ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GlamFamily13 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 82:
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชนในประเทศไทย เชื่อว่าการศึกษาประเภทนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ ถึง ๒๒๓๑) จดหมายเหตุของมองสิเออสานิเยร์ กล่าวว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ทรงสร้างโรงเรียนราษฎร์ไว้หลายโรงเรียน และจากจดหมายเหตุของบาทหลวงเดอซัวลี ซึ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ได้กล่าวถึงโรงเรียนราษฎร์ ๓ โรง คือ โรงเรียนศรีอยุธยา โรงเรียนนมัสแพรนด์ และโรงเรียนสามเณร
 
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ที่บุกเบิกการต่อตั้งโรงเรียนราษฎร์ไม่ใช่นไทยคนไทย แต่เป็นมิชชั่นนารีซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศษสนาในประเทศไทย โรงเรียนราษฎร์ซึ่งได้รับการจัดตั้งและสนับสนุนโดยมิชชั่นนารี ได้แก่ โรงเรียนของนามัททูน (Mrs. Mattoon) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน จึงเปิดสอนในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในสมัยนั้น โรงเรียนคริสเตียนไฮสกูล (The Christian High School) ปัจจุบันคือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เปิดสอนเฉพาะเด็กผู้ชาย สำหรับโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (Kunsatree Wang Lang School) ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เปิดสอนเฉพาะเด็กผู้หญิง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๗ และโรงเรียนไทย – ฝรั่ง (Thai Farang School) ปัจจุบันคือ โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption School) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๐
 
โรงเรียนราษฎร์ทั้ง ๓ แห่งดังกล่าว ในระยะเริ่มแรกดำเนินงานเป็นเอกเทศ มิได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ กระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) จึงเข้ามามีบทบาทในการดูแลโรงเรียนราษฎร์ทั้ง ๓ แห่ง และในช่วงระยะเวลานี้เองโรงเรียนราษฎร์ซึ่งมีคนไทยเป็นเจ้าของ ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นชื่อโรงเรียนบำรุงวิทยา (BamrungWittaya School) และลงทะเบียนขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกัน