ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือบรรทุกอากาศยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 328:
| 10 มกราคม 2009
|}
 
==เรือบรรทุกอากาศยานในอนาคต==
 
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ครอบครองเรือบรรทุกอากาศยานกำลังวางแผนสร้างเรือแบบใหม่ขึ้นมาแทนที่ลำเก่าๆ กองทัพเรือมากมายยังคงมองว่าเรือบรรทุกอากาศยานเป็นเรือหลักของกองเรือในอนาคต
 
===จีน===
เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีรายงานจำนวนมากกล่าวว่าจีนกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นใหม่อีกสองลำโดยมีน้ำหนักระวางขับน้ำ 5-6 หมื่นตัน ซึ่งอาจเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2558 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 กระทรวงการทะเลของจีนได้ออกมาแถลงว่าเรือลำดังกล่าวจะสร้างเสร็จก่อนอีกลำประมาณหนึ่งปี คือปีพ.ศ. 2557 และเรือที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์จะสร้างเสร็จประมาณปีพ.ศ. 2563<ref>{{cite web |author=Minemura, Kenji |url = http://www.asahi.com/english/TKY201012160435.html |title = Beijing admits it is building an aircraft carrier |work=Asahi Shimbun |location=Japan |date= 17 December 2010 |accessdate=17 December 2010 |archiveurl= http://www.webcitation.org/5v35O99uQ |archivedate= 17 December 2010}}</ref>
 
จากรายงานของเจมส์ นอลท์ สมาชิกสถาบันนโยบายโลกในนิวยอร์ก กล่าวว่าจีนอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว รวมทั้งการฝึกบุคคลากรเพื่อเตรียมพร้อมเพื่อสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ<ref>[http://www.globalsecurity.org/wmd/library/news/china/2010/china-100921-voa01.htm China Working to Counter US Naval Power in the Pacific]</ref>
 
ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 เว็บไซต์ของสำนักงานข่าวเอ็นบีซีได้รายงานว่ารัฐบาลจีนได้ประกาศใช้เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกคือ [[เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง]] อย่างไรก็ตามเรือลำดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยกองทัพเรือโซเวียตในปีพ.ศ. 2531 และบางส่วนถูกสร้างโดยโรงต่อเรือของยูเครน ต่อมาเรือลำดังกล่าวถูกซื้อต่อโดยจีนในปีพ.ศ. 2541 โดยอ้างว่าเพื่อสร้างเป็นคาสิโนลอยน้ำ จากนั้นก็มีการดัดแปลงและนำไปยังจีนเพื่อสร้างให้สมบูรณ์<ref>http://behindthewall.nbcnews.com/_news/2012/09/25/14092055-china-brings-its-first-aircraft-carrier-into-service-joining-9-nation-club?chromedomain=worldnews&lite</ref><ref>http://www.globalsecurity.org/military/world/china/shi-lang.htm</ref> ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 จีนประกาศว่าเรือเหลียวหนิงปฏิบัติการสำเร็จเป็นครั้งแรกและใช้เครื่องบิน[[เสินหยาง เจ-15]] ทำการลงจอดบนเรือ<ref>[http://newsinfo.inquirer.net/312811/china-lands-first-jet-on-its-aircraft-carrier ]</ref>
 
===ฝรั่งเศส===
[[กองทัพเรือฝรั่งเศส]]ได้วางแผนที่สร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองเพื่อช่วยสนับสนุนเรือ[[ชาลส์ เดอ โกล (อาร์ 91)|ชาลส์ เดอ โกล]] เรือดังกล่าวจะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยมีน้ำหนักประมาณ 65,000-75,000 ตัน<ref>[http://www.defense.gouv.fr/marine/content_english/preparing-the-future/renewing-the-assets/(language)/fre-FR#SearchText=PA2#xtcr=1 Marine Nationale - Renewing the assets]</ref>และจะใช้พลังงานแบบธรรมดา นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างเรือลำดังกล่าวให้เป็นเรือคาโทบาร์ (แบบที่สร้างโดยเธลส์และบีเออี ซิสเทมส์นั้นเป็นเรือประเภทสโตฟล์ที่สามารถแปลงเป็นเรือประเภทคาโทบาร์ได้)
 
ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ประธานาธิบดีฝรั่งเศส[[นิโคลาส์ ซาร์โคซี]]ได้ตัดสินใจที่จะพักโครงการไว้ก่อน เขากล่าวว่าการตัดสินใจท้ายสุดเรื่องเรือบรรทุกเครื่องบินในอนาคตจะเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2554 หรือ 2555 แผนของอังกฤษที่จะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินอีกสองลำยังคงดำเนินต่อไปและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส<ref>{{cite news|url= http://business.timesonline.co.uk/tol/business/industry_sectors/engineering/article4183255.ece | title = President Sarkozy ditches Franco-British carrier project |work=The Times |location=UK |date= 21 June 2008| accessdate=30 January 2009 | first=Adam | last=Sage}}</ref>
 
