ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมสมบูรณ์ ในรัชกาลที่ 5"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
}}
 
'''เจ้าจอมสมบูรณ์''' ท.จ.ใน[[รัชกาลที่ 5]] เกิดที่บ้านตำบลถนนสำเพ็ง ใน[[จังหวัดพระกรุงเทพมหานคร]] เมื่อ ณ วันที่ [[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2420]] บิดาของท่านคือ นายซุ้ย มันประเสริฐ (2404-2470) มารดาคือ ท่านบุญมา สกุลของท่านนั้นสืบมาแต่ ท่านหมื่นประเสริฐ หรือ เจ้าสัวมัน นายอากรใน[[รัชกาลที่ 3]] นามสกุลนี้จึงได้รับพระราชทานพระมหากรุณาพระราชทานว่า"มันประเสริฐ" ท่านเจ้าจอมมีน้องร่วมมารดา 4 คน ร่วมบิดาอีก 4 คน ถึงแก่กรรมครั้งยังเยาว์เกือบทุกคน คงมีชีวิตจนโตอยู่เพียงคนเดียว ชื่อ นายใหม่ มันประเสริฐ แต่ก็ถึงแก่กรรมไปก่อนท่านเจ้าจอมเช่นกัน
 
เมื่อท่านมีอายุพอสมควร บิดาจึงให้ส่งเข้าไปอยู่ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ในที่สุดทรงพระกรุณาฯกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าจอม รับราชการใกล้ชิดพระยุคลบาท มาตลอดทั้งในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังสวนดุสิต ท่านรับราชการมาจนสิ้นรัชกาลที่ 5 จึงกราบถวายบังคมทูลลาออกมาพักอยู่บ้านเดิมใน[[สำเพ็ง]] แต่ยังคงถวายการรับใช้ เข้าเฝ้า[[พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ|พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ]] มาที่พระราชวังสวนสุนันทาโดยตลอด จนสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2472
 
ตลอดชีวิตของท่านเจ้าจอมกอปรไปด้วยการบุญและความกตัญญู ที่สำคัญที่สุด คือ ได้ดูแลบิดาซึ่งป่วยเป็นเส้นประสาทพิการ เพราะตกภูเขาคราวตามเสด็จรัชกาลที่ 5 ประพาส[[เกาะช้าง]] เมื่ออายุ 22 จนท่านบิดาถึงแก่กรรม เมื่ออายุ 67 ปี ใน พ.ศ. 2470
 
ในด้านการบุญนั้น คือได้สร้างและบริจาคสิ่งของให้แก่สถานที่ต่างๆ อาทิ
 
* สร้างกุฎิอุทิศให้บรรพบุรุษ เมื่อ พ.ศ.2485 และสร้างศาลาอุทิศให้แก่ญาติในสกุลศรุตานนท์ (ทั้งสองแห่งสร้างไว้ที่[[วัดนรนาถสุนทริการาม]] เทเวศร์)
* รับเป็นเจ้าของวาดภาพ[[พระธาตุหริภุญไชย]] ในพระอุโบสถ[[วัดเบญจมบพิตร]]
* บริจาคเงินถึง 120,000 บาท สร้างหอพักนิสิตหญิง ให้[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] (ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว)
* บริจาคพระราชนิพนธ์[[เงาะป่า]] 100 เล่มให้ห้องสมุดเป็นวิทยาทาน เมื่อคราวที่ท่านทำบุญอายุ 6 รอบ ในปี 2492
 
ตลอดชีวิตยังได้พยายามแสวงหาความรู้ใส่ตัวเสมอ เช่น ในปี พ.ศ. 2499 อายุ 80 ปี ได้เดินทางโดยเครื่องบินไปเที่ยวยังประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง และมาเก๊า กับนายกระสินธุ์ มันประเสริฐ ผู้เป็นบุตรบุญธรรม และครั้งหลังสุดก่อนอนิจกรรม ยังได้เดินทางไปเที่ยวทัศนาจรล่องแก่งเชียงใหม่ กับคณะของคุรุสภา
 
ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด คือ ทุติยจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2500 ต่อมาถึงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2501 จึงเริ่มป่วยด้วยเบาหวานกำเริบ จนและถึงอนิจกรรมเมื่อเวลา 20.45 น. ของวันที่ [[7 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2501]] สิริอายุได้ 82 ปี
 
==อ้างอิง==