ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
<blockquote>ศพนั้นก่อกุฎไว้ ณ วัดบางยี่เรือ ให้ประโคมทุกเพลาฯ ณ เดือนอ้าย มีศุภอักษรขึ้นไปถึงเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ว่าสำเร็จการศึกแล้วให้กลับลงมา บุตรนั้นเสียแล้ว ยังแต่หลานเป็นผู้ชาย</blockquote>
 
พระนามจารึกที่พระโกศว่า "เจ้าครอกฉิมใหญ่" ส่วนการศพของเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ก็ถูกจัดขึ้นอย่างเจ้าฟ้าที่วัดบางยี่เรือ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระราชวิจารณ์เพิ่มเติมไว้ว่า<ref name="มินทร์"/>
 
<blockquote>การพระศพสมเด็จพระเจ้าปฐมบรมไอยิกาเธอ ซึ่งเปนพระมารดาเจ้าฟ้าเหม็นองค์นี้ มีหมายว่า จุลศักราช ๑๑๔๓ ปีชวดโทศกมีหมายเวรควรรู้อัศว์ ว่าเจ้าพระยาจักรีรับมีรับสั่งใส่เกล้าฯ สั่งว่าจะได้พระราชทางเพลิงพระศพพระมารดาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ณ วัดบางยี่เรือนอก ให้ทำการเมรุเปนอย่างพระศพเจ้าฟ้า แลเครื่องการพระศพครั้งนี้ เจ้าพระยาจักรีให้ช่างทำสังเคตเอก ฉัตรราชวัตรหีบบุทองอังกฤษทั้งสิ้น แลโรงพิเศษ ทิมพระสงฆ์สังเคตสามสร้าง แลโรงโขนนางรำ ระทาดอกไม้เพลิงต้นกัลปพฤกษ์ การทั้งปวงเหมือนพระศพกรมขุนอินทรพิทักษ์ พระเจ้านราสุริวงษ์ จะได้พระราชทานเพลิงพระศพพระมารดาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ณะ เดือน ๗ ปีวอกโทศก หลวงศรีกาฬสมุดให้ตัวอย่าง มีรูปเมรุ ในงานเมรุคราวนี้พระราชทานเงินโรงการเล่นขึ้นทุก ๆ อย่าง</blockquote>
 
ทั้งนี้การศพดังกล่าวถือเป็นการถวายพระเกียรติตามศักดิ์ที่เป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้า ปรากฏพระนามจารึกที่พระโกศว่า "เจ้าครอกฉิมใหญ่" และหลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ได้ยกเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าย้อนหลังด้วยเช่นกัน<ref>ปรามินทร์ เครือทอง. ''กบฏเจ้าฟ้าเหม็น.'' พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 33</ref>
 
ส่วนเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 1 เป็น '''[[สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ กรมขุนกระษัตรานุชิต]]''' ครั้นใน[[รัชกาลที่ 2]] ทรงถูกฟ้องร้องว่าคิดวางแผนก่อการกบฏ จึงถูกถอดยศเป็น "หม่อมเหม็น" และถูกสำเร็จโทษด้วย[[ท่อนจันทน์]] ที่[[วัดปทุมคงคา]]