ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชมพูทวีป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ชมพูทวีป''' เป็นชื่อที่คนทั่วไปในสมัยโบราณรวมทั้งสมัยพุทธกาลเรียก [[ประเทศอินเดีย]] อันมีความหมายถึงทวีปต้นหว้า หรือทวีปที่มีสัณฐานดั่งต้น หว้า ในปัจจุบันได้แก่ประเทศทั้ง 4 คือ [[ประเทศอินเดีย]] [[ประเทศปากีสถาน|ปากีสถาน]] [[ประเทศเนปาล|เนปาล]] และ[[ประเทศบังคลาเทศ|บังคลาเทศ]] บางช่วงที่กษัตริย์[[อินเดีย]]เรืองอำนาจ [[ประเทศอัฟกานิสถาน|อัฟกานิสถาน]]ก็ถูกผนวกเข้ามาด้วย ดังเช่นสมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]]หรือพระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ เป็นต้น
 
'''ชมพูทวีป''' อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของไทย แต่คำว่าชมพูทวีป กลับไม่เป็นที่รู้จักในอินเดียมากนัก ยกเว้นนักการศึกษาเท่านั้น พวกเขาจะรู้จัก คำว่า ภารตะมากกว่าเพราะเป็นชื่อที่มาจากท้าวภารตะ ปฐมวงศ์แห่งราชวงศ์ปาณฑปจากเรื่องมหาภารตะ ความจริงคำที่เรียกชื่ออินเดีย มีหลายชื่อ เช่น [[ภารตะ]] ฮินดูสถานสินธุสถาน อินเดีย คำว่า "อินเดีย" เพี้ยนมาจากคำว่า [[สินธุ]] (Sindhu) อันเป็นชื่อแม่น้ำสำคัญทางภาคเหนือของอินเดีย ชาว[[เปอร์เซีย]]พูดเพี้ยนเป็น ''อินดู'' ชาว[[ฮอลันดา]] เรีกอินดัสเรียก ''อินดัส'' และ[[อังกฤษ]]เรียกอินเดียตามลำดับ อากาศของชมพูทวีปมีตั้งแต่หนาวที่สุดในเขตเหนือ โดยเฉพาะ[[เทือกเขาหิมาลัย]] จนถึงแห้งแล้งที่สุด ในเขตทะเลทราย [[รัฐราชสถาน]] ดังนั้นแต่ละภาคจึงมีอากาศไม่เท่ากัน ด้วยความที่ใหญ่โต จนกล่าวได้ว่าเป็นทวีปเล็ก ๆ (Subcontinent) ทวีปหนึ่ง อินเดียเป็นประเทศที่เคยเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน เทียบเคียงได้กับอีหยิปต์[[อียิปต์]]และ[[จีน]] หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบมีหลายแห่งเช่น ซากโบราณสถานเมืองโมเหนโจ ตาโร ที่[[แคว้นสินธุ]] และมหัปปะที่แคว้นปัญจาปในปัญจาปใน[[ปากีสถาน]] ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 3,500 ปีก่อน[[พุทธกาล]]
 
'''ชมพูทวีป''' ยุคก่อนและยุคพุทธกาลแบ่งแคว้นออกเป็น 16 แคว้นใหญ่ ๆ ตามที่ปรากฏในอุบาลีอุโบสถสูตร ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย คือ
{|
|--- valign=top
บรรทัด 31:
</ol>
|}
และมีแคว้นเล็กๆ อีก 5 แคว้นคือ [[สักกะ]] โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ
 
แคว้นพระบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก ๆ นี่อาณาจักรเหล่านี้ปกครองในระบบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]คือพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบบสามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป ดังนี้
 
ชนชาติที่เชื่อกันว่า เป็นชนชาติดั่งเดิมของอินเดียคือ เผ่า[[ซานโตล]] (Santole) [[มุนดา]] (Mundas) [[โกลาเรีย]] (Kolaria) [[ตูเรเนียน]] (Turanians) [[ดราวิเดียน]] (Dravidians) คนพวกนี้เป็นพวกผิวดำจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันพวกเขายังพอมีหลงเหลืออยู่ที่[[รัฐพิหาร]] และ[[เบงกอล]] ของอินเดีย
 
[[หมวดหมู่:อนุทวีปอินเดีย]]
[[หมวดหมู่:พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]