ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งิ้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Operahouse666666 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Operahouse666666 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''งิ้ว''' หรือ '''อุปรากรจีน''' ({{Zh-all|c=戏曲/戲曲|t=|s=|p=xìqǔ|w=|j=}} ; {{lang-en|Chinese opera}}) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
 
ในบรรดางิ้วจีนกว่าหลายร้อยชนิด300ประเภท "งิ้วคุนฉวี่" "งิ้วกวางตุ้ง"และ"งื้วปักกิ่ง"ได้รับการยอมรับจาก[[องค์การยูเนสโก]] และได้ขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ ตามลำดับ
 
== ประวัติ ==
เริ่มต้นสมัย[[ราชวงศ์ซ้องซ่ง]] (ค.ศ. 1179-1276) ทางภาคใต้ของจีนมีคณะงิ้วที่มีชื่อได้เปิดการแสดงที่มีบทพูดเป็นโคลงกลอนสลับการร้อง ใช้วงเครื่องดีดสีตีเป่าประกอบการแสดง
 
ทางภาคเหนือนั้น ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 13 พวกชนเผ่ามองโกลสร้างรูปแบบของงิ้วขึ้นมาเรียกว่า "ซาจู" โดยมักแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องค์ โดยตัวละครเอกเท่านั้น ที่จะมีบทร้องเป็นทำนองเดียวตลอดเรื่อง
ส่วนตัวประกอบอื่นอาศัยการพูดประกอบขณะที่อุปรากรฝ่ายเหนือเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางชั้นสูง ทางใต้นั้นผู้คนนิยมดูงิ้วที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน
 
ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเหว่ย เหลียงฟุ (1522-1573) นำนิยายพื้นบ้านดังๆเรียกว่า "คุนฉูนฉวี่" มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องที่อ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือ[[กลอง]]และขลุ่ยไม้
 
ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุง[[ปักกิ่ง]] ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของ[[เฉียนหลง|เฉียนหลงฮ่องเต้]] (1736-1796) ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้งแบบใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลาย[[ราชวงศ์ชิง]] งิ้วจึงมีลักษณะต่างๆกันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉากเพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉู หรือนิยายที่เป็นที่นิยมนั่นเอง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/งิ้ว"