ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮีโมโกลบิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pakawat simatham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Earthpanot (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนไปใช้เลขอารบิก
บรรทัด 1:
'''ฮีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน''' คือส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงและช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญของเฮโมโกลบินคือ ฮีม (Heme) ซึ่งมีเหล็กเป็นส่วนประกอบ และทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน องค์ประกอบที่ 2 คือ สายโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นยาวขดพันกันอยู่ โดยแต่ละสาย มีฮีมติดอยู่ 1 อณู เฮโมโกลบิน 1 โมเลกุล จึงประกอบด้วยฮีม 4 อณู และสายโกลบิน 4 สาย
 
==สายโกลบิน==
สายโกลบินมีอย่างน้อย 4 ชนิด มีชื่อเรียกว่า
#แอลฟา (alpha : a)
#บีตา (beta : b)
บรรทัด 8:
#และเดลตา (delta : d)
 
ผู้ใหญ่ปกติมีเฮโมโกลบิน 3 ชนิด โดยมีส่วนประกอบและปริมาณดังนี้
 
เฮโมโกลบิน เอ (Hb A) ประกอบด้วย สายแอลฟา 2 สาย กับ สายบีตา 2 สาย(a2b2) พบประมาณร้อยละ ๙๖96
เฮโมโกลบิน เอฟ (Hb F) ประกอบด้วย สายแอลฟา 2 สาย กับ สายแกมมา 2 สาย (a2g2) พบประมาณร้อยละ 1
เฮโมโกลบิน เอ 2 (Hb A2) ประกอบด้วย สายแอลฟา 2 สาย กับ สายเดลตา 2 สาย (a2d2) พบประมาณร้อยละ 3
 
==เฮโมโกลบิน เอ==
'''เฮโมโกลบิน เอ''' ซึ่งประกอบด้วยสายโกลบินแอลฟา และสายโกลบินบีตา เป็นเฮโมโกลบินที่พบเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความสำคัญและมีผลตามมามาก เมื่อมีการสร้างสายแอลฟาหรือสายบีตาผิดปกติไป สำหรับยีนที่ควบคุมการสร้างสายแอลฟา เรียกว่า ยีนแอลฟาโกลบิน (a-globin gene) ยีนนี้อยู่บนแขนข้างสั้น ของออโตโซมัลโครโมโซม คู่ที่ ๑๖16 ส่วนยีนบีตาโกลบิน (b-globin gene) ซึ่งควบคุมการสร้างสายบีตา อยู่บนแขนข้างสั้นของออโตโซมัลโครโมโซมคู่ที่ ๑๑11 ซึ่งยีนทั้งสองนี้ถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยไม่ขึ้นต่อกัน และไม่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมเพศลูกสาว หรือลูกชาย จึงมีโอกาสรับยีนที่ควบคุม การสร้างสายโกลบินจากพ่อแม่เท่าเทียมกัน
 
'''การกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างสายโกลบินส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติ ได้ 3 ลักษณะ คือ'''
 
# '''ความผิดปกติในเชิงปริมาณ'''
มีการสร้างสายโกลบินได้ลดน้อยลง หรือสร้างไม่ได้เลย เรียกว่า เป็นธาลัสซีเมีย ถ้าสร้างสายแอลฟาลดลงหรือสร้างไม่ได้ เรียกว่า แอลฟา-ธาลัสซีเมีย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก การขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินบางส่วน หรือทั้งหมด ถ้าสร้างสายบีตาได้ลดลงหรือสร้างไม่ได้ เรียกว่า บีตา-ธาลัสซีเมีย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของเบสจำนวนน้อยๆ ในยีนบีตาโกลบิน ในประเทศไทย พบการกลายพันธุ์ของยีนบีตา-โกลบิน ที่เป็นสาเหตุของธาลัสซีเมียมากกว่า ๒๕25 ชนิด แต่ที่พบบ่อยมีอยู่ 4 ชนิดทั่วโลก พบว่า บีตา-ธาลัสซีเมีย เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบีตาโกลบินมากกว่า ๒๐๐200 ชนิด
 
