ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาภารตะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MeSamong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Kurukshetra.jpg|thumb|250px|ภาพเขียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต]]
[[ไฟล์:Krishna and Arjun on the chariot, Mahabharata, 18th-19th century, India.jpg|thumb|250px|รูป[[อรชุน]]ทรงราชรถออกศึก มี[[พระกฤษณะ]]เป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19)]]
'''มหาภารตะ''' ({{lang-sa|महाभारत}}) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า '''ภารตะ''' เป็นหนึ่งในสอง ของ[[มหากาพย์]] ที่ยิ่งใหญ่ของ [[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] (มหากาพย์อีกเรื่องคือ [[รามายณะ]]) ประพันธ์เป็น[[โศลก]][[ภาษาสันสกฤต]] มหากาพย์เรื่องนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ "[[อิติหาส]]" (แปลตามศัพท์ว่า "ประวัติศาสตร์") และเป็นส่วนหนึ่งทึ่สำคัญยิ่งของ[[เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู]]
 
ตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ [[ฤๅษีวยาส|ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส]] นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น [[ภควัทคีตา]] [[ศกุนตลา]] [[สาวิตรี]] [[พระนล]] [[กฤษณาสอนน้อง]] [[อนิรุทธ์]] เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็น[[คัมภีร์]]ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของ[[ศาสนาฮินดู]]ด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย