ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันโตนีโอ ซาลีเอรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 5:
ซาลิเอรีมีบทบาทในประวัติศาสตร์[[ดนตรีคลาสสิก]] แตกต่างไปจากที่เราเห็นในภาพยนตร์เรื่อง [[อะมาเดอุส]] ที่ทำให้เราเชื่อว่าเขาเป็นเช่นนั้น(ดูข้อมูลข้างล่าง)
 
== ประวัติ ==
{{โครง-ส่วน}}
<!--
Né près de Vérone, le jeune Antonio étudie dès 15 ans le chant et la théorie à [[Venise]]. Son maître, le bohémien [[Léopold Gassmann]], l'emmène à [[Vienne (Autriche)|Vienne]] dès [[1766]]. Il lui enseigne la composition et le présente à [[Metastase]] et [[Gluck]].
[[ภาพ:Salieri2.jpg|thumb|Antonio Salieri]]
Il devint compositeur de la cour et directeur de l'opéra italien à la mort de Gassmann en 1774, puis Maître de chapelle de l'empereur en 1788. Il se rendit à [[Milan]], Venise, [[Rome]] et [[Paris]] pour les représentations de ses opéras, fut l'ami de [[Christoph Willibald Gluck|Glück]] et [[Haydn]] et de nombreux autres compositeurs et musiciens importants de son temps.
 
Il aura de nombreux élèves, dont par exemple [[Ludwig van Beethoven|Beethoven]], [[Schubert]], [[Liszt]], [[Johann Nepomuk Hummel|Hummel]], [[Süßmayr]], [[Reicha]], [[Moscheles]], [[Czerny]], [[Meyerbeer]] et [[Franz Xaver Mozart]] (le second fils de [[Wolfgang Amadeus Mozart]].
อันโตนิโอ ซาลิเอรีเป็นคีตกวีที่ประสบความสำเร็จขณะยังมีชีวิตอยู่ ทว่าหลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อปี 1825 ล่วงเลยจนถึงปัจจุบัน ผลงานและชื่อเสียงกลับค่อย ๆ เลือนหาย มิหนำซ้ำผู้คนรุ่นหลัง ยังจดจำเขาได้จากด้านลบ ผ่านคำร่ำลืออันคลุมเครือ ในฐานะฆาตกรลอบวางยาพิษสังหาร-อัจฉริยะทางดนตรีของโลก-วูล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท
อันโตนิโอ ซาลิเอรี เป็นชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1750 ในครอบครัวพ่อค้าแห่งเมืองเล็ก ๆ ชื่อเลกนาโก ประวัติชีวิตวัยเด็กของเขางความรักลุ่มหลงในดนตรี, การโดนพ่อลงโทษ (ด้วยความโกรธปนห่วงใย) สั่งกักขังและอดอาหารอยู่เนือง ๆ เนื่องจากซาลิเอรีมักแอบหลบหนีไปยังหมู่บ้านละแวกข้างเคียงโดยลำพัง เพื่อชื่นชมฝีมือการบรรเลงดนตรีของพี่ชายชื่อฟรานเซสโก, รวมถึงนิสัยประหลาดที่โปรดปรานน้ำตาล-ขนมหวาน ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาสามารถต้านรับโทษทัณฑ์ต่าง ๆ จากบิดา อย่างไม่รู้สึกหวั่นวิตกสะทกสะท้าน ด้วยการซ่อนน้ำตาลไว้ในห้องเพื่อกินกับขนมปังเปล่า ๆ
หลังจากบิดาเสียชีวิตในปี 1763 ตามด้วยมารดาในปี 1765 ซาลิเอรีในช่วงย่างสู่วัยรุ่นเดินทางรอนแรมไปหลายเมือง เพื่อร่ำเรียนวิชาดนตรี
ในปี 1766 ซาลิเอรีได้พบและรู้จักกับฟลอเรียน ลีโอโปลด์ กาสมานน์ คีตกวีผู้แต่งบัลเลต์ให้แก่ราชสำนักเวียนนา ซึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นทั้งครู, ผู้ให้การอุปการะสนับสนุน จนเปรียบเสมือนพ่อคนที่สองของเด็กหนุ่ม
ปี 1774 ซาลิเอรีได้เป็นคีตกวีประจำราชสำนัก และอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวยาวนานถึง 50 ปี ก่อนจะเกษียณตนเองในปี 1824
ซาลิเอรีผลิตผลงานทางดนตรีไว้มากมาย และอีกบทบาทที่โดดเด่นก็คือ “การเป็นครู” กล่าวกันว่า ด้วยความสำนึกในบุญคุณที่กาสมานน์เคยหยิบยื่นแก่เขาในวัยหนุ่ม ครั้นเมื่อประสบความสำเร็จเพียบพร้อม ซาลิเอรีจึงเปิดสอนให้ความรู้แก่คนรุ่นหลังโดยไม่คิดเงิน คีตกวีผู้ยิ่งใหญ่หลายคนในเวลาต่อมา เช่น ลุดวิก ฟาน บีโธเฟน, ฟรานซ์ ลิสซ์ท, ฟรานซ์ ชูเบิร์ท ล้วนเคยเป็น “ลูกศิษย์” ของซาลิเอรีมาแล้วทั้งสิ้น รวมถึงฟรานซ์เซเวอร์บุตรคนสุดท้องของโมสาร์ท
ในช่วงปีสุดท้ายของชีวิต ซาลิเอรีล้มป่วยเกิดอาการทางด้านประสาท ต้องเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลโรคจิตในเวียนนา สภาพเช่นนี้ทำให้เสียงร่ำลือไปทั่วว่า ผู้เฒ่าถูกหลอกหลอนจากความรู้สึกผิดที่ตนเองเป็นคนฆ่าโมสาร์ท
ข่าวลือยิ่งแพร่กระจายกว้างขึ้น หลังจากที่ซาลิเอรีถึงแก่กรรมในปี 1825 โดยเฉพาะเมื่ออเล็กซานเดอร์ พุชกิน (1799-1837) กวี-นักเขียน-นักเขียนบทละคร ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อวางรากฐานให้แก่แวดวงวรรณกรรมรัสเซีย เขียนบทละครขนาดสั้นชื่อ Mozart and Salieri ออกมาในปี 1831 บอกเล่าถึงความสัมพันธ์ในฐานะคู่แข่งเป็นศัตรูต่อกันระหว่างคีตกวีทั้งสอง รวมทั้งบทสรุปลงเอยที่อิงอยู่กับข่าวอื้อฉาว
บทละครเรื่อง Mozart and Salieri กลายเป็นที่นิยมกว้างขวาง ต่อมาในปี 1898 ก็ได้รับการดัดแปลงเป็นโอเปราชื่อเดียวกันโดยนิโคไล ริมสกี-กอร์ซาคอฟ รวมทั้งกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ปีเตอร์ แชฟเฟอร์นำมาเขียนบทละครเรื่อง Amadeus ในปี 1979
ละครเวทีเรื่อง Amadeus ประสบความสำเร็จท่วมท้นล้นหลาม และยิ่งดังไปทั่วโลกเมื่อมิลอส ฟอร์แมนนำมาดัดแปลงเป็นหนังชื่อเดียวกัน (โดยมีปีเตอร์ แชฟเฟอร์ย้อนกลับมารับหน้าที่เขียนบทอีกครั้ง) ในปี 1984
ทั้งละครและหนังเรื่อง Amadeus เป็นผลงานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างโมสาร์ทกับซาลิเอรี ที่โด่งดังประสบความสำเร็จ ตลอดจนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งมากสุด
สาเหตุการตายของโมสาร์ทนั้น มีความเชื่อกันไปต่าง ๆ นานา แต่ในปัจจุบันสมมติฐานที่ได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการว่า มีความเป็นไปได้น่าเชื่อถือมากสุด ก็คือ เสียชีวิตเพราะโรคปวดไขข้อ เนื่องจากการตรากตรำกรำงานหนักและดื่มเหล้าจัด
ทุกวันนี้ ความเชื่อตลอดจนทฤษฎีสมคบคบที่ว่า ซาลิเอรีเป็นคนฆ่าโมสาร์ทลบเลือนลงไปมากจากหลักฐานต่าง ๆ ที่มีการหยิบยกมาหักล้าง ผลงานของเขาเริ่มได้รับการรื้อฟื้นนำมาเผยแพร่ใหม่ และเป็นที่รู้จักมากขึ้นกว่าเดิม
อาจเป็นเพราะเหตุนี้ ทั้งหนังและละครเรื่อง Amadeus จึงโดนโจมตีหนักว่า ผิดเพี้ยนและบิดเบือนจากข้อเท็จจริงอยู่เยอะพอสมควร
เริ่มตั้งแต่บุคลิกของโมสาร์ทที่แลดูคึกคะนองไม่สำรวมเหมือนเด็กไม่รู้จักโต หยาบทะลึ่ง ไม่สำรวมปราศจากความรับผิดชอบ ทำให้บรรดาผู้ชื่นชมโมสาร์ท รู้สึกว่าภาพพจน์สง่างามของเขาถูกทำลายยับเยิน
