ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งิ้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Operahouse666666 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Operahouse666666 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเว่ย เหลียงฝู่ 魏良辅 /魏良輔 (1522-1573) นำนิยายพื้นบ้านดังๆเรียกว่า "คุนฉวี่" 昆曲 มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องที่อ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือ[[กลอง]]และขลุ่ยไม้
 
ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุง[[ปักกิ่ง]] ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของ[[เฉียนหลง|เฉียนหลงฮ่องเต้]] (1736-1796) ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้งแบบใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลาย[[ราชวงศ์ชิง]] งิ้วจึงมีลักษณะต่างๆกันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉาก เพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉูนฉวี่ หรือนิยายที่เป็นที่นิยมนั่นเอง
 
สมัยของ[[ซูสีไทเฮา|พระนางซูสีไทเฮา]] การแสดงงิ้วในเมืองจีนถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด จนกระทั่งสิ้นสมัยของพระนาง คณะงิ้วที่เคยได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากราชสำนักและขุนนางต่างๆ ก็ต้องหันมาพึ่งตัวเองและแพร่ขยายออกไปสู่ผู้คนทั่วไปมากขึ้น
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/งิ้ว"