ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมดงเซิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 20:
การค้นพบกลองขนาดใหญ่ที่แกะสลักอย่างประณีตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อช่วงปลาย[[ศตวรรษที่ 17]] นั้น ได้กระตุ้นความสนใจของนักวิชาการชาวตะวันตกเกี่ยวกับพื้นที่นี้ในฐานะที่มีวัฒนธรรมแรก ๆ ทำรู้จักการใช้สำริด กลองมโหระทึกที่พบนั้นมีขนาดหลากหลายแตกต่างกันไป ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่นิ้วจนไปถึงหกฟุต โดยที่กลองดังกล่าวนั้นเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมดงเซินที่พบได้ทั่ว ๆ ไป ทั้งในเวียดนามเอง และทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนคาบสมุทร รวมทั้งใน[[เกาะสุมาตรา|สุมาตรา]] [[เกาะชวา|ชวา]] [[เกาะบาหลี|บาหลี]] และ[[นิวกินีตะวันตก|อีเรียน จายา]]
{{โครงประวัติศาสตร์}}
คนในอุษาคเนย์ราว 3,000 ปีมาแล้ว นับถือนกชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ดังมีหลักฐานสำคัญเป็นลายเส้นอยู่บนวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) พบในวัฒนธรรมดงเซิน ที่เวียดนาม
นักมานุษยวิทยาโบราณคดีมักอธิบายว่าลายเส้นรูปนกศักดิ์สิทธิ์ คล้ายนกกระเรียน ลำตัวใหญ่ ปากยาว คอยาว ขายาว หากินตามหนองบึงโดยใช้ปากยาวจิกจับสัตว์ในน้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ
แต่เป็นรูปนกกระเรียนจริงหรือเปล่า? ยังถือเป็นยุติไม่ได้
ที่เห็นพ้องต้องกันได้เพราะมีลายเส้นรูปนกเป็นพยานเห็นแก่ตา คือ คนดึกดำบรรพ์ยกย่องนกเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมสำคัญ เช่น ขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์, ฯลฯ แล้วใช้ในพิธีศพด้วย แต่ใช้เพื่ออะไร? อย่างไร? ยังไม่มีใครศึกษาวิจัยจริงจัง
ผู้ดีไทยสมัยก่อนเมื่อมีงานศพต้องให้มีปี่พาทย์นางหงส์ประโคม
ปี่พาทย์นางหงส์ เป็นชื่อสมมติเพื่อเรียกวงประโคมงานศพ ตามประเพณีให้หงส์ส่งวิญญาณขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เพราะหงส์เป็นสัตว์มีปีก บินสู่สวรรค์ได้ แล้วเรียกเป็นนางตามประเพณียกย่องเพศหญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรม
นางหงส์ เป็นชื่อเรียกจังหวะหน้าทับกลองที่ตีกำกับทำนองเพลงประโคมตอนเผาศพ ต่อมาเลยเรียกปี่พาทย์ที่ใช้ประโคมงานศพว่า ปี่พาทย์นางหงส์
คำว่า "นางหงส์" หมายถึง (นาง)นก(ตัวเมีย) เช่น (อี)แร้ง, (อี)กา, ฯลฯ ตามประเพณีดึกดำบรรพ์ว่า "ปลงด้วยนก" หมายถึงให้แร้งกากินศพแล้วขึ้นฟ้า(สวรรค์) ดังหลักฐานลายเส้นรูปนกบนหน้ากลองทอง(มโหระทึก) ราว 3,000 ปีมาแล้ว
แต่เมื่อเปลี่ยนคติทำพิธีเผาศพตามอินเดียก็ยังรักษาร่องรอยดั้งเดิม คือให้นางนกแร้ง-กา พาขวัญและวิญญาณสู่ฟ้า กลายเป็น"ผีฟ้า" จึงเรียกนางนกแร้ง-กาอย่างยกย่องว่า "นางหงส์"
หงส์ตัวเมียให้หงส์ตัวผู้เกาะหลังเมื่อยืนบนพื้นที่จำกัด เป็นสัญลักษณ์ของเมือง หงสาวดีในพม่า จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับชื่อปี่พาทย์นางหงส์ ยังไม่พบร่องรอยเชื่อมโยง จึงยังหาข้อยุติไม่ได้
 
 
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เวียดนาม]]