ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระสมุทรเจดีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khunw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khunw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
แต่ตามหลักฐานของกรมการศาสนาพบว่า วัดพระสมุทรเจดีย์ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อปี ๒๔๔๕ ซึ่งในยุคก่อนตั้งอยู่บริเวณใกล้กับองค์พระสมุทรเจดีย์แต่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หาพระภิกษุที่จะมาอยู่ประจำได้ยาก ต่อมาได้มีคหบดีชาวปากน้ำ ชื่อนายเจียม เมืองงามขำ ได้รื้อบ้านมาปลูกเป็นกุฎีสงฆ์พร้อมกับยกที่ดินถวายให้แก่วัด มีภิกษุดูแลรักษา มีพระที่ทำหน้าที่ดูแลเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกชื่อ พระอธิการพุ่ม ซึ่งท่านได้ลงมือสร้างอุโบสถและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.๒๕๐๑ ต่อมาหลังจากที่พระอธิการพุ่มได้มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ วัดก็ขาดการพัฒนาอีกครั้ง ต่อมาในปี ๒๕๑๑ ได้นิมนต์พระครูไพศาลสมุทรคุณ เจ้าอาวาสวัดคลองพระรามในขณะนั้น มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเพื่อพัฒนาวัดพระสมุทรเจดีย์ วัดจึงได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้รับความร่วมมือจากนายเจือ อำพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการในสมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่า ที่ตั้งของวัดเดิมนั้นคับแคบและติดกับองค์พระสมุทรเจดีย์มากเกินไป ไม่สามารถขยายบริเวณวัดเพื่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญได้ จึงได้ย้ายออกมาจากที่เดิมประมาณ ๑๒๐ เมตร โดยทางจังหวัดได้จัดซื้อเปลี่ยนให้ และนำรายได้ขององค์พระสมุทรเจดีย์มาสร้างอุโบสถให้ ๑ สิ้นงบประมาณก่อสร้าง ๗๐๐,๐๐๐ บาท(เจ็ดแสนบาทถ้วน) โดยเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เมื่อแล้วเสร็จ พระครูไพศาลสมุทรคุณได้พัฒนาวัดอย่างจริงจัง โดยสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่เมื่อพ.ศ.๒๕๑๗ ย้ายกุฏิสงฆ์จากที่เดิม สร้างกุฏิเจ้าอาวาส ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน โรงครัว หอระฆัง กุฏิรับรองพระอาคันตุกะ บ่อน้ำบาดาล และเมื่อเริ่มตอกเสาเข็มเทพื้นสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ท่านก็มรณภาพอย่างกะทันหันเมื่อ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๔ พระครูสมุทรปัญญาคุณ (ปัญญา ธีรปญฺโญ ชูรัตน์ นักธรรมเอก เปรียญธรรม ๓ ประโยค)ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เข้ามาสืบสานงานต่อจากหลวงพ่อพระครูไพศาลสมุทรคุณจนสำเร็จ และมีการสร้างถาวรวัตถุมากมาย จนวัดได้รับยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในพ.ศ.๒๕๔๕
 
'''ลักษณะทางกายภาพวัดพระสมุทรเจดีย์'''
ที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๔ หมู่ ๓ บ้านเจดีย์ ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด สมุทรปราการ ๑๐๒๙๐
ชนิดวัด วัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย
อาณาเขต เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน ที่ดินวัดมีลักษณะเป็นแนวยาวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามแนวเหนือ-ใต้
ทิศเหนือ ติดกับที่ดินเอกชน
ทิศใต้ ติดกับถนนสุขสวัสดิ์
ทิศตะวันออก ติดกับโรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์
ทิศตะวันตก ติดกับหมู่บ้านนครทอง
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}