ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือบรรทุกอากาศยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 84:
 
ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2493 เป็นที่รู้กันดีว่าเครื่องบินจะต้องลงจอดเป็นแนวเฉียงจากแกนหลักของตัวเรือ วิธีนี้ทำให้เครื่องบินที่เกี่ยวสลิงพลาดสามารถบินขึ้นสู่อากาศได้อีกครั้งและหลีกเลี่ยงการชินกับเครื่องบินที่จอดอยู่ ลานบินที่ทำมุมเฉียงยังช่วยให้สามารถส่งเครื่องบินและรับเครื่องบินได้้พร้อมกันถึงสองลำ
 
โครงสร้างส่วนบนของเรือ (เช่น สะพานเดินเรือและหอควบคุมการบิน) จะอยู่ติดไปทางกราบขวาของดาดฟ้าเรือเช่นเดียวกับหอบัญชาการ รูปแบบการสร้างแบบดังกล่าวถูกใช้บนเรือ[[เอชเอ็มเอส เฮอร์เมส (95)|เอชเอ็มเอส เฮอร์เมส]]เมื่อปีพ.ศ. 2466 มีเรือบรรทุกเครื่องบินไม่กี่ลำที่ออกแบบมาให้ไม่มีศูนย์บัญชาการ การที่ไม่มีส่วนบัญชาการหรือหอบัญชาการส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น การนำร่องที่ยุ่งยาก ปัญหาในการควบคุมจราจรทางอากาศ และอีกมากมาย
 
[[File:FRS.1 ski-jump take-off HMS Invincible.JPEG|thumb|left|Ski-jump on Royal Navy carrier {{HMS|Invincible|R05}}]]
 
สำหรับรูปแบบล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดยราชนาวีอังกฤษนั้นจะมีลานบินที่ส่วนปลายเป็นทางลาดเอียงขึ้น ส่วนนี้ถูกเรียกว่าสกีจัมพ์ (Ski jump) มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เครื่องบินประเภทบินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่งหรือสโทฟล์ปปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ง่ายขึ้น เครื่องบินประเภทสโตฟล์เช่น[[บีเออี ซีแฮร์ริเออร์|ซีแฮร์ริเออร์]]สามารถบินขึ้นพร้อมน้ำหนักที่มากขึ้นได้เมื่อใช้ลานบินบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตบาร์ สกีจัมพ์ทำหน้าที่ด้วยการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวไปทางด้านหน้าของเครื่องบินให้เป็นแรงกระโดดเมื่อเครื่องบินถึงสุดปลายทางดาดฟ้า เมื่อแรงกระโดดรวมเข้ากับแรงไอพ่นที่ดันเครื่องบินขึ้นจะทำให้เครื่องบินที่บรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงในจำนวนมากสามารถสร้างความเร็วลมและยกตัวให้อยู่ในระดับการบินปกติได้ หากไม่มีสกีจัมพ์แล้วเครื่องบินแฮร์ริเออร์ที่บรรทุกอาวุธเต็มอัตราจะไม่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กได้ แม้ว่าเครื่องบินประเภทสโตฟล์จะสามารถขึ้นบินในแนวดิ่งได้ แต่การใช้สกีจัมพ์นั้นจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและให้การส่งที่ดีกว่าเมื่อต้องบรรทุกอาวุธขนาดหนัก การใช้เครื่องดีดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินที่มีสกีจัมพ์จึงสามารถลดน้ำหนัก ความยุ่งยาก และพื้นที่ที่ต้องใช้กับอุปกรณ์ไอน้ำหรือแม่เหล็กไฟฟ้าลงไปได้ อากาศยานที่ขึ้นลงในแนวดิ่งเองไม่จำเป็นต้องใช้สายสลิงเวลาลงจอดอีกด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จีน และอินเดียจะติดตั้งสกีจัมพ์เข้าไปแต่มีสายสลิงด้วยเช่นกัน
 
ข้อเสียของสกีจัมพ์คือขนาดของเครื่องบิน น้ำหนักอาวุธ และปริมาณเชื้อเพลิง เครื่องบินที่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไปจะไม่สามารถใช้สกีจัมพ์ได้เพราะมันจะต้องใช้ระยะทางที่ยาวกว่าดาดฟ้าเรือ หรือต้องใช้เครื่องดีดในการช่วยออกตัว ตัวอย่างเช่น เครื่องบินซู-33 ที่สามารถบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน"คุตเนตซอฟ"แต่ต้องบรรจุอาวุธและเชื้อเพลิงในระดับน้อย อีกข้อเสียหนึ่งคือการผสมผสานปฏิบัติการ กล่าวคือบนดาดฟ้าจะมีเฮลิคอปเตอร์อยู่ด้วยจะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่หากมีสกีจัมพ์อยู่เพราะมันกินพื้นที่มากเกินไป ดาดฟ้าเรือแบบเรียบอาจจำกัดการบรรทุกเครื่องแฮรร์เออร์แต่ก็ชดเชยได้ด้วยการมีระยะวิ่งที่ยาวกว่าเมื่อเทียบกับเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตฟล์
 
มีการคิดสร้างลานบินแบบไม่ธรรมดาคือมาเพื่อตอบรับกับเครื่องบินไอพ่น เช่น การใช้อุปกรณ์สกัดส์ (SCADS) สกายฮุค เครื่องบินทะเลขับไล่ หรือแม้กระทั่งดาดฟ้าที่ทำจากยาง ระบบป้องกันทางอากาศบนเรือหรือสกัดส์เป็นชุดอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งกับเรือบรรทุกสินค้าเพื่อให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบสโตฟล์โดยใช้เวลาเพียงสองวันในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินไอพ่นได้สามสิบวัน อาวุธ ระบบป้องกันขีปนาวุธ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำ พื้นที่สำหรับลูกเรือ เรดาร์ และสกีจัมพ์ อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถยกเลิกการติดตั้งได้ มันเป็นเหมือนเรือพาณิชย์บรรทุกเครื่องบินแบบใหม่นั่นเอง สกายฮุค (Skyhook) เป็นความคิดของบริติชแอโรสเปซที่หวังจะใช้เครนที่มีส่วนปลายเป็นตัวเติมเชื้อเพลิง ส่งและรับเครื่องบินแฮร์ริเออร์<ref>http://www.wingweb.co.uk/aircraft/Harrier_VTOL_Jump-Jet_part4.html</ref> [[คอนแวร์ เอฟ2วาย ซีดาร์ท]]เป็นเครื่องบินทะเลเครื่องยนต์ไอพ่นที่ทำความเร็วเหนือเสียงซึ่งใช้สกีแทนล้อ เพราะกองทัพเรือสหรัฐเชื่อว่าเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงไม่สามารถลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ จึงใช้วิธีให้ลงจอดในทะเลและใช้เครนยกขึ้นมาบนเรือแทน เรือ[[เอชเอ็มเอส วอร์ริเออร์ (อาร์31)|เอชเอ็มเอส วอร์ริเออร์]]เป็นเรือที่ได้ทดสอบการใช้ดาดฟ้าบินที่ทำจากยางโดยมีเครื่องบินขับไล่[[เดอร์ ฮาวิลแลนด์ แวมไพร์]]ทำการลงจอดโดยไม่ใช้ล้อหรือสายสลิง
 
==รายชื่อประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน==