ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Quantplinus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล ขุนนาง | name = หลวงวิโรจน์รัฐกิจ<br>(เปรื่อง โรจน...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:55, 26 กรกฎาคม 2556


รองอำมาตย์เอก หลวงวิโรจน์รัฐกิจ เดิมชื่อ เปรื่อง เป็นเจ้าเมือง [1] หัวเมืองชั้นจัตวา และเป็นบุคคลที่ร่วมกับครูบาศรีวิชัย นักบุญล้านนา และพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะ อ. ปากบ่อง และคณะสงฆ์ จ. ลำพูน สร้างพระวิหารจัตุรมุข สถานที่สำคัญของวัดพระพุทธบาทตากผ้า จ. ลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2472 ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ถือศักดินา 2500 [2] [3] เทียบเท่าศักดินาบรรดาศักดิ์ชั้นพระ หัวเมืองชั้นจัตวา

หลวงวิโรจน์รัฐกิจ
(เปรื่อง โรจนกุล)
เกิดกรุงเทพมหานคร
เสียชีวิตไม่มีข้อมูล


ประวัติ

ชีวประวัติ

เดิมหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) อาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะได้ศึกษาต่อนั้นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้เข้าถวายรับราชการทหารบก กระทรวงกลาโหมตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) เป็นเสนาบดีกระทรวง จนกระทั่งได้รับพระราชทานนายทหารชั้นสัญญาบัตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นก่อนแพแตก พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2474 หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจึงได้เริ่มรับราชการด้านการปกครอง ซึ่งในขณะนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า ขุนวิโรจน์รัฐกิจ

ด้านราชการ

เมื่อ พ.ศ. 2472 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เริ่มรับราชการครั้งแรกดำรงตำแหน่งนายตำบลปากบ่อง (ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอป่าซาง) จ. ลำพูน ขณะรับราชการจึงได้ร่วมกับพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง และครูบาศรีวิชัย นักบุญจากล้านนา โดยเป็นประธานฝ่ายฆราวาสร่วมก่อสร้างพระวิหารจัตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้าจนสำเร็จ [4]

เมื่อ พ.ศ. 2473 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) รับราชการตำแหน่งนายตำบลครบวาระ 1 ปี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอสันทราย จ. เชียงใหม่ ในปีถัดมาจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองอ่างทอง หัวเมืองชั้นจัตวา พร้อมพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงวิโรจน์รัฐกิจ ถือศักดินา 1500 และโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศทหารเป็น รองอำมายต์เอก

เมื่อ พ.ศ. 2474 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เป็นเจ้าเมืองอ่างทอง จนครบวาระ 4 ปี

เมื่อ พ.ศ. 2479 ได้เป็นเจ้าเมืองแพร่ [5] วาระ 2 ปี ผลงานความดีความชอบครั้งนั้นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เมื่อ พ.ศ. 2555 [6] [7] นายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างห้องพระภายในศาลากลางจังหวัดแพร่ และยังได้สร้างทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ที่ห้องเทพวงศ์ ซึ่งหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ปรากฏลำดับที่ 13 บนทำเนียบดังกล่าว

เมื่อ พ.ศ. 2481 รับราชการเป็นเจ้าเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2481 รับราชการเป็นเจ้าเมืองนครนายก [8] จนครบวาระถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ปัจจุบันคือตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
  2. พระราชบัญญัติศักดินาทหารสัญญาบัตร เล่ม 5 แผ่นที่ 21 วันพุธเดือน 9 ขึ้นแปดค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก
  3. สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้แทนผู้บัญชาการกรมทั่วไป รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศตำแหน่งนายทหารบก
  4. การประเมินสถานการณ์พัฒนาตำบล ตำบลมะกอก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอป่าซาง
  5. ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สำนักงานจังหวัดแพร่
  6. แพร่ สร้างห้องพระ ภายในศาลากลางจังหวัด. (2555, 2 ตุลาคม), ข่าวสดรายวัน, 22(7978), 31.
  7. ชเนรินทร์ สมินทรปัญญา. (2555). ผู้ว่าแพร่ระดมพระพุทธรูปสำคัญทั้งจังหวัดเข้าประดิษฐานที่ศาลากลางเพื่อสร้างห้องพระประจำจังหวัด. สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่.
  8. ทำเนียบเจ้าเมืองนครนายก
  • สุรัติ วังใน. ประตูเวียงกำแพงเมืองแพร่. 24 เมษายน, 2555.
  • ทำเนียบนามเจ้าเมืองอ่างทองและผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง
  • ทำเนียบนามเจ้าเมืองอ่างทองและผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
  • กฤตภาส โรจนกุล. โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.], 2554.