ขณะที่ซาลิเอรีในหนังและละครก็ดูเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้นขี้อิจฉา มีปมย่อหย่อนทางเพศ (ตามหลักฐาน ซาลิเอรีมีชีวิตสมรสอบอุ่นเป็นสุข และได้ชื่อว่าเป็นคนรักครอบครัว) ความสามารถทางดนตรีอยู่ในระดับพื้น ๆ สามัญ (ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง)
รวมไปถึงความคลาดเคลื่อนในหลายเหตุการณ์ เช่น การให้ซาลิเอรีช่วยโมสาร์ทแต่งบทเพลงสวดศพในตอนท้ายเรื่อง แท้ที่จริงแล้ว คนช่วยโมสาร์ทแต่งผลงาน Requiemไ ด้แก่ลูกศิษย์ของเขาชื่อฟรานซ์ เซเวอร์ ซัสมายเออร์
อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ออกมาแก้ต่างให้กับละครและหนังเรื่อง Amadeus ไม่น้อยไปกว่าฝ่ายที่โจมตี
เหตุผลแรกคือ ปีเตอร์ แชฟเฟอร์เขียนบทละครและบทหนัง โดยผ่านการค้นคว้าข้อมูลมาอย่างถี่ถ้วน ตามประวัติชีวิตของโมสาร์ทนั้น มีหลายช่วงหลายตอนที่ยังคงคลุมเครือเว้นช่องว่างเอาไว้ และไม่มีใครล่วงรู้ว่า “เรื่องจริง” เป็นอย่างไร? แชฟเฟอร์จึงแต่งเติมส่วนที่ยังคงเป็นปริศนาเหล่านี้ แทรกใส่จินตนการเฉพาะตนของเขาเองลงไป
ถัดมา ในงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม มีศัพท์เรียกขานอยู่คำหนึ่งว่า artistic license (บางทีก็เรียกเป็นอื่นได้อีก เช่น dramatic license, poetic license, narrative license หรือ licentia poettica) ความหมายกว้าง ๆ ก็คือ “สิทธิพิเศษของศิลปิน” สามารถที่จะนำเสนออย่างผิดเพี้ยนละเลยจากข้อเท็จจริง หรือกฎเกณฑ์ทางด้านไวยากรณ์ภาษา-จะด้วยเจตนาจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม-เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายผลลัพธ์ทางด้านความงามในเชิงศิลปะ เช่น การเร้าอารมณ์ หรือขับเน้นแก่นเรื่องให้เด่นชัดขึ้น ฯลฯ
ถือกันว่า ความคลาดเคลื่อนเช่นนี้ เป็นที่ยอมรับและอนุโลมมองข้ามได้ โดยไม่นับว่าบกพร่อง ตราบใดที่มันผิดเพี้ยนแล้ว ไม่กระทบลดทอนความงามในเชิงศิลปะ มิหนำซ้ำยังอาจนับเป็นด้านบวกได้ หาก “สิทธิพิเศษของศิลปิน” นั้นสามารถหนุนส่งให้เนื้องานทวีคุณค่าความโดดเด่นยิ่งขึ้น
Amadeus ผลงานร่วมของปีเตอร์ แชฟเฟอร์กับมิลอส ฟอร์แมน นับอยู่ในด้านใช้ “สิทธิพิเศษของศิลปิน” ให้กลายเป็นข้อดีจุดแข็ง นั่นคือ จงใจคลาดเคลื่อนข้อเท็จจริง เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องที่ต้องการนำเสนอเค้าเรื่องคร่าว ๆ ของ Amadeus กล่าวถึง ความสัมพันธ์รักระคนเกลียดเคียดแค้น ที่ซาลิเอรีมีต่อโมสาร์ท
ตัวบทไล่ลำดับให้เห็นว่า ซาลิเอรีมุ่งมั่นใฝ่ฝันอยากเป็นยอดคีตกวี ฝ่าเผชิญอุปสรรคสารพัด ฝึกฝนเคี่ยวกรำตนเองหนักหน่วง ด้วยวินัยอันเข้มงวด รวมทั้งสวดภาวนาวิงวอนต่อพระเจ้า แลกเปลี่ยนกับการเคารพยึดมั่นศรัทธาในศาสนาโดยเคร่งครัด กระทั่งท้ายสุดก็บรรลุความใฝ่ฝัน
ทว่าทุกอย่างก็พังทลาย เมื่อโมสาร์ทปรากฎตัว พร้อมกับเสียงดนตรีอันไพเราะที่ซาลิเอรีเปรียบเปรยว่า “คือวจนะของพระเจ้า”
เบื้องต้นซาลิเอรีรู้สึกน้อยใจ และเฝ้าตัดพ้อต่อเบื้องบน ในความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้น ผลงานของเด็กหนุ่มไม่เอาถ่านเปี่ยมพรสวรรค์นั้น เหมาะควรจะมาจากฝีมือของเขามากกว่า
