ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไตรจีวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงทอดพระเนตร'→'ทอดพระเนตร'
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
 
บางแห่งระบุว่า สีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด และสีชมพู<ref name = "pyo"/>
 
 
== กาษายะของพุทธศาสนายุคแรก ==
 
การครองจีวร หรือ กาษายะในช่วงพุทธศาสนายุคแรก หรือในยุคที่พุทธศาสนายังรุ่งเรืองในอินเดีย (Indian Buddhism) มีความแตกต่างหลากหลายไปตามคณะนิกายต่างๆ ความแตกต่างนี้ไม่เพียงสื่อถึงสำนักนิกายในสังกัดเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงความแตกต่างในพระวินัยอีกด้วย ระหว่างปี ค.ศ. 148 - 170 อันซื่อเกา (安世高) พระภิกษุชาวปาร์เตีย (Parthia) จาริกมาถึงแผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่าน ได้แปลปกรณ์วิเศษเกี่ยวกับการครองผ้า และสีสันจีวรของ 5 นิกายหลักของพุทธศาสนาในอินเดีย ปกรณ์วิเศษที่ว่านี้มีชื่อว่า "มหาภิกษุเสขิยะวัตร 3,000 ประการ" (大比丘三千威儀) อีกปกรณ์ที่พรรณนาถึงการครองผ้าและสีจีวรในลักษณะเดียวกันคือคัมภีร์ศาริปุตรปริจจฉา ข้อแตกต่างบระวห่าง 2 คัมภีร์ก็คือ สีจีวรของนิกายสรวาสติวาทกับนิกายธรรมคุปตกะสลับกัน
 
 
{| class="wikitable"
|-
! นิกาย !! มหาภิกษุเสขิยะวัตร !! ศาริปุตรปริจจฉา
|-
| สรวาสติวาท || แดงเข้ม || ดำ
|-
| ธรรมคุปตกะ || ดำ || แดงเข้ม
|-
| มหาสังฆิกะ || เหลือง || เหลือง
|-
| มะหีศาสกะ || น้ำเงิน || น้ำเงิน
|-
| กาศยะปียะ || สีจำปา || สีจำปา
|}
 
== กาษายะของพุทธศาสนามหายาน ==
 
 
'''กาษายะในจีน'''
พุทธจักรในจีน เรียกจีวร หรือผ้ากาษายะว่า "เจียซา" (袈裟) ในสำเนียงมาตรฐานปัจจุบัน แต่ในสำเนียงจีนโบราณออกเสียงว่า "เกียซา" หรือ "กาซา" ในช่วงแรกที่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินจีนนั้น พระภิกษุครองจีวรสีแดงเป็นหลัก แต่ต่อมาคณะนิกายมีความแตกต่างหลากหมายมากขึ้นสีสันจึงมีความแตกต่างมากขึ้นดังเช่นคณะนิกายในอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของจีนนั้น สีของกาษายะมักแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ต่างๆ เป็นสำคัญ มากกว่าที่จะใช้แยกแยะความแตกต่างระหว่างคณะนิกาย โดยในแถบเจียงหนาน ทางภาคใต้ มักครองสีดำเข้ม ขณะที่แถบไคเฟิง ทางภาคกลางมักครองสีกรัก เป็นต้น
 
ในเวลาต่อมาสายการอุปสมบทในจีนเหลือเพียงสายที่อิงกับพระวินัยของนิกายธรรมคุปตกะเท่านั้น ดังนั้นความแตกต่างระหว่างสีกาษายะกับคณะนิกายจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป โดยเหตุนี้ในสมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา พระภิกษุในจีนมักครองกาษายะสีเทาเหลือบดำ ผู้คนจึงเรียกพระภิกษุว่า "จืออี" (緇衣) หรือผู้ห่มผ้าดำ ซึ่งเป็นสีกาษายะของนิกายธรรมคุปตกะนั่นเอง
 
นอกจากสีดำแล้ว ในสมัยราชวงศ์ถังยังมีธรรมเนียมการถวายจีวรสีม่วงให้กับพระภิกษุสงฆ์ผู้ประกอบด้วยคุณงามความดีอันยอดยิ่ง โดยธรรมเนียมนี้มีที่มาจากตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพระศาณะวาสิน ศิษย์ของพระอานนท์ ที่ถือกำเนิดมาพร้อมกับจีวร ต่อมาในแผ่นดินจีนมีเรื่องราวคล้ายคลึงกัน โดยพระภิกษุรุปหนึ่ง นามว่า ฮุ่ยเหลิง (慧稜) ถือกำเนิดมาพร้อมกับจีวรเช่นกัน แต่เป็นจีวรสีม่วง ประจวบเหมาะกับสีม่วงเป็นสีเครื่องแบบของขุนนางชั้นสูง ด้วยเหตุนี้ ตามธรรมเนียมจีนกาษายะม่วงจึงไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดมาเพื่อดดำรงสมณะเพศแต่กำเนิดเท่านั้น ยังหมายถึงสมณะผู้มีคุณงามความดีความอันโดดเด่นด้วย ซึ่งการถวายจีวรสีม่วงแก่พระเถระ เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระนางเจ้าอู๋เจ๋อเทียน หรือพระนางบูเช็กเทียน ในสมัยราชวงศ์ถัง
 