===อินเดีย===
ในปีพ.ศ. 2547 อินเดียตกลงที่จะซื้อ[[เรือบรรทุกอากาศยานพลเรือกอร์ชคอฟ]]ของโซเวียตจากรัสเซียด้วยเงินจำนวน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเรือ[[ไอเอ็นเอส วิกรมาทิตย์]]<ref name="rss"/>และคาดว่าจะเข้าร่วม[[กองทัพเรืออินเดีย]]ในปีพ.ศ. 2551 หลังจากซ่อมแซมแล้ว<ref>{{cite web|url=http://www2.chinadaily.com.cn/english/doc/2005-04/12/content_433517.htm |title=Article on India's indigenously built aircraft carrier |work=China Daily |date=12 April 2005 |accessdate=30 January 2009}}</ref> อย่างไรก็ตามหลังจากความล่าช้าและค่าบำรุงเกินงบ การส่งมอบเรือจึงเลื่อนไปเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ. 2556<ref>{{cite web|url=http://timesofindia.indiatimes.com/india/Russia-further-delays-delivery-of-Admiral-Gorshkov-to-India/articleshow/16752720.cms/|title=Russia further delays delivery of Admiral Gorshkov to India|publisher=timesofindia.com |date=10 October 2012 |accessdate=10 October 2012}}</ref>โดยมีราคาล่าสุดที่ 23,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref>[http://www.ptinews.com/news/558115_Gorshkov-deal-finalised-at-USD-2-3-billion]</ref>
 
อินเดียได้เริ่มสร้าง[[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นวิกรานต์]]ขนาด 4 หมื่นตัน ความยาว 260 เมตรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2548<ref name="iac">{{cite web |title=Indian Aircraft Carrier (Project-71) |work=Indian Navy [Bharatiya Nau Sena] |publisher=Bharat Rakshak |url=http://www.bharat-rakshak.com/NAVY/Ships/Future/185-Indian-Aircraft-Carrier.html |accessdate=11 September 2009}}</ref> เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่จะมีมูลค่า 762 ล้านดอลลาร์สหรัฐและจะทำงานร่วมกับเครื่องบินขับไล่[[มิโคยัน มิก-29เค]] [[ฮัล ทีจาส]] และซีแฮร์ริเออร์พร้อมกับเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างโดยอินเดีย[[ฮัล ดรูฟ]]<ref name="iac"/> เรือลำดังกล่าวจะใช้พลังงานเครื่องยนต์กังหันสี่เครื่องและมีพิสัย 14,000 กิโลเมตร ทหาร 160 นาย กะลาสี 1,400 นาย และอากาศยาน 30 ลำ อินเดียจะเป็นผู้สร้างเรือเอง<ref name="iac"/>โดยคาดว่าจะประกาศใช้ในปีพ.ศ. 2557<ref name="rss">{{cite news
| title = Russian aircraft carrier ready in 2012 if India pays $2 bln more
| url = http://en.rian.ru/russia/20081113/118299115.html
| newspaper = RIA Novosti
| date = 13 November 2008
| accessdate =9 June 2011
| archiveurl= http://web.archive.org/web/20110605150532/http://en.rian.ru/russia/20081113/118299115.html| archivedate= 5 June 2011 <!--DASHBot-->| deadurl= no}}</ref><ref name="indiatoday.intoday.in">{{cite news
| title = First indigenous aircraft carrier to be launched next year: Navy chief
| url = http://indiatoday.intoday.in/site/Story/73256/Top%20Stories/First+indigenous+aircraft+carrier+to+be+launched+next+year:+Navy+chief.html
| newspaper = India Today
| date = 2 December 2009
| accessdate =9 June 2011
}}</ref>
 
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 นายพลเรือนิรมาล เวอร์มากล่าวว่าการประชุมกองทัพเรือของเขาถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการการออกแบบเรือสำหรับการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง คือไอเอซี-2 โดยจะเป็นเรือพลังงานปกติขนาดระวางขับน้ำ 5 หมื่นตันและมีเครื่องดีดพลังไอน้ำเพื่อใช้กับเครื่องบินยุคที่สี่<ref name="indiatoday.intoday.in"/> เป้าหมายคือการครอบครองเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำ โดยสองลำจะต้องปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มประสิทธิภาพและลำที่สามกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุง สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกองทัพเรืออินเดียอย่างมาก กองทัพเรืออินเดียเปิดเผยว่ามีแผนระยะยาวและโรดแมพที่มีเป้าหมายที่จะมีเรือทั้งหมด 6 ลำในประจำการ
 
