ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sazaja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Song2281 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Martin-Luther-King-1964-leaning-on-a-lectern.jpg|thumb|200px|มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์]]
 
'''มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์''' ({{lang-en|Martin Luther King, Jr.}}; [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2472]] - [[4 เมษายน]] [[พ.ศ. 2511]]) เป็นนักต่อสู้เพื่อ[[สิทธิมนุษยชน]]
'''มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์''' ({{lang-en|Martin Luther King, Jr.}}; [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2472]] - [[4 เมษายน]] [[พ.ศ. 2511]]) เป็นนักต่อสู้เพื่อ[[สิทธิมนุษยชน]]ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และหมอสอนศาสนา[[นิกายแบปติส]] เกิดที่นคร[[แอตแลนตา]] [[รัฐจอร์เจีย]] เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ [[รัฐเพนซิลเวเนีย]] และจาก[[มหาวิทยาลัยบอสตัน]] ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำ โดยใช้นโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของ[[มหาตมะ คานธี]] และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำใน[[การคว่ำบาตร]]ไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทางร่วมกับคนผิวขาว ที่เมืองมอนต์โกเมอรี [[รัฐแอละแบมา]] และจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง
 
= ประวัติ =
ในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่[[อนุสาวรีย์ลิงคอล์น]]ใน[[วอชิงตัน ดี.ซี.]] โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงคือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream) ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสีในปี พ.ศ. 2507
ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับ[[รางวัลสันติภาพเคเนดี]] (Kendy Peace Prize) [[รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ]] ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำ[[สงครามเวียดนาม]] และจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่ง
 
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เกิดในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (Atlanta, Georgia) ในพ.ศ.2472(1929) เป็นบุตรชายของพระแบปติส ศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเขาเสมอมา เนื่องจากทั้งพ่อและปู่ของเขาเป็นนักเทศน์ในนิกายแบ๊บติสต์ (Baptist) เขาเรียนผ่านชั้นมัธยมปลายได้อย่างง่ายดาย โดยเรียนจบเมื่ออายุได้ 15 ปีเท่านั้น จากนั้นจึงได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ มอร์เฮาส์ คอเลจ (Morehouse College) และใช้เวลาอีกสามปีเพื่อศึกษาด้านศาสนศาสตร์ ที่ Crozer Seminary และยังเป็น หมอสอนศาสนา[[นิกายแบปติส]]
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมือง[[เมมฟิส]] [[รัฐเทนเนสซี]] โดย[[เจมส์ เอิร์ล เรย์]] ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุง[[ลอนดอน]] [[ประเทศอังกฤษ]]และถูกศาลพิพากษาจำคุก 99 ปี
 
= ชีวิตส่วนตัว =
หลังจากที่เขาถูกลอบสังหารในปี พ.ศ. 2511 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้
 
ขณะที่เรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยบอสตันอยู่ เขาได้พบกับ คอเร็ดดา สกอตต์ ภรรยาของเขาซึ่งภายหลังทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 4 คน คิงและครอบครัวตั้งรกรากกันที่เมืองมอนต์กอเมอรี ในรัฐแอละแบมา (Montgomery, Alabama) ที่ซึ่งเขาได้เป็นนักเทศน์คนที่ 20 ของโบสถ์แบ๊บติสต์บนถนนเด็กซ์เตอร์ เอเวนิว (Dexter Avenue Baptist Church)
วันที่ 15 มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น "วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง" อันเป็นวันนักขัตฤกษ์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกา และได้รับทยอยการยอมรับจากรัฐต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา
 
== การสุนทจพจน์ว่าด้วยการเหยียดสีผิว ==
 
เหตุการณ์ในปี 1955 ที่หญิงผิวสี โรซา พาร์คส์ ถูกจับเนื่องจากปฏิเสธที่จะสละที่นั่งบนรถเมล์เมืองมอนต์กอเมอรีให้กับชายผิวขาว เป็นสิ่งที่ทำให้การเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่คุกรุ่นอยู่แล้วเกิดร้อนระอุขึ้นมา
 
“การคว่ำบาตรระบบรถขนส่งมวลชนในมอนกอเมอรี รัฐอะลาแบมา ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะเขาได้วางแผนมันอย่างดี และทำงานร่วมกับหลายคน เพื่อให้คนในเมืองมอนต์กอเมอรี อะลาแบมาเข้าใจว่าพวกเขาจะไม่ทนกับเรื่องแบบนี้อีกต่อไป”
 
ประสบการณ์ ความทุ่มเท และการเป็นที่รู้จักในชุมชนของคิง ทำให้เขามีคุณสมบัติเหมาะสมจะเป็นผู้นำในการคว่ำบาตรรถขนส่งมวลชนของเมืองซึ่งยาวนานถึง 381 วัน ในวันที่ 20 ธันวาคม 1956 ศาลฎีกาได้ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งตามสีผิวบนรถเมล์เป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวสี และเป็นเครื่องยืนยันว่าการประท้วงแบบไร้ความรุนแรงของคิงได้ผล
 
ถึงตอนนี้ คิงเป็นตัวแทนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่รู้จักไปทั้งประเทศ เขาถูกคุมขังมากกว่า 20 ครั้ง เคยถูกแทงที่หน้าอก บ้านเคยถูกวางระเบิด นอกจากนี้ ทั้งเขาและครอบครัวก็โดนทำร้ายนับครั้งไม่ถ้วน สำหรับชายที่ต้องการต่อสู้อย่างไร้ความรุนแรง ชีวิตส่วนใหญ่ของเขากลับตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างไม่ว่างเว้น แต่กระนั้น การคุกคามไม่เคยหยุดเขาได้
 
“ด๊อกเตอร์คิงเป็นแรงบันดาลใจให้คนหลายพัน ผ่านการพูดที่คมคายและความกล้าหาญของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังบ้านเขาถูกวางระเบิด ทั้งภรรยา ลูกและตัวเขายังแสดงออกว่าพวกเขาพร้อมจะเสี่ยงชีวิตในการเรียกร้องเสรีภาพนี้”
 
คิงทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อส่งเสริมในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า และตั้งแต่ 1957-1968 เขาเดินทางเป็นระยะทางกว่า 6 ล้านไมล์ กล่าวสุนทรพจน์ 250,000 ครั้ง เขียนหนังสือ 5 เล่ม และบทความอีกมากมาย การทำงานหนักและความสามารถในการสื่อสารของเขาทำให้เขาเป็นที่นับถือมาก จนประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ยังยอมให้เขาเข้าพบเป็นการส่วนตัวด้วย
 
ในจำนวนสุนทรพจน์ทั้งหมดที่ด๊อกเตอร์คิงเคยกล่าว ไม่มีอันใดเป็นอมตะไปกว่า สุนทรพจน์ “ข้าพเจ้ามีความฝัน” (I Have a Dream) ที่กล่าว ณ ขั้นบันไดของอนุสาวรีย์ลินคอล์นอันเป็นสัญลักษณ์ ในปี 1963 ต่อหน้ามวลชนกว่า 250,000 คน ทั้งผิวขาวและผิวสี
 
คิงกลายมาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดมากในสหรัฐ จนกระทั่งนิตยสาร ไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น “บุรุษแห่งปี” ในปี 1963 เป็นรางวัลที่น่าพอใจแน่นอน แต่กลับดูเป็นเรื่องเล็กไปเมื่อในปี 1964 เขาได้เป็นชายอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
 
ขณะที่อยู่ในเมื่องเมมฟิสเพื่อนำการเดินขบวนประท้วงปกป้องสิทธิของคนงานขนขยะที่สไตรค์หยุดงานเมื่อปี 1968 คิงได้กล่าวสุนทรพจน์ปลุกใจที่มีชื่อว่า “ข้าพเจ้าได้ไปถึงยอดเขา” (I’ve Been to The Mountain Top) ซึ่งจะเป็นสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา ขณะที่ยืนอยู่บนระเบียงชั้นสองหน้าห้องที่โรงแรมลอเรน ในเมืองเมมฟิส คิงถูกลอบยิงและเสียชีวิต
 
ในปี 1983 ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ได้ลงนามในประกาศทางการที่กำหนดให้ทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคมเป็นวัน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเพื่อเฉลิมฉลองให้ชายผู้นี้และทุกสิ่งที่เขายืนหยัดต่อสู้มา
 
คิงมีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ "I Have a Dream" ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี พ.ศ. 2506 ได้รับการยกย่องอย่างสูง
ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ คำสุนทรพจน์นี้ มีในเพลงของวง [[ลินคินพาร์ก]] คือเพลง Wisdom , Justice and Love
 
== อ้างอิง ==