อย่างไรก็ตาม พระภิกษุที่เคร่งครัดในสมัยราชวงศ์ถังไม่ยินดีนักกับการครองกาษายะม่วง อันเป็นสัญลักษณ์ที่ยังข้องอยู่กับทางโลก กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ทางการขาดแคลนรายได้อย่างหนัก ถึงกับประกาศขายกาษายะสีม่วง (หรือนัยหนึ่งคือสมณะศักดิ์) แก่พระภิกษุ หรือผู้ที่ปรารถนาจะซื้อแล้วถวายแก่พระภิกษุ ตราบนั้นเป็นต้นมา กาษายะสีม่วงจึงกลายเป็นสัญญลักษณ์ของความเสื่อมโทรมของพุทธจักร
 
'''กาษายะในเกาหลี'''
พุทธจักรในเกาหลีเรียกจีวรว่า กาซา หรือ คาซา (อักษรฮันจา 袈裟 อักษรฮันกึล 가사) นับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่คาบสมุทรเกาหลี การครองจีวรส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากจีน ซึ่งแตกต่างไปตามนานานิกาย อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ราชวงศ์โชซอน (1392–1910) เป็นต้นมา ภิกษุส่วนใหญ่ครองกาษายะสีเทาครองสังฆาติสีแดง ต่อมาหลังการปฏิรูปพุทธศาสนาครั้งใหญ่ระหว่างปี 1947 - 1962 พุทธจักรในเกาหลีแยกเป็น 2 นิกาย คือนิกายแทโก (อักษรฮันจา 太古宗 อักษรฮันกึล 태고종) ซึ่งครองอุตราสงค์สีเทา หรือสีน้ำเงิน สังฆาติสีแดง ขณะที่นิกายโชเก (อักษรฮันจา 曹溪宗 อักษรฮันกึล 조계종) ครองอุตราสงค์สีเทา หรือสีน้ำเงิน สังฆาติสีกรัก
 
'''กาษายะในญี่ปุ่น'''
พุทธจักรในญี่ปุ่นเรียกกาษายะว่า เกสะ (袈裟) นับแต่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนนี้ ลักษณะการครองและสีสันของผ้าแตกต่างกันไปตามนิกายที่มีอยู่หลากหลาย อีกทั้งยังมีการจำแนกแยกย่อยกาษายะตามคุณลักษณะการใช้งาน เช่นการครองผ้าตามวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และการครองผ้าสำหรับงานพิธีกรรม อย่างน้อยมีการแบ่งกาษายะตามลักษณะต่างๆ ดังที่ว่านี้ ด้วยชื่อเรียกถึง 20 ชื่อ นอกจากนี้ ยังมี "วะเกสะ" หรือกาษายะครึ่งแบบ และ "ฮังเกสะ" หรือกาษายะเล็ก สำหรับอุบาสกผู้รับศีล
 
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักครองผ้าสีดำหรือสีเทาในยามปกติ นอจกากนี้ ยังรับธรรมเนียมการถวายกาษายะสีม่วงจากสมัยราชวงศ์ถังด้วย แต่ธรรมเนียมนี้ถูกยกเลิกในศตวรรษที่ 17 ในยุคของโชกุนตระกูลตระกูลโทะกุงะวะ ยังผลให้พระจักพรรดิทรงคัดเคืองพระทัยอย่างหนัก ถึงกับทรงสละราชสมบัติ ขณะที่พระราชาคณะชั้นสูงที่ประท้วงคำสั่งยกเลิกถูกทางการโชกุนเนรเทศ
 
'''กาษายะในเวียดนาม'''
พุทธจักรในเวียดนามครองกาษายะ หรือ กาสะ (cà-sa) ใกล้เคียงกับในจีน มีสีเหลือง สีส้ม สีกรัก สีแดง
 
'''กาษายะในทิเบต'''
พุทธจักรในทิเบตถือตามพระวินัยของนิกายมูลสรวาสติวาท กาษายะส่วนใหญ่ของคณะนิกายต่างๆ ในทิเบตจึงมีสีแดงตามนิกายนิกายมูลสรวาสติวาท แต่ส่วนประกอบอื่นๆ มีรายละเอียดปลักย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละนิกายในดินแดนนี้
 
 
== ตัวอย่างการห่มจีวร ==