ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Keeplearn/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Keeplearn (คุย | ส่วนร่วม)
Keeplearn (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 74:
:... ได้พัฒนาบางส่วนของพีชคณิตของกรัสส์มันน์ และบางส่วนของ[[ควอเทอร์เนียน]] (quaternion) ของฮามิลทัน ฮานเคิลเป็นคนแรกที่รู้ถึงความสำคัญของงานเขียนของกรัสส์มันน์ที่ถูกทอดทิ้งมายาวนาน ...<ref>Hankel entry in the ''Dictionary of Scientific Biography''. New York: 1970–1990</ref>
 
เมื่อปี ค.ศ. 1872 [[วิกตอร์ ชเลเกิล]] (Victor Schlegel) ได้ตีพิมพ์ส่วนแรกของระบบของวิทยาศาสตร์อวกาศ (''System der Raumlehre'') ของเขาซึ่งใช้วิธีของกรัสส์มันน์เพื่อที่จะหาผลลัพธ์ผลคูณโบราณและสมัยใหม่ในระนาบเรขาคณิต [[เฟลิก ไคลน์]] (Felix Klein) ได้เขียนบทวิจารณ์เชิงลบถึงตำราของชเลเกิลอ้างถึงความไม่สมบูรณ์และการขาดมุมมองของกรัสส์มันน์ ชเลเกิลได้ออกส่วนที่สองของระบบของเขาตามออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1875 ให้สอดคล้องกับมุมมองของกรัสส์มันน์ คราวนี้เขาพัฒนาเรขาคณิตที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันนั้นไคลน์ก็กำลังพัฒนา[[โครงการแอร์ลังเกิน]] (Erlangen Program) ของเขาซึ่งได้ขยายขอบเขตของเรขาคณิตเช่นเดียวกัน<ref>Rowe 2010</ref>
 
ความสามารถในการเรียนรู้ของกรัสส์มันน์ได้รอคอยกรอบความคิดของ[[ปริภูมิเวกเตอร์]] ซึ่งสามารถแสดง[[พีชคณิตเชิงหลายเส้น]] ของทฤษฎีส่วนขยายของเขา บทความของ [[เอ.เอ็น.ไวท์เฮด]] (A. N. Whitehead) ''เรื่องพีชคณิตครอบจักวาล'' (''Universal Algebra'') เมื่อปี ค.ศ. 1898 ได้รวมคำอธิบายอย่างเป็นระบบเป็นภาษาอังกฤษของทฤษฎีส่วนขยายและพีชคณิตภายนอกปริภูมิตั้งต้น (เอกซทีเรียร์ อัลจีบรา [[exterior algebra]])ไว้เป็นครั้งแรก ด้วยการเกิดขึ้นของ[[อนุพันธ์เชิงเรขาคณิต]] (differential geometry) ทำให้พีชคณิตภายนอกถูกนำมาประยุกต์ใชักับ[[รูปแบบเชิงอนุพันธ์]] (differential form)ของมัน