===รัสเซีย===
หัวหน้าสหบรรษัทต่อเรือของรัสเซียได้กล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ว่าบริษัทของเขาจะเริ่มออกแบบเรือลำใหม่ในปีพ.ศ. 2559 และเริ่มสร้างในปีพ.ศ. 2561 และเรือจะต้องเริ่มปฏิบัติการช่วงแรกได้ในปีพ.ศ. 2566<ref>RIA NOVOSTI, [http://en.rian.ru/mlitary_news/20110630/164924604.html "Russia to build Nuclear Aircraft Carrier by 2023"] 30 June 2011.</ref> เจ็ดเดือนต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 หนังสือพิมพ์ของรัสเซีย[[อิซเวสติวา]]รายงานว่ารัสเซียได้เพิ่มแผนการสร้างโรงต่อเรือแบบใหม่ที่จะสามารถสร้างเรือขนาดใหญ่ได่ หลังจากที่มอสโคว์ตัดสินใจจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นอีกสองลำในปีพ.ศ. 2570 โฆษกรัฐบาลกล่าวว่าหนึ่งในเรือบรรทุกเครื่องบินจะเข้าประจำในกองเรือเหนือของ[[กองทัพเรือรัสเซีย]]ใน[[เมอร์มานสค์]] และลำที่สองจะประจำการในกองเรือแปซิฟิกที่[[วลาดิวอสต็อก]]<ref>BarentsObserver.com, [http://www.barentsobserver.com/russia-to-build-two-aircraft-carriers.4980466-58932.html "Russia to Build Two Aircraft Carriers"] 3 November 2011.</ref>
 
===ตุรกี===
ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 อุตสาหกรรมการป้องกันภายใต้เลาขาธิการของตุรกีได้ยื่นข้อเรียกร้องขอซื้อท่าจอดเรือเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของกองทัพเรือตุรกี<ref>http://www.ssm.gov.tr/home/projects/Sayfalar/proje.aspx?projeID=30</ref>
 
อย่างไรก็ตามตั้งแต่นั้นโครงการมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐก็กลายมาเป็นการออกแบบ การพัฒนา และการสร้างเรือพลังงานทั่วไปขนาด 24,000-28,000 ตัน ยาว 230 เมตรที่สามารถทำงานร่วมกับ[[เอฟ-35 ไลท์นิง 2]] จำนวน 12-20 ลำ ทหาร 700 นาย รถถังประจัญบาน 60 คัน และเฮลิคอปเตอร์โจมตีและขนส่งขนาดหนัก<ref>http://en.trend.az/news/politics/2093392.html</ref><ref>http://english.sabah.com.tr/national/2012/11/29/turkey-embarks-on-aircraft-carrier-project</ref><ref>http://www.aktifhaber.com/turkiye-ucak-gemisi-yapacak-570107h.htm</ref><ref>http://www.sabah.com.tr/Gundem/2012/11/29/ilk-turk-ucak-gemisine-dogru</ref><ref>http://www.haber7.com/guncel/haber/958168-turkiyenin-ilk-ucak-gemisi-geliyor</ref>
 
นอกจากนี้แล้วทางอุตสาหกรรมด้านป้องกันของตุรกียังได้รับมอบให้ซื้อเอฟ-35 อีก 20 ลำรวมกับจำนวนเดิมที่ตุรกีจะซื้อเป็นทั้งหมด 100 ลำ<ref>http://www.menewsline.com/article-1173,27679-Turkey-Quietly-Orders-Navy-F-35.aspx</ref><ref>http://blogs.ottawacitizen.com/2012/09/04/turkey-looks-to-buy-2-more-f-35s/</ref>
 
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ตุรกีได้สั่งซื้อเครื่องบินเอฟ-35เอและซีอย่างละ 1 ลำ<ref>http://in.zinio.com/sitemap/News-magazines/Janes-Defence-Weekly/September-12-2012/cat1960024/is-416236350/pg-7 (Jane's Defence Weekly, Europe, September 12, 2012 page 7)</ref> นี่เป็นหลักฐานชัดเจนว่าตุรกีต้องการที่จะซื้อเอฟ-35ซีโทลกว่า 100 ลำและเอฟ-35 สำหรับประจำบนเรือบรรทุกเครื่องบินอีก 20 ลำเพื่อนำไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินของพวกเขา
 
