ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิสุทธิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
#''อาชีวปาริสุทธิศีล'' หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
#''ปัจจัยสันนิสิตศีล'' หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอย[[ปัจจัย]] ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วย[[ตัณหา]] เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย
*'''จิตตวิสุทธิ''' หมายถึง ความหมดจดแห่ง[[จิต]] คือ จิตที่สมดุล เพราะวิริยะพละเสมอกับสมาธิพละ ทำให้สมาธิก็สมดุล วิริยะก็สมดุล เป็นปัจจัยให้สติกำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะได้อย่างพอดี ไม่ไปในอนาคตเพราะวิริยะมีมาก ไม่อยู่ในอดีตเพราะสมาธิมีกำลังมากไป เป็นการฝึกอบรมจิตจนบังเกิด[[อุปจาระสมาธิขณิกสมาธิ]]ที่ปราศจาก[[นิวรณ์]] เพราะสติต่อเนื่องจนนิวรณ์ไม่สามารถเข้าแทรกในจิตได้ อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญ ทำให้เจริญ[[วิปัสสนา]]ได้ง่าย
*'''ทิฏฐิวิสุทธิ''' หมายถึง ความหมดจดแห่ง[[ทิฏฐิ]] คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็น[[นามรูป]]ตามสภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
*'''กังขาวิตรณวิสุทธิ''' หมายถึง ความหมดจดแห่ง[[ญาณ]]เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท