ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือบรรทุกอากาศยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 74:
สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบคาโทบาร์นั้น จะมีเครื่องยิงพลังไอน้ำที่คอยทำหน้าที่ส่งเครื่องบินเข้าสู่ความเร็วที่ปลอดภัย หลังจากเครื่องบินลำนั้นๆ ขึ้นสู่อากาศแล้วก็จะสามารถใช้ความเร็วจากเครื่องยนต์ของตัวเองได้ สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบเอสโทฟล์และสโบตาร์จะไม่ใช้เครื่องยิงแบบดังกล่าว แต่จะมีดาดฟ้าที่มีปลายทางมีลักษณะโค้งขึ้นด้านบนเพื่อช่วยส่งเครื่องบินเมื่อทำการวิ่งสุดรันเวย์ แม้ว่าเครื่องบินแบบเอสโทฟล์นั้นจะสามารถบินขึ้นได้โดยไม่พึ่งรันเวย์แบบดังกล่าวหรือด้วยเครื่องยิงโดยการลำเชื้อเพลิงและอาวุธลง บทบาทของเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องบินบนเรือและการออกแบบเรือ
[[ไฟล์:F-18 - A 3-wire landing.ogv|thumb|เอฟ/เอ-18 ขณะทำการลงจอด]]
สำหรับเรือแบบคาโทบาร์และสโตบาร์จะใช้สายสลิงขนาดยาวที่พาดขวางลานบินสำหรับเครื่องบินใช้ขอเกี่ยวเกี่ยวสายสลิงขณะลงจอด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราชนาวีอังกฤษได้ทำการวิจัยหาวิธีลงจอดที่ปลอดภัยกว่าซึ่งทำให้้ทำให้เกิดการสร้างพื้นที่สำหรับการลงจอดที่วางแนวเฉียงออกจากแกนหลักของเรือซึ่งทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสายสลิงพลาดสามารถเร่งเครื่องเพื่อบินให้พ้นจากเรือและป้องกันบินชนตัวเรือเอง สำหรับเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานขึ้นลงในแนวดิ่งและระยะสั้นหรือวีเอสโทล (V/STOL) มักจะลงจอดเป็นแถวหน้ากระดานที่ด้านข้างของเรือและลงจอดได้โดยไม่ต้องใช้สายสลิง
เครื่องบินที่ต้องใช้ขอเกี่ยวและสายสลิงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ให้สัญญาน ซึ่งจะคอยดูเครื่องบินที่กำลังบินเข้าเพื่อทำการลงจอดโดยตรวจทั้งแนวการร่อนลง ระดับความสูง และความเร็วลม จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลไปยังนักบิน ก่อนทศวรรษที่ 2493 เจ้าหน้าที่ให้สัญญาณใช้ป้ายสีเพื่อให้สัญญาณแก่นักบิน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2493 มีการใช้เครื่องส่งสัญญาณไฟและระบบลงจอดช่วยลงจอดที่คอยให้ข้อมูลในการลงจอดให้กับนักบิน แต่กระนั้นเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณก็ยังคงมีบทบาทในการส่งข้อมูลผ่านทางวิทยุแก่นักบิน
 
[[Fileไฟล์:USS Harry S Truman (CVN-75) Flight Deck.JPG|thumb|left||[[เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท]]บนดาดฟ้าบินของเรือ[[ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน (ซีวีเอ็น-75)|ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน]] เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของสหรัฐ]]
 
สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ กะลาสีจะสวมเสื้อสีที่บอกถึงหน้าที่ของแต่ละฝ่าย มีเสื้ออย่างน้อยทั้งหมด 7 สีที่กะลาสีเรือสหรัฐใส่ ประเทศอื่นๆ ก็มีการใช้สีที่คล้ายๆ กันนี้เช่นกัน
บรรทัด 83:
เจ้าหน้าที่ที่สำคัญบนดาดฟ้าเรือประกอบด้วยชูทเตอร์ (shooters) แฮนด์เลอร์ (handler) และแอร์บอส (air boss) ชูทเตอร์เป็นเจ้าหน้าที่การบินทางเรือ (Naval Flight Officer) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการส่งเครื่องบินสู่อากาศ แฮนด์เลอร์จะคอยทำหน้าที่จัดส่งเครื่องบินให้เข้าสู่ทำแหน่งบินขึ้นและคอยนำเครื่องบินเก็บเมื่อเสร็จจากการลงจอด แอร์บอสจะทำหน้าที่อยู่บนสะพานเดินเรือและคอยควบคุมการส่งเครื่องบิน การรับเครื่องบิน และให้คำสั่งเครื่องบินที่บินอยู่ใกล้กับเรือ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องบินบนดาดฟ้า<ref>{{cite web|url= http://www.navy.mil/navydata/ships/carriers/powerhouse/powerhouse.asp |title= The US Navy Aircraft Carriers |publisher=Navy.mil |accessdate=30 January 2009| archiveurl= http://web.archive.org/web/20090221142917/http://www.navy.mil/navydata/ships/carriers/powerhouse/powerhouse.asp| archivedate= 21 February 2009 <!--DASHBot-->| deadurl= no}}</ref> กัปตันเรือใช้เวลาส่วนใหญ่ที่สะพานเดินเรือนำร่องซึ่งอยู่ใต้สะพานเดินเรือควบคุมการบิน อีกชั้นลงมาคือสะพานเดินเรือส่วนที่มีไว้สำหรับพลเรือและนายทหาร
 
ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2493 เป็นที่รู้กันดีว่าเครื่องบินจะต้องลงจอดเป็นแนวเฉียงจากแกนหลักของตัวเรือ วิธีนี้ทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสลิงพลาดสามารถบินขึ้นสู่อากาศได้อีกครั้งและหลีกเลี่ยงการชินกับเครื่องบินที่จอดอยู่ ลานบินที่ทำมุมเฉียงยังช่วยให้สามารถส่งเครื่องบินและรับเครื่องบินได้้ได้พร้อมกันถึงสองลำ
 
โครงสร้างส่วนบนของเรือ (เช่น สะพานเดินเรือและหอควบคุมการบิน) จะอยู่ติดไปทางกราบขวาของดาดฟ้าเรือเช่นเดียวกับหอบัญชาการ รูปแบบการสร้างแบบดังกล่าวถูกใช้บนเรือ[[เอชเอ็มเอส เฮอร์เมส (95)|เอชเอ็มเอส เฮอร์เมส]]เมื่อปีพ.ศ. 2466 มีเรือบรรทุกเครื่องบินไม่กี่ลำที่ออกแบบมาให้ไม่มีศูนย์บัญชาการ การที่ไม่มีส่วนบัญชาการหรือหอบัญชาการส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น การนำร่องที่ยุ่งยาก ปัญหาในการควบคุมจราจรทางอากาศ และอีกมากมาย
 
[[Fileไฟล์:FRS.1 ski-jump take-off HMS Invincible.JPEG|thumb|left|Ski-jump on Royal Navy carrier {{HMS|Invincible|R05R05}}]]
 
สำหรับรูปแบบล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดยราชนาวีอังกฤษนั้นจะมีลานบินที่ส่วนปลายเป็นทางลาดเอียงขึ้น ส่วนนี้ถูกเรียกว่าสกีจัมพ์ (Ski jump) มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เครื่องบินประเภทบินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือสโทฟล์ปปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ง่ายขึ้น เครื่องบินประเภทสโตฟล์เช่น[[บีเออี ซีแฮร์ริเออร์|ซีแฮร์ริเออร์]]สามารถบินขึ้นพร้อมน้ำหนักที่มากขึ้นได้เมื่อใช้ลานบินบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตบาร์ สกีจัมพ์ทำหน้าที่ด้วยการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวไปทางด้านหน้าของเครื่องบินให้เป็นแรงกระโดดเมื่อเครื่องบินถึงสุดปลายทางดาดฟ้า เมื่อแรงกระโดดรวมเข้ากับแรงไอพ่นที่ดันเครื่องบินขึ้นจะทำให้เครื่องบินที่บรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงในจำนวนมากสามารถสร้างความเร็วลมและยกตัวให้อยู่ในระดับการบินปกติได้ หากไม่มีสกีจัมพ์แล้วเครื่องบินแฮร์ริเออร์ที่บรรทุกอาวุธเต็มอัตราจะไม่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กได้ แม้ว่าเครื่องบินประเภทสโตฟล์จะสามารถขึ้นบินในแนวดิ่งได้ แต่การใช้สกีจัมพ์นั้นจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและให้การส่งที่ดีกว่าเมื่อต้องบรรทุกอาวุธขนาดหนัก การใช้เครื่องดีดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่มีสกีจัมพ์จึงสามารถลดน้ำหนัก ความยุ่งยาก และพื้นที่ที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ไอน้ำหรือแม่เหล็กไฟฟ้าลงไปได้ อากาศยานที่ขึ้นลงในแนวดิ่งเองไม่จำเป็นต้องใช้สายสลิงเวลาลงจอดอีกด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จีน และอินเดียจะติดตั้งสกีจัมพ์เข้าไปแต่มีสายสลิงด้วยเช่นกัน
บรรทัด 380:
 
===สหรัฐอเมริกา===
[[Fileไฟล์:CVN-78 Artist Image.jpg|thumb|left|ภาพจำลอง[[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด]]ของสหรัฐ]]
 
กอง[[เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์]]ของสหรัฐบางส่วนจะถูกแทนที่ด้วย[[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด]] คาดกันว่าเรือแบบดังกล่าวจะระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อลดงบประมาณในการซ่อมบำรุงและใช้งาน เอกลักษณ์ใหม่ของเรือคือการใช้ระบบส่งเครื่องบินด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออีมัลส์ (EMALS) ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ระบบส่งพลังไอน้ำ และรวมทั้งการใช้งาน[[อากาศยานไร้คนขับ]]บนเรืออีกด้วย<ref>http://www.navy.mil/navydata/fact_display.asp?cid=4200&tid=200&ct=4</ref>