เหตุการณ์บานปลาย เมื่อโมสาร์ทวางตัวข่ม หมิ่นหยาม เหยียบย่ำจิตใจของซาลิเอรีครั้งแล้วครั้งเล่า ท้ายสุดซาลิเอรีก็ตัดขาดความนับถือทั้งหมดที่เขามีต่อพระเจ้า ป่าวประกาศท้ารบด้วยอารมณ์เคืองแค้น และมุ่งมั่นที่จะทำลายโมสาร์ท (ชื่อเรื่อง Amadeus มีนัยยะสำคัญตรงนี้นี่เอง ความหมายคำแปลชื่อนี้ก็คือ “ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า”)
ประเด็นหลักใน Amadeus ที่มักจะได้รับการหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์ตีความก็คือ แง่มุมในเชิงจิตวิเคราะห์อันสลับซับซ้อนของตัวละครเอกทั้งสองคน (เช่น ปมทางใจของโมสาร์ทที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลการครอบงำของพ่อ และความริษยาอาฆาตในตัวซาลิเอรี ความสัมพันธ์ทั้งรักทั้งเกลียดระหว่างทั้งคู่ ด้านหนึ่งซาลิเอรีก็เป็นผู้เข้าถึงซาบซึ้งในผลงานของโมสาร์ทมากสุด ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ชิงชังจนต้องมุ่งทำลายล้าง ฯลฯ), แง่มุมว่าด้วยศิลปินกับการทำงานศิลปะ
เหนือสิ่งอื่นใดคือ การตีความในแง่มุมที่อิงกับศาสนา
ว่ากันว่า Amadeus เป็นการหยิบยกเอาตำนานเคนกับอเบลในคัมภีร์ไบเบิลมาบอกเล่าถ่ายทอดใหม่ตามตัวเรื่องเดิมเคนกับอเบลเป็นพี่น้องกัน วันหนึ่งทั้งคู่เสาะหาของขวัญมาถวายให้แก่พระเจ้า อเบล
ได้รับการโปรดปรานมากกว่า ส่งผลให้เคนอิจฉาจนลงมือฆ่าน้องตนเอง จึงถูกพระเจ้าลงโทษขับไล่ให้ดำรงชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในดินแดนที่เรียกว่า Wandering ทางทิศตะวันออกของสวนอีเอน
Amadeus มีรายละเอียดหลายช่วงหลายตอน คล้ายเรื่องราวระหว่างเคนกับอเบล ไม่ว่าจะเป็นมุมมองของมนุษย์ที่คิดว่าพระเจ้าลำเอียง การทำลายอีกฝ่ายในฐานะคู่แข่ง (อเบลเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า ขณะที่ชื่อกลางของโมสาร์ท คือ อมาเดอุสหมายถึง “ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า”) บทสรุปการรับผลกรรมจากบาปที่ตนเองก่อ (เคนต้องเร่ร่อนโดยเดี่ยวโดยลำพัง ส่วนซาลิเอรีถูกหลอกหลอนด้วยความผิดในอดีต ซ้ำร้ายผลงานเพลงของเขาก็ค่อย ๆ ถูกผู้คนลืมเลือน ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นความโดดเดี่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง)
ข้อแก้ต่างสำคัญอีกอย่าง ในความเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงของละครและหนังเรื่อง Amadeus ก็คือ เหตุการณ์ทั้งหมดบอกเล่าผ่านมุมมองของซาลิเอรี (เหมือนกำลังสารภาพบาป) ในช่วงที่เขากลายเป็นคนวิกลจริตไปแล้ว
 
La rumeur l'accusant d'avoir organisé la mort de [[Wolfgang Amadeus Mozart|Mozart]], qui a été reprise par [[Milos Forman]] dans son film [[Amadeus]], semble être colportée depuis la parution de la nouvelle de Pouchkine, « Mozart et Salieri ». Cette accusation n'est basée sur aucun fait réél, malgré la jalousie que pouvait légitimement ressentir Salieri vis à vis de la musique Mozart.
-->
==ซาลิเอรีในยุคปัจจุบัน==
{{โครง-ส่วน}}