# '''ความผิดปกติในเชิงคุณภาพ (abnormal hemoglobin : hemoglobinopathies)'''
สายโกลบินประกอบด้วยกรดอะมิโน เรียงตัวกันตามชนิดและลำดับ เป็นแบบจำเพาะ สายแอลฟามีกรดอะมิโน ๑๔๑141 ตัว สายบีตามีกรดอะมิโน ๑๔๖146 ตัว การเปลี่ยนชนิดของกรดอะมิโนเพียง 1 ตัว จะทำให้สายโกลบินทั้งสาย มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากปกติ เช่น เคลื่อนที่ช้าลง หรือเร็วขึ้น เมื่อนำมาไว้ในตัวกลาง ที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่าน เฮโมโกลบินบางชนิดจับออกซิเจนแน่นกว่าปกติและไม่ปล่อย ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เฮโมโกลบินบางชนิดไม่เสถียร ตกตะกอนง่าย ทำให้เม็ดเลือดแดงขาดความยืดหยุ่น และแตกสลายง่าย ผู้ที่มีเฮโมโกลบินผิดปกติเหล่านี้ ส่วนน้อยก่อให้เกิดอาการซีด แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ มักตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจเลือด เฮโมโกลบินผิดปกติที่พบแล้วในประเทศไทย มี ๓๐30 ชนิด เรียกชื่อตามสถาบัน หรือชื่อเมืองที่พบเฮโมโกลบินเหล่านั้น เช่น เฮโมโกลบินศิริราช เฮโมโกลบินธนบุรี เฮโมโกลบินปากน้ำโพ ทั่วโลกมีเฮโมโกลบินผิดปกติรวมมากกว่า ๗๕๐750 ชนิด
 
# '''ความผิดปกติทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ (thalassemia hemoglobinopathies)'''
ในภาวะนี้นอกจากมีเฮโมโกลบินผิดปกติแล้ว สายโกลบินดังกล่าวนี้ยังมีปริมาณลดลงด้วย ตัวอย่างที่สำคัญ คือ
เฮโมโกลบินอี (Hemoglobin E) เป็นชื่อของเฮโมโกลบิน ที่ลักษณะของสายบีตาโกลบินผิดปกติ โดยกรดอะมิโนลำดับที่ ๒๖26 เปลี่ยนจากปกติ คือ กลูตามีน (Glutamine) เป็นไลซีน (Lysine) เพราะเบสที่เป็นรหัสของกลูตามีน เปลี่ยนไป 1 ตัว ขณะเดียวกันปริมาณของสายโกลบินนี้ก็ลดลงด้วย ทำให้เกิดภาวะบีตา - ธาลัสซีเมียไปด้วย
เฮโมโกลบินคอนสแตนต์สปริง (Hemoglobin Constant Spring) เป็นชื่อของเฮโมโกลบินผิดปกติที่สายแอลฟา โดยสายแอลฟามีกรดอะมิโนเพิ่มจำนวนขึ้น จากปกติอีก ๓๑31 ตัว ทำให้สายแอลฟาโกลบิน ยาวขึ้น และยังสร้างสายแอลฟานี้ได้ลดลง จึงเป็นแอลฟา-ธาลัสซีเมียด้วย ยีนของเฮโมโกลบินผิดปกติที่เป็นธาลัสซีเมียด้วยนี้ เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับยีนของธาลัสซีเมีย จะทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียได้
 
ยีนที่ควบคุมการสร้างสายโกลบินเป็นยีนด้อย ในผู้ที่มียีนที่คู่กัน เมื่อหนึ่งยีนกลายพันธุ์ คือ ผิดปกติไป แต่อีกหนึ่งยีนปกติ ยังสร้างสายโกลบินได้ จะมีอาการปกติไม่เป็นโรค หรือมีพันธุกรรมธาลัสซีเมียแฝงอยู่ เรียกว่า เป็นพาหะ (trait, heterozygote) ซึ่งมีความหมายว่า เป็นผู้ที่อาจถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ให้ลูกได้ ส่วนผู้ที่มียีนที่คู่กันผิดปกติทั้งสองยีน ยีนทั้งคู่ทำงานไม่ได้ปกติ ผู้นั้นจึงเป็นโรค