ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 182.52.37.75 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 182.52.36.96
บรรทัด 1:
{{รออ้างอิง}}
{{เก็บกวาด}}
 
เส้น 69 ⟶ 70:
=== ต้นไม้ประจำโรงเรียน ===
ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ราชพฤกษ์
 
== การประเมินคุณภาพการศึกษา==
บทสรุปของการประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากการจัดการศึกษา ถือเป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
ดังนั้นสถานศึกษาทุกแห่งจำเป็นต้องได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา ที่ถูกกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใช้บังคับและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 81กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา ในหมวด 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 49 ได้กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 99ก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2543 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2543 โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน ทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน นับตั้งแต่มีการประเมินคุณภาพการศึกษารอบแรกในปี พ.ศ.2544-2548 รอบสอง พ.ศ.2549-2553 และรอบสาม พ.ศ.2554-2558 ซึ่งทางโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัยได้รับการประเมินคุณภาพครบทั้ง 3 รอบ
 
=== การประเมินรอบที่1 พ.ศ.2544-2548 ===
ได้รับการประเมินคุณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2548 เปิดสอนในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่6 จำนวนบุคลากร 36 คน จำนวนนักเรียน 708 คน โดยได้พิจารณาตามมาตรฐาน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน มีผลการประเมินดังนี้
*1. ผลการประเมินด้านผู้บริหาร ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการบริหารโรงเรียนประจำ ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย สนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ จัดระบบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเป็นข้อมูลของสถานศึกษาช่วยในการตัดสินใจ จัดองค์กรโครงสร้างเหมาะสมกับบริบท มีการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการติดตามที่จกระตุ้น ให้มีการประเมินพัฒนาการเรียนที่หลากหลายรวมทั้งจัดให้มีการประเมินผล-ปรับปรุงหลักสูตร ให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับบริบท ยังขาดความต่อเนื่องและเป็นระบบ
สรุปตามมาตรฐาน
มาตรฐานที่13 สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่14 สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่18 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่20 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่25 สถานศึกษามีหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
 
*2.ผลการประเมินด้านครู ครูรู้เป้าหมายของการจัดการศึกษา เป้าหมายของหลักสูตร ครูมีวุฒิความรู้ได้รับการมอบหมายให้สอนตามความรู้และความถนัด อีกทั้งได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถในวิชาที่สอนครูจัดทำวิเคราะห์หลักสูตร อีกทั้งได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาการวัดประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง อิงพัฒนาการของผู้เรียนพัฒนาได้ มีการประเมินเพื่อวินิจฉัยจุดเด่น จุดด้อย และการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวมถึงการนำผลการประเมินมาพัฒนาการเรียนของผู้เรียนปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครู
สรุปตามมาตรฐาน
มาตรฐานที่22 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
มาตรฐานที่24 ครูมีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
 
*3. ผลการประเมินด้านนักเรียน ผู้เรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี ในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้ และเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล สามารถทำงานเป็นทีมได้ มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการมีความชื่นชมและชอบกิจกรรมด้านดนตรี ผู้เรียนควรได้รับการปลูกฝังเรื่องความประหยัด พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญษญ และคิดไตร่ตรอง ให้เกิดกับผู้เรียนส่วนใหญ่รวมทั้งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ให้สูงขึ้นกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รักการทำงาน รู้จักดูและสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้มีความชื่นชมและชอบกิจกรรมด้านกีฬา / นันทนาการ มากขึ้น
สรุปตามมาตรฐาน
มาตรฐานที่1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาญ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
มาตรฐานที่6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่9 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่10 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่12 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา อยู่ในระดับคุณภาพดี
 
=== การประเมินรอบที่2 พ.ศ.2549-2553 ===
ได้รับการประเมินคุณภาพเมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ.2550 มีจำนวนบุคคลากร 42 คน นักเรียน 625 คน ได้รับข้อเสนอแนะดังนี้
*1.สถานศึกษาควรพัฒนาผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ด้วยการจัดกระบวนการเรียนการสอนหลากหลายอิงพัฒนาการผู้เรียน เช่น การทำโครงงาน การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
*2. ครูควรติดตามผลพัฒนาผู้เรียนและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
*3. สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครุทำวิจัยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยการวิจัยร่วมกันทั้งระบบ เพื่อค้นหาปัจจัย ปัญหา สาเหตุและแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน
 
ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
*1.สถานศึกษาควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีวินัย มีคุณธรรม มั่นใจตนเอง มีทักษะในการดำรงชีวิตแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
*2. สถานศึกษาควรมุ่งพัฒนาครูและบุคคลากรให้มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้เป็นแบบอย่างการพัฒนา และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาครุผู้สอนให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาอยู่เสมอ
*3. สถานศึกษาควรมุ่งพัฒนาด้านบริหาร ปีแห่งการรักษาความสะอาดและการบริหารการเงินและพัสดุให้มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายของผู้บริหาร เป็นปีแห่งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและนโยบายต่างๆ
ด้านผู้เรียน
มาตรฐานที่1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่2 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่3 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะดนตรี และกีฬา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรฐานที่4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาญ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
มาตรฐานที่5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
มาตรฐานที่6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรฐานที่7 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต อยู่ในระดับคุณภาพดี
 
ด้านครู
มาตรฐานที่8 ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพีงพอ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรฐานที่9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
 
ด้านผู้บริหาร
มาตรฐานที่10 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรฐานที่11 สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรบานที่12 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรม และการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรฐานที่13 สถานศึกษามีหลัดสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
มาตรฐานที่14 สถานศึกาาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
 
=== การประเมินรอบที่3 พ.ศ.2554-2558 ===
ได้รับการประเมินคุณภาพเมื่อวันที่ 14,17-18 ธันวาคม 2555 โดยได้รับการประเมินคุณภาพแบ่งออกตามกลุ่มการประเมินดังนี้
 
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่4 ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพดี
 
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิทาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตังบ่งชี้ที่10 การพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
 
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่11 ผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่12 การส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวปฏิรูปการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
 
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป้นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภาย โดยสถานศึกษาและต้นสังกัด อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* [http://www.qc.ac.th/2013/index.php/component/k2/item/489-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A-12-%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html] จาก[[บทสรุปของการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในรอบ 12 ปี]]