===สหราชอาณาจักร===
ราชนาวีอังกฤษกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเอสโทฟล์ขนาดใหญ่สองลำ คือ [[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นควีนอลิซาเบธ]] เพื่อแทนที่[[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นอินวินซิเบิล]] เรือดังกล่าวจะมีชื่อว่า[[เอชเอ็มเอส ควีนอลิซาเบธ (ซีวีเอฟ)|เอชเอ็มเอส ควีน อลิซาเบธ]]และ[[เอชเอ็มเอส พรินซ์ออฟเวลส์ (ซีวีเอฟ)|เอชเอ็มเอส พรินซ์ออฟเวลส์]]<ref name="pike_cvf">"[http://www.globalsecurity.org/military/world/europe/cvf.htm ''Queen Elizabeth'' class Future Aircraft Carrier CVF (002)]." Pike, J. GlobalSecurity.org.</ref><ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/7486683.stm |title=UK, £3.2bn giant carrier deals signed |publisher=BBC News |date=3 July 2008 |accessdate=30 January 2009| archiveurl= http://web.archive.org/web/20090107090157/http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/7486683.stm| archivedate= 7 January 2009 <!--DASHBot-->| deadurl= no}}</ref> ทั้งสองลำจะสามารถบรรทุกอากาศยานได้ 40 ลำและมีระวางขับน้ำประมาณ 65,000 ตัน เรือทั้งสองลำจะปฏิบัติการได้ในปีพ.ศ. 2563<ref name=Hansard20120510>{{citation | url=http://www.publications.parliament.uk/pa/cm201213/cmhansrd/cm120510/debtext/120510-0001.htm#12051029000006 | title=House of Commons Hansard Debates for 10 May 2012 | publisher=UK Parliament | date=10 May 2012}}</ref> อากาศยานที่ใช้บนเรือจะประกอบด้วย[[เอฟ-35 ไลท์นิง 2|เอฟ-35บี ไลท์นิง 2]]<ref>[http://www.royalnavy.mod.uk/operations-and-support/surface-fleet/future-ships/queen-elizabeth-class/facts-and-figures/ Facts and Figures : Queen Elizabeth Class, Royal Navy]</ref> เรือทั้งสองลำจะเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดที่ราชนาวีอังกฤษเคยสร้าง
 
===สหรัฐอเมริกา===
[[File:CVN-78 Artist Image.jpg|thumb|left|ภาพจำลอง[[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด]]ของสหรัฐ]]
 
กอง[[เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์]]ของสหรัฐบางส่วนจะถูกแทนที่ด้วย[[เรือบรรทุกอากาศยานชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด]] คาดกันว่าเรือแบบดังกล่าวจะระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อลดงบประมาณในการซ่อมบำรุงและใช้งาน เอกลักษณ์ใหม่ของเรือคือการใช้ระบบส่งเครื่องบินด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออีมัลส์ (EMALS) ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ระบบส่งพลังไอน้ำ และรวมทั้งการใช้งาน[[อากาศยานไร้คนขับ]]บนเรืออีกด้วย<ref>http://www.navy.mil/navydata/fact_display.asp?cid=4200&tid=200&ct=4</ref>
 
จากการยกเลิกใช้เรือ[[ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (ซีวีเอ็น-65)|ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์]]เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 (ปลดประจำการในปีพ.ศ. 2556) ทำให้สหรัฐเหลือเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดหนักอยู่ 10 ลำ ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 คณะกรรมการอำนาจทางทะเลของสหรัฐแนะนำว่าควรสร้างเรือใหม่ขึ้นอีก 7-8 ลำ (ทุกสี่ปีจะมีหนึ่งลำ) อย่างไรก็ตามมีการถกเถียงในเรื่องงบประมาณที่สูงถึง 12,000-14,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมทั้งค่าพัฒนาและวิจัยอีก 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการสร้างเรือชั้นเจอรัลด์ขนาด 1 แสนตัน (คาดว่าจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2558) เมื่อเทียบกับเรือขนาดเล็กกว่าอย่าง[[เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกชั้นอเมริกา]]ขนาด 45,000 ตันมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่สามารถใช้งาน[[เอฟ-35บี]] ซึ่งเรือดังกล่าวอยู่ขณะก่อสร้างสองลำและอีกสิบสองลำในแผนการสร้าง<ref name="AFAmag">{{cite journal |last = Kreisher |first = Otto|title = Seven New Carriers (Maybe) |journal=Air Force Magazine |volume = 90 |issue = 10 |pages = 68–71 |month = October |year = 2007 |publisher=Air Force Association |url = http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/Pages/2007/October%202007/1007carriers.aspx |accessdate =2 October 2007 |issn = 0730-6784 }}</ref>
 
 
 
 
 
 
== ดูเพิ่ม ==