสาธารณะ
 
ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2486 ญี่ปุ่นได้มอบการปกครองรัฐฉานให้รัฐพม่ายกเว้น[[เชียงตุง]]กับเมืองพานที่ยกให้ประเทศไทย ดร.บามอว์ได้เข้าร่วมการประชุมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาที่โตเกียวเมื่อ 5-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นยังคงอยู่ในพม่าแม้ว่าญี่ปุ่นจะไม่ได้ปกครองพม่าโดยตรง
[[File:Greater East Asia Conference.JPG|left|thumb|300px|การประชุมวงไพบูลย์แห่งเอเชียบูรพาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ผู้เข้าร่วมจากซ้ายไปขวา: บามอว์, Zhang Jinghui, Wang Jingwei, [[ฮิเดกิ โตโจ]], วรรณ ไวทยากร, José P. Laurel, [[สุภาส จันทรโภส]]]]
== อ้างอิง ==
*{{cite book | last = Allen | first = Louis | coauthors = | year = 1986 | title = Burma: the Longest War 1941-45 | publisher = J.M. Dent and Sons | location = | isbn = 0-460-02474-4}}
*{{cite book | last = Lebra | first = Joyce C.| year =1975 | title = Japan's Greater East Asia Co-Prosperity Sphere in World War II: Selected Readings and Documents. | publisher = Oxford University Press, | id = }}
*{{cite book | last = Smith | first = Ralph| year =1975 | title = Changing Visions of East Asia, 1943-93: Transformations and Continuities | publisher = Routledge | isbn = 0-415-38140-1}}
*Kady, J (1958). "History of Modern Burma"<references/>
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์พม่า]]
{{โครงอาเซียน}}