ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระสมุทรเจดีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khunw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khunw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
}}
 
'''วัดองค์พระสมุทรเจดีย์''' เลขที่ 114 ตั้งอยู่หมู่ 3 [[บ้านเจดีย์]] [[ตำบลปากคลองบางปลากด]] [[อำเภอพระสมุทรเจดีย์]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] เป็น[[วัดราษฎร์]]โบราณสถานสำคัญของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๖๙๙ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ และถูกกำหนดเขตโบราณสถานตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐ เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๘๖ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ องค์พระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ[[ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ]] มีผู้คนมาเคารพ[[สักการบูชา]] และยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ผู้คนทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า [[พระเจดีย์กลางน้ำ]] เนื่องจากเดิม บริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมา เชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ สมุทรปราการ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าอยู่แถบอำเภอพระประแดงและมีชื่อเรียกว่า “เมืองพระประแดง” เป็นสถานที่พักของเมืองสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรง ต่อมา ใน[[สมัยกรุงธนบุรี]] [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] โปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก
 
ในปี [[พ.ศ. 2362]] สมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำ โดยใช้เวลาสร้าง 3 ปี และได้จัดสร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ [[ป้อมประโคนชัย]] [[ป้อมนารายณ์ปราบศึก]] [[ป้อมปราการ]] [[ป้อมประกายสิทธิ์]] [[ป้อมนาคราช]] และ[[ป้อมผีเสื้อสมุทร]] ในขณะที่สร้างเมืองนั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งและทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ขึ้นที่เกาะกลางน้ำแล้วพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” การสร้างยังมิทันเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา ใน[[รัชกาลที่ 3]] ได้ทรงสร้างต่อจนสำเร็จและสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ [[ป้อมตรีเพชร]] [[ป้อมคงกระพัน]] และ[[ป้อมเสือซ่อนเล็บ]]