ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคมืดของกัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'อยุยา'→'อยุธยา'
บรรทัด 15:
== ยุคมืดของกัมพูชา==
 
หลังจากนั้นมาเขมรก็กลายเป็นประเทศราชของ[[สยาม]]ประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 1936 อาณาจักรขอมแข็งเมืองจน[[สมเด็จพระราเมศวร]] [[กษัตริย์]]แห่งกรุงศรีอยุธยาต้องส่งกองทัพไปยึดเมืองพระนครหลวงของเขมรได้อีกครั้ง ประมาณว่ากองทัพไทยยกทัพไป 2 ทางมีทหารรวมกันระหว่าง 40,000 – 50,000 คน ในขณะที่กองทัพขอมมีทหารระดมมาจากทั่วแคว้นประมาณ 100,000 คนกลับต้านกลยุทธและยุทธวิธีการรบของ[[กองทัพไทย]]ไม่ได้ต้องยอมแพ้ทหารไทย ต่อมาในปีพ.ศ. 1974 อาณาจักรขอมเกิดแข็งเมืองไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาธิการมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 พระเจ้าสามพระยาโอรสของสมเด็จพระนครอินทร์หรือพระเจ้านครินทราธิราชยกทัพหลวงจากกรุงศรีอยุยาอยุธยาคาดกันว่ามีกำลังพลประมาณ 60,000 คนไปตีเมืองพระนครหลวงของขอม ยุทธวิธีรบของทหารไทยจากพระนครศรีอยุธยาจัดกำลังออกเป็น 2 กองทัพแรกคือกองทัพบกมีกำลัง 50,000 คนเข้าตีขอมตรงด้านหน้ามีทั้งทหารช้าง ทหารม้า ทหารราบหรือพลเดินเท้า เครื่องทำลายกำแพงและทหารธนู กองทัพเรือมีกำลัง 10,000 คนล่องเรือไปทางแม่น้ำโขงเป็นเรือพายขนาดใหญ่จู่โจมทางด้านหลัง ฝ่ายอาณาจักรขอมนั้นได้เกณฑ์ทหารตั้งรับจากทั่วอาณาจักรมีกำลังมากกว่าทหาร[[ไทย]]ประมาณกันว่าระหว่าง 70,000 – 75,000 คน กองทัพไทยนั้นมีทหารที่กล้าหาญกว่ากองทัพขอมพลเดินเท้าใช้[[ดาบ]]ยาว 2 มือและดาบยาวกับโล่หรือดั้งป้องกันตัว ทหารธนูมีกำลังพล 1 ใน 5 ของทหารทั้งหมด กองทหารม้ามีหอกยาว ทวนและโตมรพร้อมกับดาบยาวที่เอว แต่ที่น่าเกรงขามคือกองทัพ[[ช้าง]]ที่ดุดันแข็งแกร่งที่ทำให้ทหารขอมหวาดกลัว เมืองพระนครหลวงของเขมรถูกทำลายจนต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปตั้งที่เมืองจตุรพักตร์ที่ตั้งของกรุง[[พนมเปญ]]ปัจจุบันและต่อมาย้ายไปเมืองละแวกที่ริมทะเลสาบเขมร การที่กองทัพไทยตีเมืองพระครแตกทำให้ขอมหรือเขมรสิ้นอาณาจักร เขมรอยู่ในการปกครองของไทยเรื่อยมาตั้งแต่ อยุธยา [[กรุงธนบุรี]] และเลยมาถึง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ต่อมาเกิดสงคราม[[อานามสยามยุทธ]]ในสมัยรัชกาลที่3 ทำให้กัมพูชากลายเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามและญวณก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของ[[ฝรั่งเศส]]ในเวลาต่อมา
 
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์กัมพูชา]]